· ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวลดลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจต่อรายงานที่จาก Stat News ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวด้านสุขภาพของสหรัฐรายงานว่า ผลทดลองวัคซีนของบริษัท Moderna ยังไม่ชัดเจนพอที่จะประเมินประสิทธิภาพในการต้านไวรัสได้ จึงทำให้ดัชนี S&P500 ที่ปิดพุ่งกว่า 3% ในวันจันทร์ปิด -1.05% เมื่อคืนนี้ที่ 2,922.94 จุด ทางด้านดาวโจนส์ปิด -390.51 จุด หรือ -1.59% ที่ 24,206.86 จุด และ Nasdaq ปิด -0.54% ที่ 9,185.1 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดแดนลบโดย Stoxx 600 ปิด -0.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มรถยนต์ปิด -1% ท่ามกลางรายงานยอดลงทะเบียนรถใหม่ในอียูที่ดิ่งลงกว่า 76.3% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากยอดขายที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ขณะที่ข้อมูล ZEW เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีปรับขึ้นเกินคาด จึงทำให้เกิดความคาดหวังว่าจะเห็นเศรษฐกิจรีบาวน์ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี
· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังรอคอยการประกาศข้อมูลอัตราดอกเบี้ยของจีน
โดยเช้านี้ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.42% และดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.13% ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ทรงตัว
ขณะที่ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.81%
เหล่านักลงทุนยังเฝ้าดูปฏิกิริยาของตลาดต่อรายงานข่าวของ STAT ที่ออกมาเมื่อคืนนี้ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลการทดลองใช้วัคซีนไวรัสโคโรนาจาก Moderna โดยการพัฒนาเชิงบวกได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.18%
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ระหว่าง 31.85-31.95 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดมีความหวังกรณีหลายประเทศพยายามคิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้นักลง ทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ตลาดยังรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ที่คาดว่าน่าจะลดดอกเบี้ย เหลือ 0.50%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
กูรูประสานเสียง กนง.หั่นดอกเบี้ยเหลือ 0.50%
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 พ.ค.นี้ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 0.75% มาอยู่ที่ 0.50% ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีแนวโน้มที่จีดีพีจะหดตัวในอัตราที่เร่งขึ้นในไตรมาส 2/2563 ขณะที่ทั้งปีคาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวราว 5.0% ในปีนี้
- EIC SCB มองจีดีพี Q2 ถดถอยรุนแรงกดดันธปท. ขณะที่ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ มองมุมเดียวกัน ระบุ เศรษฐกิจไทยที่ได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและแนวโน้มการหดตัวที่น่าจะรุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 2/63 รวมถึงการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีความเสี่ยงขาลงค่อนข้างมาก จึงมีโอกาสค่อนข้างสูงที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมวันที่ 20 พ.ค. นี้ และคาดคงดอกเบี้ยระดับ 0.5% ถึงสิ้นปีนี้ หากไม่มีโรคระบาดรอบสอง ทรีนีตี้ มองมีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม
- ทรีนีตี้ มองมีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 พ.ค. 2563 มีความเป็นไปได้ 50:50 ระหว่างการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.50% และการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 0.75% โดยเหตุผลที่ทำให้กนง.คงดอกเบี้ยคือ
1.แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่เตรียมผ่านพ้นจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2/63 หลังมาตรการคุมเข้ม Lockdown เริ่มส่งสัญญาณเชิงบวก
2. กนง.อาจเลือกเก็บขีดความสามารถไว้ใช้ในยามจําเป็น เช่น ความเสี่ยงของการระบาดโควิด-19 รอบที่สอง
3. การออกมาตรการต่าง ๆ ที่แก้ไขปัญหาตรงจุดไปแล้ว เช่น มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการลดเงินนำส่ง FIDF ซึ่งช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปก่อนหน้านี้แล้ว
4. เสถียรภาพในตลาดตราสารหนี้ภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากเกิดขึ้นน่าจะมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงมากในช่วงหลัง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคที่อ่อนแอ รวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่อาจจะหดตัวนานกว่าที่ธปท.ประมาณการไว้เดิม
- ตลาดหุ้นไทยรับรู้แล้ว พลิกโผอาจเจ็บหนักซึ่งแม้จะลดดอกเบี้ยตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ก็อาจเห็นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติในช่วงแรกจากเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะสั้น ขณะที่ปัจจัยบวกอย่างโอกาสที่ระดับ Forward PE ของตลาดจะมีการขยายตัวได้อีกครั้งก็จะเข้ามาหนุนได้ไม่มาก เพราะหากอิงตามสมมติฐาน PE Model ของทรีนีตี้ล่าสุดจะได้ว่า Forward PE ในกรณีแย่สุด, กรณีฐาน, และกรณีดีสุดจะขยับขยายออกไปเป็น 14.6, 15.7,และ16.8 เท่าตามลําดับ ซึ่งหากอิงกับประมาณการกำไรสุทธิ ( EPS) ของตลาดปีนี้ที่ล่าสุดอยู่ที่ 69.4 บาท จะได้ระดับดัชนี SET ที่เหมาะสมในแต่ละกรณีอยู่ที่ 1010, 1090, และ 1170 จุดตามลําดับ ซึ่งหากนำมาเทียบเคียงกับดัชนีในปัจจุบันก็จะพบว่าไม่ได้มีอัพไซด์แล้ว