· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,570,583 ราย (+20,289) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 93,533 ราย (+1,552)
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในรัสเซียพีุ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ล่าสุดอยู่ที่ 299,941 ราย (+9,263) และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระดับ 2,837 ราย (+11)
Ø จำนวนผู้เชื้อในบราซิลล่าสุดอยู่ที่ 271,885 ราย (+16,517)และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 17,983 ราย (+1,130)
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,033 ราย (+2) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 56 ราย
· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบยูโรท่ามกลางตลาดที่จับตาข่าวแผนเงินกู้อียูของทางฝรั่งเศสและเยอรมนีมูลค่า 5 แสนล้านยูโร (5.5 แสนล้านเหรียญ)และคาดว่าคณะกรรมาธิการจะทำการพิจารณาข้อเสนอก่อนการประชุมอียูซัมมิทที่จัดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค.
นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากข่าวดีเรื่องวัคซีน COVID-19 ที่ทำให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยนั้นลดลง
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขี้น 0.25% ที่ 1.0942 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ยังทรงตัวได้ต่ำกว่า 100 จุด โดยทรงตัวแนว 99.554 จุด
· เมื่อคืนนี้ นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกโรงปกป้องทีมบริหารของนายทรัมป์เกี่ยวกับการใช้นโยบายการเงินต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา และทางวุฒิสภามีความตั้งใจที่จะพิจารณาขยายเวลา พร้อมปรับปรุงโปรแกรมสินเชื่อกู้ยืมเงินสำหรับภาคธุรกิจขนาดเล็ก
ในบางช่วงของการกล่าวถ้อยแถลงก่อนรายงานต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภา รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และประธานเฟด กล่าวถึงโปรแกรมเงินช่วยเหลือกว่า 3 ล้านล้านเหรียญในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาว่ากำลังดำเนินด้วยดีในการสนับสนุนเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ท่านยังเผชิญกับคำถามเกี่ยวกับแผนของทีมบริหารที่จะทำการผ่อนปรนให้ภาคธุรกิจและบริษัทกลับมาเปิดทำการเร็วเกินไปไม่หลังเผชิญภาวะ Lockdown ที่ปราศจากเครื่องมือการป้องกันไวรัสโคโรนา
สำหรับมุมมองทางเศรษฐกิจนั้น นายมนูชิน มองว่าอาจเห็นจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ และสัญญาณทางเศรษฐกิจเชิงลบอื่นๆในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ แต่สถานการณ์โดยองค์รวมค่อนข้างดีขึ้นเมื่อเริ่มมีการกลับมาเปิดทำการ ซึ่งภาครัฐมีการทำงานสอดประสานกับผู้ว่าการในการกลับมาเปิดทำการให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดแก่แรงงานและกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้น เราจึงคาดหวังว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีนี้
ส่วนนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด มีมุมมองว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและชาวอเมริกาซึ่งเป็นผลกระทบที่ขยายเป็นวงกว้างและรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นประวัติการณ์ และจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น เฟดจะคงดอกเบี้ยในระดับเกือบ 0% ต่อไป รวมทั้งการขยายการเข้าซื้อตราสารหนี้ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง ผ่านเครื่องมือทั้งหมดที่สามารถช่วยเศรษฐกิจได้
· การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯวานนี้ พบว่า ยอดการก่อสร้างบ้านในสหรัฐฯออกมาแย่ลงมากทุ่สดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย. รวมทั้งยอดการอนุมัติก่อสร้างบ้านในอนาคตก็ดิ่งลงเช่นเดียวกันภายใต้ความกังวลต่อวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 หดตัวลงย่ำแย่กว่ายุค Great Depression
ทั้งนี้ ยอดการเริ่มต้นก่อสร้างบ้านร่วงลงไป 30.2% เมื่อเทียบรายปี ปัจจุบันอยู่ที่ 891,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2015 และถือเป็นการมีอัตราการปรับลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มเก็บข้อมูลในปี 1959
· นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวว่า ภาคธุรกิจจะเผชิญกับภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอตราบเท่าที่กลุ่มผู้บริโภคและแรงงานยังวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ โดยอัตราว่างงานมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในช่วงสิ้นปีนี้ และอัตราว่างงานอาจแตะ 20% ได้ตามจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี เขาระบุว่า สมาชิกเฟดจะทำการตัดสินใจเรื่องการปรับลดระดับดอกเบี้ยได้ในอนาคตร เพื่อช่วยเหลือการดำเนินการภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
· เมื่อวานนี้ ทีมบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการลงนามสัญญามูลค่า 812 ล้านเหรียญในการก่อสร้างบริษัทยาแห่งใหม่ของสหรัฐฯ และในการศึกษาวัคซีนไวรัสโคโรนา และเพื่อเสริมสร้างกำลังการผลิตยาหลังทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสหกรรม
· ขณะที่ นายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการลงนามคำสั่งฉุกเฉินวานนี้เพื่อให้มีการอัดฉีดเม็ดเงินโดยตรงแก่องค์การต่างๆ พร้อมทำการปรับลดกฎระเบียบบางอย่าง เพื่อให้เศรษฐกิจก้าวไปข้างหน้าได้หลังเผชิญผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ นายทรัมป์ กล่าวว่า สหรัฐฯควรพิจารณาการยุติข้อตกลงการค้าภายใต้การส่งออกวัวหรือควาย เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเจ้าของฟาร์มในสหรัฐฯที่กำลังได้รับผลกระทบในเวลานี้
นอกจากนี้ นายทรัมป์ ยังกล่าวถึงการพิจาณาแบนการเดนทางจากบราซิลทั้งหมด หลังบราซิลกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 ของโลก
· ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลต่อการประชุมของคณะกรรมาธิการ UN ที่จัดขึ้นในประเทศซีเรีย เพื่อหาแนวทางจัดการด้านการค้ากับบรรดาผู้นำทั่วโลก
โดยเอกอัครราชทูตจาก UN เรียกร้องให้จีนยืนยันข้อมูลที่ถูกต้องต่อผู้นำทั่วโลกในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา โดยการสนับสนุนมติการแก้ปัญหาและยินยอมให้ UN เข้าร่วมต่อสู้กับวิกฤตในครั้งนี้ เพื่อให้สามารถส่งมอบอุปกรณ์การช่วยเหลือข้ามพรมแดนได้
· ข้อมูลจาก Tankan ของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ชี้ว่า ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจดิ่งลงอย่างมากในเดือนพ.ค. ไปทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี และเรียกได้ว่าข้อมูลล่าสุดยิ่งตอกย้ำถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครั้งในไตรมาสล่าสุดที่ผ่านมา
· ราคาน้ำมันดิบ WIT ปิดปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่นายมนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯสนับสนุนการขยายมาตรการต่างๆ เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ขณะที่ Brent ปิดอ่อนตัวจากความกังวลเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตที่อาจไม่ช่วยลดความเสียหายได้
โดยน้ำมันดิบ WTI ที่เป็นสัญญาเดือนมิ.ย.ที่หมดอายุวานนี้ปิดปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ +2.1% ที่ 32.50 เหรียญ/บาร์เรล แต่สัญญาส่งมอบเดือนก.ค.ปิด +31 เซนต์ ที่ 31.96 เหรียญ/บาร์เรล
ทางด้าน Brent ปิดลดลง 16 เซนต์ หรือ -0.5% ที่ 34.65 เหรียญ/บาร์เรล