· ตลาดหุ้นสหรัฐฯพุ่ง หลังจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯออกมาลดลงกว่าที่คาด!
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมทั้งปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่สุดในรอบสัปดาห์ หลังจากที่ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯประจำเดือนเม.ย.ออกมาน้อยกว่าที่คาด
ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้น 455.43 จุด หรือคิดเป็น 1.91% ที่ระดับ 24,331.32 ด้านดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 48.61 จุด หรือคิดเป็น 1.69% ที่ระดับ 2,929.8 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 141.66 จุด คิดเป็น 1.58% ที่ระดับ 9,121.32 จุด
โดยดัชนี Nasdaq ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 5 วันทำการ ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2019
ทั้งนี้ ดัชนีความผันผวนของ Cboe หรือที่รู้จักกันในชื่อมาตรวัดความกลัวของ Wall Street ลดลง 3.46 จุดมาอยู่ที่ 27.98 ซึ่งเป็นการปิดต่ำกว่า 30 ครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจในหลายๆประเทศเริ่มกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง แม้ว่ารายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯประจำเดือนเม.ย.จะออกมากลดลงก็ตาม
โดยเช้านี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.81% ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.86% ขณะที่ดัชนี Kospi เกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 0.4%
· รวมทั้งดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 0.61%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.15% ขณะที่เหล่านักลงทุนยังคงติดต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความหวังที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งจากมาตรการผ่อนคลายทางสังคมได้คลี่คลายลง
ด้านนายบอริส จอร์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้สรุปช่วงสุดสัปดาห์เรื่องเงื่อนไขของการค่อยๆเปิดเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งอย่างช้าๆ โดยใ้ห้เปิดสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ในเซี่ยงไฮ้อีกครั้งในวันนี้
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ระหว่าง 32.00-32.40 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ภายหลังการเปิดเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้า/ส่งออก ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ผลสำรวจกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเม.ย. ของจีนด้วยเช่นกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย.63 อยู่ที่ 47.2 จากเดือน มี.ค. 63 ที่อยู่ในระดับ 50.3 ลดลงต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 259 เดือน หรือ 21 ปี 7 เดือน รวมทั้งความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและรายได้โดยรวมต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบเกือบ 22 ปี จากการที่เศรษฐกิจถูกบั่นทอนมานานจากสงครามการค้า ทำให้ขยายตัวต่ำมาตั้งแต่ไตรมาส 3/61 ซึ่งเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่า 4% และปี 62 ทั้งปีเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่า 3%
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ที่คิดบนฐานของเงินต้นของค่างวดที่ผิดนัดชำระจริง สถาบันการเงินเริ่มใช้ไปแล้ว (เดิมคิดจากเงินต้นคงค้างทั้งหมด) การปรับปรุงในครั้งนี้จะช่วยให้แนวปฏิบัติในเรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยลดภาระของประชาชน รวมทั้งลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้
- กระทรวงพลังงานเตรียมจัดทำแพ็คเกจแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านพลังงาน ซึ่งจะเน้นการดูแลเศรษฐกิจจากฐานราก โดยโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนจะถูกบรรจุอยู่ในแผนงานดังกล่าวด้วย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าสัปดาห์หน้าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
จะสามารถออกประกาศเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมนำเสนอโครงการประเภทเร่งด่วน หรือ Quick Win จำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์(MW) และคาดว่าจะสามารถพิจารณาอนุมัติโครงการได้ในเดือนมิ.ย.63
- รมว.คลังของไทย สั่งการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขายของที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้กองทุนเป็นเครื่องมือช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กมากๆ ในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยต้องมีเงื่อนไขว่ากองทุนจะต้องเข้าไปช่วยเหลืออย่างไร และกองทุนจะได้ประโยชน์อย่างไร
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวในการประชุมหารือมาตรการเยียวยาเกษตรกร โดยได้มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ไปคิดโครงการเพื่อดูแลเศรษฐกิจชุมชน โดยคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้โครงการ เดินหน้าได้ภายในปลายเดือน พ.ค.63
- กระทรวงการคลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น"เราไม่ทิ้งกัน"ในปีงบประมาณปี 63 โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบ และแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามแผนงานโครงการของรัฐบาล ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท