· นายโรเบิร์ต โอ’เบรียน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงประจำทำเนียบขาว ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะทำการคว่ำบาตรจีน หากจีนยังคงเดินหน้าใช้กฎหมายความมั่นคงฮ่องกง เพื่อควบคุมเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เนื่องจากร่างดังกล่าวถือเป็นการ Takeover ฮ่องกงโดยสมบูรณ์
ขณะที่นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อาจไม่สามารถรับรองได้ว่าฮ่องกงจะรักษาความเป็นเอกภาพระดับสูงได้ต่อไปหรือไม่ ดังนั้น สหรัฐฯจึงอาจคว่ำบาตรจีนภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยฮ่องกง ฉบับปี 2019
นอกจากนี้ นายโอ’เบรียน ยังกล่าวเตือนว่า ฮ่องกงอาจสูญเสียการเป็นสูญกลางการเงินรายใหญ่ของโลกไปด้วย และยากที่จะเห็นการเป็น Asian Financial Centers หากถูกจีนยึดครองประเทศไป
· จากกรณีที่จีนพิจารณากฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เพื่อควบคุมฮ่องกงมากขึ้น รวมทั้งการห้ามก่อความไม่สงบและห้ามปลุกระดมการแยกตัวจากจีน และอื่นๆนั้นได้ส่งผลให้ล่าสุดมีประชาชนชาวฮ่องกงนับพันรายออกมาเดินประท้วงอีกครั้งในย่าน Causeway Bay และย่านหว่านไจ๋เมื่อวานนี้ ขณะที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม หลังเจรจาไม่สำเร็จ พร้อมถูกขว้างปาสิ่งของใส่จากประชาชน ทำให้ตำรวจประกาศว่าการประท้วงนี้ถือเป็นการประท้วงอย่างผิดกฎหมาย และมีการใช้แก๊สน้ำตายิงสลายกลุ่มผู้ชุมนุม
· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ โดยได้รับอานิสงส์ในฐานะ Safe-Haven ท่ามกลางจีนที่ประกาศกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ที่ดูจะทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนมากขึ้น
ในคืนวันศุกร์ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.4% ที่ 99.789 จุด แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ดอลลาร์ปิดอ่อนค่าลงประมาณ 0.6% ด้านยูโรอ่อนค่าลง 0.5% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ในส่วนของค่าเงินหยวนอ่อนค่าทำต่ำสุดรอบ 2 เดือน ที่ 7.1645 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 8 เดือน
การร่วงลงของราคาน้ำมันเมื่อคืนวันศุกร์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุมาจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับลงไปกว่า 2% เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนานั้นจะช่วยฟื้นอุปสงค์น้ำมันได้หรือไม่
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากการที่จีนไม่ทำการเปิดเผยเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีเป็นครั้งแรก แต่ให้คำมั่นว่าจีนจะเพิ่มงบเพื่อนหนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด
ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 93 เซนต์ หรือ -2.6% ที่ 35.13 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 67 เซนต์ หรือ -2% ที่ 33.25 เหรียญ/บาร์เรล
สำหรับสัปดาห์ที่แล้วน้ำมันดิบ WTI ปิดรายสัปดาห์ได้ +13% ขณะที่ Brent ปิดสัปดาห์ +8%
· นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวว่า โปรแกรม “Main Street” ของเฟดสำหรับการปล่อยเงินกูแก่ภาคธุรกิจรายย่อยและขนาดกลางพร้อมให้ลงทะเบียนในสัปดาห์นี้ และจะเริ่มทำการชำระเงินผ่านกองทุนได้เป็นสัปดาห์แรก ดังนั้น เม็ดเงินน่าจะไหลออกได้ในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้ และเฟดเองก็ยังคงพิจารณาใช้เครื่องมือหลากหลายเพื่อเริ่มชดเชยเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กเผย อัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาในรัฐนิวยอร์กร่วงลงต่ำกว่าระดับ 100 ราย สู่ระดับ 84 ราย ถือเป็นการร่วงลงทำต่ำสุดรายวันนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาดในพื้นที่ตั้งแต่ 24 มี.ค.
ผู้เชี่ยวชาญด้านยารักษาจากหมาวิทยาลัย Emory University แสดงความคาดหวังต่อการศึกษาวัคซีนไวรัสโคโรนา แต่ก็ไม่คิดว่าจะสามารถปล่อยยาฉีดให้สามารถใช้ได้ในปีนี้ เนื่องจากถึงวัคซีน Covid-19 อาจจะเหมือนพร้อมใช้งานและแจกจ่ายได้ช่วงสิ้นปีนี้ แต่ก็ต้องระมัดระวังต่อสิ่งที่คาดไม่ถึงด้วยเช่นกัน เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวทั้งหมดก็ยังไม่ใช่เรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ด้านประเทศไทยก็เริ่มมีการทดสอบวัคซีนในลิง หลังจากที่ค้นพบประสิทธิภาพที่ดีจากการทดลองในหนู พร้อมคาดหวังว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นจากการทดสอบในลิงในช่วงเดือนก.ย.นี้
· ประธานาธิบดีเม็กซิโก กคาด วิกฤตไวรัสจะทำให้สูญเสียตำแหน่งงานถึง 1 ล้านตำแหน่ง
ประธานาธิบดีเม็กซิโกกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาจะทำให้เศรษฐกิจสูญเสียตำแหน่งงานมากถึง 1 ล้านตำแหน่ง เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ถูกตัดสินว่าไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตยังคงปิดทำการ
เศรษฐกิจของเม็กซิโกได้เข้าสู่ภาวะถดถอยก่อนที่จะเกิดวิกฤตไวรัสเสียอีก ขณะที่ทางธนาคารเพื่อการลงทุนในประเทศต่างคาดการณ์ว่าการหดตัวของเศรษฐกิจจะมากถึง 9% สำหรับปีนี้ และจะสามารถฟื้นตัวได้ภายในปีหน้า
· S&P Global Ratings มีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจในแอฟริกาใต้ลงสู่ระดับหดตัว -4.5% ปีนี้ อันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการอุปโภคบริโภค ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินในระยะยาวถูกปรับลงสู่ระดับ BB- จากเดิมที่ระดับ BB
· บราซิลปรับคาดการณ์ยอดขาดดุลและหนี้สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สำหรับปี 2020
รัฐบาลบราซิลประกาศปรับคาดการณ์ยอดขาดดุลสำหรับปี 2020 และระดับหนี้สินของประเทศสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรายได้ของภาครัฐที่มาจากการจ่ายภาษี รวมถึงความจำเป็นต้องใช้มาตรการใช้จ่ายแบบฉุกเฉินท่ามกลางภาวะวิกฤตจากไวรัสโคโรนา
สำหรับคาดการณ์ระดับหนี้สินของประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจคาดว่าระดับหนี้สินทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 93.5% ของ GDP ในปีนี้ จากเดิมที่ 78% ส่วนระดับหนี้สุทธิจะเพิ่มขึ้นเป็น 67.6% ของ GDP
สำหรับมาตรการใช้จ่ายฉุกเฉินที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของภาครัฐ หากมีการใช้ขึ้นมาจริงจะทำให้ยอดขาดดุลของรัฐบาลที่ยังไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างมากสู่ระดับ 6.757 แสนล้านเรอัลบราซิล (1.21 แสนล้านเหรียญ) หรือคิดเป็น 9.4% ของ GDP
ในขณะที่อัตราหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 7.087 แสนล้านเรอัล หรือคิดเป็น 9.9% GDP กรณีที่ประกาศใช้มาตรการฉุกเฉิน
คาดการณ์ดังกล่าวถูกประกาศออกมาหลังจากที่ทางกระทรวงฯเผยรายงานงบประมาณและค่าใช้จ่ายประจำปี ซึ่งรวมถึงยอดขาดดุลหลักของรัฐบาลที่ระดับ 5.405 แสนล้านเรอัล
คาดการณ์ดังกล่าวถือได้ว่ามากกว่าคาดการณ์ยอดขาดดุลเดิมที่ 1.241 แสนล้านเรอัล ถึง 4 เท่าตัว
ขณะที่เศรษฐกิจบราซิลมีแนวโน้มที่จะชะลอการเติบโตลงด้วยอัตราที่สาหัสที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 1900 ขณะที่ภาครัฐคาดว่าอัตรา GDP จะหดตัวลง 4.7% เทียบกับโพลสำรวจของธนาคารกลางกับบรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะหดตัว 5.1%
· นักเศรษฐศาสตร์จีนจาก Hwabao Trust คาดเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวต่อในปีนี้สู่ระดับ 2-3% จากเดิมที่ขยายตัวได้ 6.1% ในปีที่ผ่านมา และเศรษฐกิจจีนจะเติบโตแตะ 3% ได้ก็ต้องมีการจ้างงานเพิ่มกว่า 9 ล้านราย รวมทั้งการขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 4 ล้านล้านหยวน