• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2563

    21 พฤษภาคม 2563 | SET News
 

· หุ้นสหรัฐฯปิดบวกจากความหวังภาครัฐออกนโยบายเศรษฐกิจเพิ่ม, Nasdaq ทำระดับสูงสุดรอบหลายเดือน

ทั้ง 3 ดัชนีหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดในแดนบวกเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 วันทำการที่ผ่านมา ท่ามกลางนักลงทุนที่กลับมามีความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้งจากการที่หลายๆประเทศเริ่มคลายมาตรการล็อคดาวน์ รวมถึงคาดหวังว่าเฟดจะพิจารณาออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

โดยดัชนี S&P 500 ขึ้นไปใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 100 วัน ซึ่งถือเป็นแนวต้านสำคัญทางเทคนิค ก่อนจะย่อตัวลงเล็กน้อยและปิด +48.67 จุด หรือ +1.67% ที่ระดับ 2,971.61 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด +190.67 จุด หรือ +2.08% ที่ระดับ 9,375.78 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน และต่ำกว่าระดับสูงสุดของวันที่ 19 ก.พ. ลงมาเพียง 4.5% นำโดยหุ้นของ Facebook และ Amazon ที่ทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านดัชนีดาวโจนส์ปิด +369.04 จุดหรือ +1.52% ที่ระดับ 24,575.9 จุด

นางแนนซี เพโลซี หัวหน้าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เผยสภาผู้แทนราษฎรฯมีกำหนดการจะลงมติร่างนโยบายที่จะมาขยายระยะเวลาของมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงขยายเวลาให้กับนโยบายคุ้มครองรายได้ภายในสัปดาห์หน้า

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นท่ามกลางนักลงทุนที่ให้ความสนใจเรื่องผลประกอบการภาคบริษัท ควบคู่กับความพยายามในการทยอยกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ

ดัชนี Stoxx600 ปิด +1% ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีฟื้นตัวกว่า 2% ท่ามกลางตลาดหุ้นยุโรปที่ยังตอบรับกับข่าวความพยายามเรื่อวัคซีน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน หลังจีนตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน เนื่องจากธนาคารกลางของจีนตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

เช้านี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.79% ที่ระดับ 20,595.15 จุด ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.58% ที่ระดับ 1,494.69 จุด และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 0.46% ที่ระดับ 1,989.64 จุด

· ด้านตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง โดยดัชนี Shanghai composite ลดลง 0.51% ที่บริเวณ 2,883.74 จุด และดัชนี Shenzhen ลดลง 0.94% ที่ระดับ 10,948.48 จุด ด้านดัชนี Hang Seng ลดลง 0.1% ในชั่งโมงสุดท้ายของการซื้อขาย

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ปรับตัวสูงขึ้น 0.24% ที่ระดับ 5,573 จุด

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 31.75-31.90 บาท/ดอลลาร์ โดยหลัง กนง.มีมติปรับลดดอกเบี้ยบาทอ่อนค่าเล็กน้อย ก่อนที่จะกลับมาแข็งค่าตามภูมิภาค ขณะที่ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 31.82-31.92 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลต่อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากไม่มั่นใจเรื่องความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนของสหรัฐฯ

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ที่ประชุม กนง.ครั้งที่ 3/63 มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 0.75% เป็น 0.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันทีหลังแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อปีนี้หดตัวมากกว่าคาด ขณะที่ 3 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ต่อปี การตัดสินนโยบายของคณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาด และผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบกว่าที่ ประเมินไว้ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิ

- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.63 อยู่ที่ระดับ 75.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.0 ในเดือน มี.ค.63 โดยค่าดัชนีฯ ต่ำสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่เดือน เม.ย.52 เป็นการปรับตัวลดลงในทุกขนาดของอุตสาหกรรมทั้งขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

- ยอดส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 20,326 คัน ลดลง 69.71% จากเดือน เม.ย.62 โดยยอดส่งออกลดลงในทุกตลาดเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

- สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงลึก และลากยาวของเศรษฐกิจที่มากกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะฟื้นตัวช้า ทางสำนักวิจัยฯ จึงได้ปรับลดมุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลงจาก -6.4% เป็น -8.9% และให้ระวังวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้อาจเลวร้ายที่สุดที่ประเทศไทยเคยเผชิญ ซึ่งจะรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งที่เศรษฐกิจไทยในปี 41 ที่หดตัว 7.63% โดยเฉพาะไตรมาส 2 ของปี 41 ที่หดตัวลึกถึง 12.53% แต่รอบนี้อาจได้เห็นเศรษฐกิจหดตัวเลขสองหลักอีกครั้งและลากยาวกว่าเดิม

- รมช.คลังไทย กล่าว สั่งการให้ผู้บริหาร EXIM BANK วางกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมแผนการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ส่งออก ให้ครอบคลุมธุรกิจทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ และธุรกิจขนาดกลาง ทั้งในด้านการให้เครดิต การหาช่องทางการค้าขาย การขยายตลาดใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งออกทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้มากขึ้น

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com