· ดัชนีหุ้นสหรัฐฯฟิวเจอร์สวันนี้ปรับตัวสูงขึ้น โดยยังได้รับอานิสงส์จากหุ้นเทคโนโลยีที่มาช่วยให้ดัชนี Nasdaq Cmposite ลดแรงสูญเสียตลอดช่วงปีนี้
โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สวันนี้ปรับขึ้นกว่า 235 จุด โดยระหว่างวันปรับขึ้นไปถึง 276 จุดในช่วงเปิดตลาดเช้านี้ และทำให้ดัชนี S&P500 และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์ต่างก็เปิดแดนบวกตาม
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นหลังจากตลาดรับข่าวที่ว่าตัวแทนสหรัฐฯและจีนมีการเจรจาการค้าผ่านทางโทรศัพท์ในวันนี้ จึงช่วยหนุนให้เกิดความหวังว่าความตึงเครียดทางการค้าจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่ตลาดยังคงเผชิญแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาตกต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ยิ่งกว่าสมัย Great Depression
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับสูงขึ้น 1.19%
ขณะที่ดัชนี S&P 500 ฟิวเจอร์ปรับสูงขึ้นได้ 1.14% จากข่าวจากการเจรจา ขึ้นมาแถวระดับ 2,912.75 จุด
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดรับข่าวที่ว่าตัวแทนสหรัฐฯและจีนมีการเจรจาการค้าผ่านทางโทรศัพท์ในวันนี้ จึงส่งผลให้เหล่าคลายความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯลงไป
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 2.6% ที่ระดับ 20,179.09 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น 2.9% เป็นสัปดาห์ที่ 2 แม้ว่าจะมีการซื้อขายเพียงแค่ 2 วันทำการ เนื่องจากตลาดปิดทำการในวันหยุด
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากการเปิดตลาดการเงินเพิ่มเติมเพื่อนักลงทุนต่างชาติและการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯและจีน
โดยรัฐบาลจีนสามารถสรุปนโยบายยกเลิกมาตรการจำกัดการเข้าซื้อสินทรัพย์จากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนหรือผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่ได้รับการรับรองสามารถเข้าซื้อสินทรัพย์ในตลาดหุ้นและพันธบัตรของจีนได้อย่างไม่จำกัด
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.83% ที่ระดับ 2,895.34 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสัญญาณในเชิงบวกระหว่างสหรัฐฯและจีน จึงทำให้ความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนดีขึ้น นับตั้งแต่การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ของแต่ละประเทศเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.7% สำหรับวันนี้ตลาดลอนดอนปิดทำการเนื่องในวันหยุด
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- ศบค. แถลงพบผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" รายใหม่เพิ่ม 8 ราย รวมยอดสะสม 3,000 ราย ใน 68 จังหวัด ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 55 ราย รักษาหายเพิ่ม 12 ราย รวมรักษาหายเเล้ว 2,784 ราย
เมื่อวันที่ 8 พ.ค.63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 8 ราย รวมยอดสะสม 3,000 ราย ใน 68 จังหวัด ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 55 ราย รักษาหายเพิ่ม 12 ราย รวมรักษาหายเเล้ว 2,784 ราย
- นายกฯ ขอให้อดใจรอ 17.พ.ค. อาจมีคลายล็อกเฟส 2
"ประยุทธ์" ขอบคุณผู้ประกอบการ-ประชาชน ที่ให้ความร่วมมือหลังคลายล็อกเฟส 1 ขอให้อดใจรอ 17 พ.ค. อาจผ่อนคลายกิจกรรมเพิ่ม
เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ขอบคุณผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือ ภายหลังที่รัฐบาลคลายล็อกมาตรการกิจการในระยะที่ 1 ไปแล้ว หลังจากนี้เตรียมสรุปรวบรวมแบบอย่าง และตัวอย่างที่ผู้ประกอบการทำขึ้นปฏิบัติตามมาตรฐานตามสาธารณสุข เพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันทำแบบนี้อีก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในการออกมาใช้ชีวิตตามปกติ แม้จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งทุกคนจะต้องทำเช่นนี้ เพื่อไม่ให้มีการกลับมาระบาดอีกรอบ
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย.63 อยู่ที่ 47.2 จากเดือน มี.ค. 63 ที่อยู่ในระดับ 50.3 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมเดือน เม.ย. อยู่ที่39.2 ลดลงจากเดือน มี.ค.63 ที่อยู่ในระดับ 41.6
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวจากการปิดกับโอกาสหางานทำเท่ากับ 46.0 จาก 49.3 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 56.4 จาก 59.9
ปัจจัยลบ ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประทเศในอนาคต โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและบริการต่างๆ, รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เช่น การสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและสถานที่ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการปิดกิจการ ยกเลิการจ้างงาน มีแรงงานตกงาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมทั้งมีการขยายระยะเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน (1-31 พ.ค.63)
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรและการหารายได้ของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ, ราคาพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ มันสำปะหลัง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ยังทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในต่างจังหวัดขยายตัวไม่มากนัก, เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลการแพร่ระบาดของโควิด-19แต่ก็ยังสะท้อนว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศสุทธิไหลออก, ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว และกังวลปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง รวมถึงยังรู้สึกว่ารายได้ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น