· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทั่วโลกจาก Lockdown โดยดัชนีดอลลาร์แข็งค่าต่อ 0.2% ที่ 99.385 จุด ขณะที่ยูโรยังคงแข็งค่าต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อันเนื่องจากอียูเข้าใกล้แผนการจัดตั้งกองทุน 5 แสนล้านยูโร (5.43 แสนล้านเหรียญ) เพื่อช่วยเหลือภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยยูโรในช่วง 4 วันทำการปรับขึ้น 1.6% แต่เมื่อวานนี้ปิดอ่อนตัวลงเล็กน้อย 0.21% ที่ 1.0956 ดอลลาร์/ยูโร
สำหรับเงินปอนด์ทรงตัว แต่ภาพรวมยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า จากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ หรือบีโออีอาจปรับลดดอกเบี้ยต่ำกว่าระดับศูนย์
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาแย่กว่าคาดแถวระดับ 2.44 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยที่ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และที่เคยทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไว้ในช่วงปลายเดือนมี.ค. แตะ 6.9 ล้านราย
อย่างไรก็ดี ตลอดช่วง 9 สัปดาห์นี้ ที่เผชิญกับภาวะ Lockdown ก็ดูจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีคนว่างงานมากขึ้นแล้วกว่า 38.6 ล้านราย
· บรรดานักเศรษฐศาสตร์ของสหรับฯคาดหวังว่าจำนวนคนว่างงานจะเริ่มทรงตัวและค่อยๆปรับตัวลง และการกลับมาเปิดทาการทางเศรษฐกิจกหรือภาครัฐ ก็ดูจะมีส่วนช่วยกับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กได้ แต่ภาพรวมในเดือนพ.ค.เราอาจเห็นตัวเลขว่างงานนั้นแย่กว่าที่คาดการณ์ก็เป็นได้ ก่อนที่จะค่อยๆเห็นถึงการฟื้นตัวกลับของตลาดแรงงานในเดือนมิ.ย. นี้
· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนและผลจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาย่ำแย่กว่ายุคที่เคยเกิดภาวะถดถอยครั้งใหญ่ (Great Depression) ซึ่งต้องบอกว่า นี่คือความไม่แน่นอนอย่างมากครั้งใหม่ และภาวะเศรษฐกิจขาลงดูจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นก็ส่งผลกระทบแค่กลุ่มรายได้น้อย
· นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า เรียกร้องให้สหรัฐฯกลับมาเปิดทำการ และพร้อมให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติให้ได้ก่อนช่วงเกิดวิกฤต
นอกจากนี้ ธนาคารกลางในสหรัฐฯต่างๆ ควรที่จะคงเม็ดเงินทุนให้มากเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ท่ามกลางการระบาดของไวรัสในเวลานี้
· นายมิทช์ แม็คคอนเนล ผู้นำสมาชิกวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกัน กล่าวกับสำนักข่าว Fox News ว่า ข้อตกลงสำหรับแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเกิดไวรัสโคโรนามีแนวโน้มสูงที่จะสามารถนำมาเป็นแพ็คเกจช่วยเหลือได้ แต่เราจำเป็นต้องมั่นใจว่ามาตรการนั้นจะสามารถรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า หากเกิดการระบาดรอบสองหรือ Second Wave เขาจะไม่สั่งปิดประเทศ
· ด้านผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก เผยว่าจะเริ่มกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิ.ย. หากผลตรวจหาเชื้อไวรัสยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 15% เช่นเดียวกับตลอดช่วง 10 วันมานี้
· โฆษกคณะกรรมาธิการถาวรสภาประชาชนแห่งชาติจีน แถลงว่าสภาประชาชนแห่งชาติจะพิจารณาออกกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยการพิจารณากฎหมายดังกล่าวจะมีขึ้นในการประชุมประจำปีครั้งสำคัญในวันนี้
ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศว่าจะดำเนินการตอบโต้จีน หากลงมือกับฮ่องกง
กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เรียกร้องให้จีนเคารพอำนาจปกครองตนเองของฮ่องกง พร้อมเตือนว่า การเสนอให้ออกกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อควบคุมเขตปกครองพิเศษจะทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพอย่างรุนแรง และเรียกเสียงประณามจากทั่วโลก
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของดูไบ คาดว่าอาจทำการปิดบริษัทภายในอีก 6 เดือนจากนี้ หากการระบาดของไวรัสโคโรนาและการ Lockdown ทั่วโลกยังเป็นอุปสรรคต่ออุปสงค์ โดยบรรดาผลสำรวจฝ่ายบริหารของบริษัทดูไบกว่า 1,228 ราย ระหว่าง 16 – 22 เม.ย. นี้ พบว่า 27% มองโอกาสปิดธุรกิจในเดือนหน้า ขณะที่อีก 43% คาดอาจปิดธุรกิจในอีก 6 เดือน
· หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า นายบอริส จอร์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้สั่งให้ข้าราชการวางแผนที่จะยุติการพึ่งพาเวชภัณฑ์ที่สำคัญจากจีนและการนำเข้าเครื่องมือเชิงกลยุทธ์อื่น ๆในช่วงที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาค่อนข้างจะลดลง
· ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษกลับมาอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 ที่ผ่านมา
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอังกฤษในช่วงต้นเดือนพ.ค.ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2009 แม้รัฐบาลจะเริ่มคลายการคอร์ราไวรัสไวรัสลงก็ตาม
· รัฐมนตรีกระทรวงการเศรษฐกิจของบราซิล กล่าวว่า บราซิลจะให้การสนับสนุนภาคแรงงาน หลังรายงานอย่างเป็นทางการล่าสุดพบว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนพ.ค. มีผู้ขอรับสวัสดิการว่างานเพิ่มขึ้น 76.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจุบันอยู่ที่ 504,313 ราย ขณะที่ภาพรวมคาดเศรษฐกิจบราซิลจะหดตัวลงไปประมาณ -5% ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้การเติบโตเข้าสู่ภาวะขาลงนับตั้งแต่ที่เคยทำไว้ในประวัติการณ์ในปี 1900
ขณะที่ประธานธนาคารกลางบราซิล กล่าวในสัปดาห์นี้ว่า เราอาจเห็นอัตราว่างงานบราซิลพุ่งสูงแตะ 15% ได้
อย่างไรก็ดี ภาครัฐบาล เผยว่า ทางบราซิลจะทำการใช้มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจเป็นการฉุกเฉินในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาด้วยวงเงิน 6.2 หมื่นล้านเหรียญปีนี้ในส่วนของยอดงบดุลพื้นฐาน ที่คิดเป็นมูลค่า 4.7% ของจีดีพีภายในประเทศ
· รัสเซียคาดเศรษฐกิจปีนี้อาจหดตัวลงกว่า 5% และจะทำให้ค่าเงินรูเบิลมีแนวโน้มจะอ่อนค่าต่อในช่วงเกิดการระบาดของไวรัสเช่นนี้ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงดูจะกระทบเศรษฐกิจของประเทศ
· ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา หรือบีโอซี กล่าวว่า ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการใช้ระดับดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ต่อไป จากเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากไวรัสโคโรนา พร้อมคาดจีดีพีไตรมาสที่ 2/2020 จะหดตัวลงไกวา 15% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของไวรัส
· ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจจะทำการสร้างการ “Main Street” แบบที่เฟดทำในรูปแบบของตัวเอง สำหรับโครงการเงินกู้เพื่อเพิ่มช่องทางทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจขนาดเล็ก และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการตัดสินใจดังกล่าวคาดจะเกิดขึ้นในการประชุมฉุกเฉินในวันนี้ ภายใต้ความกังวลที่ว่าญี่ปุ่นยังคงปราศจากการอัดฉีดสินเชื่อครั้งใหญ่เข้าสู่ภาคบริษัท ขณะที่การระบาดของไวรัสจะนำมาซึ่งการล้มละลายของภาคธนาคารและการว่างงานครั้งใหญ่
· ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปีในเดือนเม.ย. ท่ามกลางความอ่อนแอของราคาน้ำมัน และมาตรการ Lockdown ที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวตอกย้ำความเสี่ยงด้านเงินฝืด แนะจับตาการประชุมนโยบายฉุกเฉินของบีโอเจในวันนี้ที่อาจช่วยเหลือสถาบันการเงินในการให้การสนับสนุนภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึเนทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลง, การปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากความหวังที่ว่า อุปสงค์น้ำมันจะฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่รัฐบาลต่างๆผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ราคาน้ำมันดิบร่วงลงในปีนี้ โดย Brent แตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 ปี เคลื่อนไหวต่ำกว่า 16 เหรียญ/บาร์เรลในเดือนเม.ย.จากความต้องการที่ลดลง ด้วยการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นและมีสัญญาณว่าอุปทานล้นตลาด ส่งผลให้น้ำมันดิบ Brentปรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 0.87% ปิดที่ระดับ 36.06 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.28% ที่ระดับ 33.92 เหรียญ/บาร์เรล