· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง เนื่องจากข้อมูลเงินเฟ้อของจีนประจำเดือนเม.ย.ออกมาแย่กว่าที่คาด
โดยดัชนี Hang Seng ลดลง 1.48% ในช่วงชั่วโมงสุดท้ายของการซื้อขาย
ดัชนี Nikkei ลดลง 0.12% ปิดที่ระดับ 20,366.48 จุด ดัชนี Topix ลดลง 0.26% ปิดที่ระดับ 1,476.72 จุด และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ปิดลง 0.68% ที่ระดับ 1,922.17 จุด
สำหรับดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 1.07% ปิดที่ระดับ 5,403 จุด
ด้านการประกาศผลประกอบการภาคบริษัท Toyota ลดลง 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ยังคาดการณ์ว่ากำไรจากการดำเนินงานจะลดลง 79.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีสำหรับปีงบการเงิน 2021 ส่งผลให้หุ้นของโตโยต้าในญี่ปุ่นลดลง 1.97%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.95%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโอโคนาในรอบที่ 2 จึงกดดันมุมมองเชิงบวกหลังจากที่เศรษฐกิจในหลายๆประเทศกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง
หุ้นกลุ่มบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ลดลง 2.0% หลังจากผู้ผลิตรถยนต์เตือนว่ากำไรจากการดำเนินงานจะลดลงเกือบ 80% ในปีงบการเงินปัจจุบัน
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.12% ที่ระดับ 20,366.48 จุด
ท่ามกลางความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้น หลังรัฐบาลหลายประเทศเริ่มประกาศผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แต่ข่าวการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน เกาหลีใต้และเยอรมนี ดูเหมือนจะบดบังความเชื่อมั่นดังกล่าว
ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์บางส่วน กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของตลาดขึ้นอยู่กับความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังจากที่หดตัวในช่วงเดือนเม.ย.- มิ.ย.ที่ผ่านมา แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์หลายคนเตือนว่ามันอาจใช้เวลานานกว่านั้นก็ตาม
· บริษัท Toyota Motor Corp คาดว่าผลประกอบการบริษัทปีนี้จะลดลงมากถึง 80% ซึ่งเป็นการต่ำสุดในรอบ 9 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลต่อความต้องการรถยนต์ทั่วโลก
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางความหังวลเกี่ยวกับ Second Wave ของไวรัสโคโรนา และกิจกรรมภาคการผลิตของจีนปรับตัวลดลงอย่างมากสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ
โดยดัชนี Shanghai Composite ปิดลดลง 0.11% ที่ระดับ 2,891.56 จุด หลังจากช่วงเช้าลดลงไป 0.59%
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเหล่านักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบ 2 (second wave) โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% หลังจากเคลื่อนไหวทรงตัวในช่วงต้นการซื้อขาย ท่ามกลางหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนที่ลดลง 1% ขณะที่หุ่นกลุ่มเทเลคอมเพิ่มขึ้น 0.7%
ตลาดทั่วโลกยังคงให้ความสนใจการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างใกล้ชิด หลังจากมีบางประเทศที่มีรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น ที่อาจกลายเป็นการติดเชื้อแบบ second wave
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
- เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 2 ราย ผู้ป่วยสะสมรวม 3,017 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 56 ราย รักษาหายเพิ่ม 2 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 2,798 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 163 ราย
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- หุ้น BANPU ชนซีลลิ่ง 14.41% มาอยู่ที่ 6.35 บาท เพิ่มขึ้น 0.80 บาท มูลค่าซื้อขาย 1,295.83 ล้านบาท เมื่อเวลา 11.17 น. โดยเปิดตลาดที่ 5.75 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 6.35 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 5.70 บาท
บมจ.บ้านปู (BANPU) และบริษัทย่อย ประกาศผลดำเนินงานงวดไตรมาส 1/63 มีกำไรสุทธิ 1.71 พันล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.333 บาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 905.08 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.175 บาท
- "ไทยบีเอ็มเอ" เผยตลาดหุ้นกู้เริ่มฟื้น หลังเอกชนเริ่มหันมาระดมทุน ชี้ล่าสุดมีกว่า 10 บริษัท ยื่นไฟลิ่งออกขายหุ้นกู้ มั่นใจช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ยอดระดมทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้าน สะท้อนความเชื่อมั่นเริ่มกลับมา ด้าน "ไพบูลย์" ฟันธง หุ้นไทยระยะยาวยังขาขึ้น สิ้นปีมีลุ้น 1,400 จุด ขณะดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปิดบวกกว่า 21 จุด
- FETCO คาดดัชนีหุ้นไทยปีนี้อยู่ที่ 1,400 จุด จี้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว"
- ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) เปิดเผยว่า ขณะนี้เฟทโก้อยู่ระหว่างการระดมสมองของนักวิเคราะห์ บริษัทจดทะเบียน และผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน เพื่อเรียบเรียงและจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนำเสนอกับทางรัฐบาล อาทิสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่มีกำลังซื้อสูงและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 มาใช้จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่มีปัญหา เช่น ช้อปช่วยชาติเพิ่มการลดหย่อนภาษีจาก 15,000 บาท เป็น 50,000 บาทหรือกระตุ้นให้คนไทยที่นิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศหันมาท่องเที่ยวในประเทศ และในการเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้ระดมทุนในตลาดทุนเพื่อไม่ต้องกู้เงินเพิ่ม
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าผลกระทบการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีผู้ว่างงานจากการถูกเลิกจ้างเพียง 3 ล้านคนต่ำกว่าที่คณะกรรมการภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินไว้ที่ 7 ล้านคน เนื่องจากรัฐบาลควบคุมการระบาดไวรัสได้ดีและสามารถรีสตาร์ตธุรกิจได้เร็วกว่ากำหนด จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มดำเนินกิจการและมีรายได้เสริมสภาพคล่องได้ทันเวลา
- "สนธิรัตน์" เตรียมหามาตรการช่วย กลุ่มโรงกลั่น-ผู้ค้าน้ำมัน หลังขาดทุนสต็อกหลายหมื่นล้าน เหตุพิษโควิดฉุดความต้องการใช้ลดลง กดราคาน้ำมันโลกดิ่งต่ำสุดรอบกว่า 30 ปี
- "ส.อ.ท.-สภาองค์การนายจ้าง" มองสวนทางบอร์ดประกันสังคม หนุนทบทวนเพิ่มการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนจาก62% เป็น 75% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19 ชี้ต้องช่วยระยะสั้นให้รอดตายก่อน หากมองแต่อนาคตเงินไม่พออาจไม่มีอนาคตให้เห็น "หม่อมเต่า" ย้ำจ่ายชดเชยว่างงาน 75% ทำได้ เงินมีเพียงพอ ลุ้นรายงาน ครม.วันนี้เคาะแนวทาง
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- PTT รับผลกระทบสงครามน้ำมัน และพิษโควิด-19 ฉุดงบไตรมาส 1/63 ขาดทุน 1.55 พันลบ.ถือเป็นการขาดทุนครั้งแรกรอบ 17 ไตรมาส ระบุกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นซบเซา มีขาดทุนสต็อกน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนซ้ำเติม วางแผนลดค่าใช้จ่าย-งบลงทุนปีนี้ลงราว 10-15% ด้านนักวิเคราะห์คาดไตรมาส 2/63 พลิกมีกำไร
*** ผลประกอบการ Q1/63 พลิกขาดทุนรอบ 17 ไตรมาส
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.ปตท. (PTT)ประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2563 พบว่า มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 1,554 ล้านบาท ลดลงประมาณ 19,000 ล้านบาท หรือลดลงมากกว่า 100% จากกำไรสุทธิในไตรมาส 4/62 ที่จำนวน 17,446 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/62 กำไรสุทธิลดลงจำนวนประมาณ 30,866 ล้านบาท หรือลดลงมากกว่า 100% จากกำไรสุทธิไตรมาส 1/62 ที่จำนวน 29,312 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากย้อนไปดูผลประกอบการในอดีต เท่ากับว่าการขาดทุนครั้งนี้ เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 17 ไตรมาส นับจากที่ขาดทุนครั้งล่าสุดในไตรมาส 3/58 ที่ 26,581 ล้านบาท ซึ่งในครั้งนั้นมีสาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลจากการตั้งด้อยค่าของ PTTEP จำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท