· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังจากที่ประธานเฟดกล่าวเตือนถึงการที่เศรษฐกิจจะยังอ่อนตัวไปอีกหลายเดือนจากการระบาดอขงไวรัสโคโณนา ขณะที่ตลาดรอคองเกรสอนุมัติงบประมาณทางการเงินเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ดัชนีดาวโจนส์ปิด -516.81 จุด หรือ -2.17% ที่ 23,247.97 จุด ด้าน S&P500 ปิด -1.75% ที่ 2,820 จุด และ Nasdaq ปิด -1.55% ที่ 8,863.17 จุด
ขณะที่กลุ่มนักลงทุนบางส่วนก็ยังคงให้ความสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหวังในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้เราเห็นดัชนีหลักทั้ง 3 ปรับขึ้นได้จากระดับต่ำสุดเมื่อเดือนมี.ค. ประมาณ 30%
อย่างไรก็ดี ถ้อยแถลงของประธานเฟดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทำให้นักลงทุนบางส่วนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจเชิงลึกจึงทำให้ 3 ดัชนีหลักปรับตัวลดลงในช่วงปลายตลาด ขณะที่เฟดก็ไม่ได้ระบุถึงเครื่องมือต่อไปที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เพียงแต่ให้คำมั่นที่จะใช้ทุกเครื่องมือที่จำเป็น พร้อมระบุถึงการปราศจากเครื่องมือสนับสนุนเพิ่มเติมก็อาจไม่เพียงพอจะฉุดภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงเชิงลึก
· เช้านี้ดัชนีหุ้นฟิวเจอร์สเปิดปรับขึ้นหลังจากที่ตลาดกังวลเรื่องภาพรวมของทิศทางเศรษฐกิจและทำให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นตามมา โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สปรับขึ้น 88 จุด หรือคิดเป็น +0.35% ด้าน S&P500 และ Nasdaq ฟิวเจอร์สเปิด +0.3%
· หุ้นยุโรปปิดปรับลงจากความกังวลเรื่อง Second Wave ขณะที่ยังปราศจากวัคซีน จึงกดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -2%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ตามการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนทีผ่านมา
โดยเช้านี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.6% ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.61% และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ลดลง 0.9%
ขณะที่ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลียลดลง 0.7% สำหรับวันนี้จะมีการประกาศตัวเลขภาคแรงงานประจำเดือนเม.ย.ของออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.37%
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไวที่ระหว่าง 32.00-32.15 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทระหว่างวันเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือนพ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 68.33 จุด เพิ่มขึ้น 0.40 จุด หรือคิดเป็น 0.59% เมื่อเทียบกับ เม.ย.63 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 67.93 จุด โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น มาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า เหตุระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคมาสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น โดยประเมินว่ามูลค่าที่แท้จริงของการใช้จ่ายในหมวดค้าส่งค้าปลีกผ่านช่องทาง e-commerce ในปี 63 จะเติบโตที่ 19% มีส่วนช่วยลดทอนผลกระทบจากการปิดกิจการชั่วคราวซึ่งช่วยพยุงการบริโภคและเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤตได้ระดับหนึ่ง
- อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบกับการส่งออกทั่วโลก แต่การส่งออกของไทยไปอาเซียนในไตรมาสแรกของปี 63 (ม.ค.-มี.ค.) ยังคงขยายตัวถึง 4.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 มีมูลค่ารวม 16,280 ล้านเหรียญ โดยมีปัจจัยหนุนจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวสูงถึง 251.1% ซึ่งมาจากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น
- กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมี.ค. 63 EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 107 ล้านบาท ลดลง 67.98% เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 334 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1/62 เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้สกุลบาท (Prime Rate) เพื่อช่วยผู้ประกอบการ