· ดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯปรับสูงขึ้นในวันนี้ ตามหลังจากที่ตลาดหุ้นปรับสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเมื่อสัปดาห์ ท่ามกลางความหวังเกี่ยวกับการกลับมาเปิดเศรษฐกิจในหลายๆประเทศทั่วโลก
โดยดัชนีฟิวเจอร์สดาวโจนส์ปรับขึ้นประมาณ 88 จุด บ่งชี้ว่าดัชนีดาวโจนส์น่าจะเปิดตลาดในคืนนี้แดนบวกประมาณ 134 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq 100 ต่างเคลื่อนไหวในแดนบวกเช่นกัน
· หุ้นปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผ่อนคลายมาตรการ Lockdown
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการกลับมาเปิดทำการอีกครั้งของหลายๆประเทศ แม้ว่าจะมีรายงานเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอยู่ก็ตาม
โดยสิ่งที่กระตุ้นให้เหล่านักลงทุนคลายความกังวลจากการแพร่ระบาดของไวรัส นั่นก็คือ การจะกลับมาเปิดอีกครั้งในบางส่วนของประเทศนิวซีแลนด์ในวันพฤหัสบดีนี้ ทางด้านญี่ปุ่นวางแผนที่จะยุติสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับพื้นที่ที่การติดเชื้อมีความทรงตัว
ขณะที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้มาตรการ Lockdown เคร่งครัดที่สุดแห่งหนึ่งภายในภูมิภาคยุโรป จะเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในวันนี้
โดยในวันเดียวกันนี้ ทางเกาหลีใต้ได้มีประกาศเตือนให้ระวังการระบาดรอบที่สอง หลังพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้เพิ่มขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน ขณะที่เยอรมนีมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ดูจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.1%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ท่ามกลางการคลายมาตรการ Lockdown หนุนหุ้นกลุ่มวัฏจักร
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวสูงขึ้นทำกรับสูงสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากหลายประเทศเตรียมที่จะเปิดธุรกิจใหม่อีกครั้งจากการถูกปิดกั้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในช่วงก่อนหน้านี้
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.1% ที่ระดับ 20,390.66 จุด ซึ่งเ็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา นรำโดยหุ้นกลุ่มวัฏจักรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่
ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.5% ที่ะรดับ 1,480.62 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน
· ตลาดหุ้นจีนกลับมาปิดตลาดวันนี้ในแดนลบ แม้จะปรับขึ้นในช่วงต้นตลาดก็ตาม เนื่องจากความกังวลเกี่ยวรายงานการติดเชื้อจำนวนหนึ่งในเมืองอู่ฮั่นหลังจีนประกาศคลายมาตรการ Lockdown ลงเมื่อเดือนก่อน ทำให้เกิดเป็นความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดรอบที่สอง
โดยดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.02% ที่ระดับ 2,894.80 จุด ขณะที่ดัชนี Blue-chip CSI300 ปิด -0.09% โดยหุ้นกลุ่มการเงินปิด +0.06% ขณะที่กลุ่มอุปโภคบริโภคปิด -0.79% กลุ่มอสังหาฯ -0.01% และกล่มสุขภาพปิด -1.59%
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดเคลื่อนไหวในแดนบวก จากการยกเลิกมาตรการ Lockdown โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งหุ้นภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.2% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้น ยกเว้นหุ้นกลุ่มเคมีภัณฑ์
อ้างอิงสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยาการณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนเม.ย. 63 พบว่า อยู่ที่ 32.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 37.5 โดยดัชนีปรับลดลงทุกรายการ ทั้งด้านการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและบริการ เป็นต้น
สำหรับปัจจุบันที่มีผลกระทบในด้านลบ ประกอบด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลงไม่ถึง 10 คนต่อวัน
รวมถึงการใช้มาตรการ lockdown ในหลายจังหวัด การประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และการสั่งปิดกิจกรรมบางประเภท ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบกับภาคการเกษตร และการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชน ปัญหาการว่างงานจากการประกาศปิดธุรกิจในบางประเภทที่ไม่สามารถแบกรับปัญหาของเศรษฐกิจในปัจจุบันไหวหสกสถานการณ์ยังคงยืดยาวออกไป
นอกจากนี้ ยังมีผลจากการขาดรายได้ และสภาพคล่องจากการประกอบกิจการของธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง รวมทั้งรายได้ของผู้บริโภคชะลอตัวลง ทำให้การจับจ่ายใช้สอยชะลอตัวลง
ขณะที่ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 63 เป็น 32.63 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน เม.ย. 63 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกจากประเทศไทย
- หุ้นปิโตรฯ-โรงกลั่น อ่วม! งบไตรมาส 1/63 ขาดทุนถ้วนหน้า หลังรายได้จากการขายลดลง ขาดทุนสต็อกน้ำมัน หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง พ่วงขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จากเงินบาทที่อ่อนค่า นำโดย"ไทยออยล์" ขาดทุน 13,754 ลบ. ตามด้วย "พีทีที โกลบอล เคมิคอล"ขาดทุนสุทธิ 8,784 ลบ. และ "ไออาร์พีซี" ขาดทุน 8,905 ลบ. โบรกฯคาดฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ตัวแปรหลักคือทิศทางราคาน้ำมันดิบ PTTGC ไตรมาส 1/63 พลิกขาดทุน 8,784 ลบ.
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 1/63 พลิกขาดทุนสุทธิ 8,784 ล้านบาท จากรายได้การขายที่ลดลง และมาร์จิ้นธุรกิจปิโตรเคมีลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับลดลงมากในสิ้นไตรมาส ส่งผลให้ขาดทุนสต็อกรวม 8,906 ล้านบาท รวมถึงยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก 2,193 ล้านบาทกระทบต่อผลประกอบการ
- โควิด-19 ทำพิษ ค่ายอสังหาฯแห่เลื่อนเปิดโครงการใหม่ เปิดสถิติ Q1/63 วูบ 40% ต่ำสุดตั้งแต่น้ำท่วมปี 54 ลามต่อใน Q2/63 บางรายเลื่อนไกลถึงปี 64 แห่ปรับกลยุทธ์ กระหน่ำโปรโมชั่นระบายสต็อก ดั๊มราคาแรง-อยู่ฟรีสูงสุด 3 ปี กูรูคาดกำไรกลุ่มฯปีนี้หด 23% ต่ำสุดรอบ 7 ปี ยอดเปิดโครงการใหม่ Q1/63 วูบ 40%
"วิชัย วิรัตกพันธ์" รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการเลื่อนเปิดโครงการใหม่จำนวนมาก สะท้อนจากสถิติไตรมาส 1/63 มีโครงการเปิดใหม่ 68 แห่ง ลดลง 40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเปิดโครงการใหม่ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/54 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึงความกังวลว่าสหรัฐฯ และจีนอาจกลับมามีความ
ขัดแย้งทางการค้ากันอีกครั้ง หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า สหรัฐฯ อาจยกเลิกข้อตกลงเศรษฐกิจการค้าระยะแรกกับจีน
หากจีนไม่ทำตามข้อตกลงการซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 2 ปี (วันที่ 1 ม.ค.2563 – 31 ธ.ค. 2564)
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้เงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลหลังการกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้วในปี 2564 จะพุ่งขึ้นไปในระดับ 57% ซึ่งใกล้เคียงกับกรอบวินัยการเงิน การคลัง ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และหากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงยืดเยื้อ และรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินกู้เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแล้วว่าให้กระทรวงการคลังสามารถขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะให้สูงกว่าปัจจุบันได้
- หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหลังจากเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวติดลบ 2 เดือนติดต่อกัน ซึ่งเกิดจากช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ แต่ได้ส่งผลดีต่อภาคครัวเรือนระยะสั้น เพราะจะทำให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าและอาหารในราคาถูกลง และได้สินค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น มีเงิน 100 บาท ซื้อของได้มากกว่าเดิม เป็นการลดภาระครัวเรือนได้ แต่มองว่าจะเป็นระยะสั้นเท่านั้น หากเกิดภาวะเงินฝืดต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้