1. จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,725,275 ราย (+19,049) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 100,579 ราย (+774)
2. จำนวนผู้เชื้อในบราซิลล่าสุดอยู่ที่ 392,360 ราย (+15,691) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 24,549 ราย (+1,027)
3. จำนวนผู้ติดเชื้อในรัสเซียล่าสุดอยู่ที่ 362,342 ราย (+8,915) และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระดับ 3,807 ราย (+174)
สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,045 ราย (+3) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 57 ราย
· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับความเป้นไปได้ในการพบวัคซีนรักษาไวรัสโคโรนา และการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจอีกครั้งที่อาจช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ขณะที่กลุ่มนักลงทุนไม่ได้สนใจต่อประเด็นความตึงเครียดทางการค้ามากนักในเวลานี้ และนั่นทำให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยนั้นลดน้อยลงไป
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.77% ที่ 98.968 จุด หลังจากที่ร่วงลงไปทำอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 1 พ.ค. บริเวณ 98.949 จุด และภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนตัวในกรอบแคบๆตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือนมี.ค.
กลุ่มนักลงทุนมีการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจึงหนุนให้หุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะดัชนี S&P500 ที่ปิดปรับขึ้นเหนือ 3,000 จุดได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ 5 มี.ค. รวมทั้งตลาดสินค้าโภคภัณฑ์บางส่วน
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงมีขึ้น หลังจากที่บริษัท Novavax (โนวาแว็กซ์) ผู้ผลิตยารายใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นอีกหนึ่งบริษัทล่าสุดทีเข้าร่วมการทดลองหาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา และได้เริ่มทดสอบกับมนุษย์เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯออกมาดีขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ แม้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่แล้วจะเริ่มมีการกลับมาเปิดทำการภายในประเทศแล้วก็ตาม จึงยังเป็นปัจจัยตอกย้ำที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังชะลอตัวและได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
· รองประธานอีซีบี ชี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจก่อให้เกิดระดับหนี้ที่พุ่งสูงขึ้น แต่การไม่ทำอะไรเลยอาจก่อให้เกิดผลที่เลวร้ายกว่านี้
ทั้งนี้ บรรดารัฐบาลในประเทศแถบยุโรปมีการผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาและให้ประชาชนยังคงมีงานทำ ขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณถูกคาดว่าจะขยายวงกว้างมากขึ้น และระดับหนี้จะปรับตัวสูงขึ้น โดยหลังสิ้นสุดการระบาดนั้น มีความมั่นใจว่าอัตรา Dept Ration จะพุ่งขึ้น แต่การเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลยอาจส่งผลร้ายมากกว่านี้ เพราะอาจไม่ได้แย่แค่ในช่วงเกิดวิกฤต แต่อาจย่ำแย่ในช่วงเวลาแห่งการฟื้นตัวด้วย
· ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกดูจะไม่สดใส และการรีบาวน์อาจล่าช้าออกไป
ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ส ชี้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ดูมีแนวโน้มจะไม่สดใสอีกครั้งในเดือนที่แล้วท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะส่งผลไปทั่วตั้งแต่เอเชียจนถึงสหรัฐฯ สำหรับภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ในการฟื้นตัว ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 5 คาดเศรษฐกิจจะฟื้นตัวไปในรูปแบบ V-Shaped
· สำนักข่าว Mainichi กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะเพิ่มงบค่าใช้จ่ายโดยตรงมูลค่า 32.5 ล้านล้านเยน (3.02 แสนล้านเหรียญ) ภายใต้งบประมาณพิเศษครั้งที่ 2 เพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโรนา
· ราคาน้ำมันดิบปิดพุ่งกว่า 3% ท่ามกลางความเชื่อมั่นในการปรับลดอุปทานน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดได้รับอานิสงส์จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะทำการปรับลดกำลังการผลิต ท่ามกลางอุปสงค์น้ำมันที่จะฟื้นตัวกลับมาจากการผ่อนคลาย Lockdown
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 64 เซนต์ หรือ +1.8% ที่ระดับ 36.17 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปิดปรับขึ้น 1.1 เหรียญ หรือ +3.3% ที่ระดับ 34.35 เหรียญ/บาร์เรล
หลังจากที่เดือนที่แล้วกลุ่มโอเปกพลัสมีการเห็นพ้องในการปรับลดกำลังการผลิตให้ได้เกือบ 10 ล้านบาร์เรล/วัน ระหว่างเดือนพ.ค. - มิ.ย. จึงช่วยให้ราคาปรับตัวขึ้นและช่วยหนุนอุปสงค์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย กล่าวว่า ณ ที่ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มีการหารือกันถึงความเป็นไปได้ที่จะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตออกไปจากเดือนมิ.ย.
สำนักข่าง RIA news agency กล่าวว่า รัสเซียมีปริมาณการผลิตน้ำมันเกือบแตะเป้าหมายที่ 8.5 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงเดือนพ.ค. - มิ.ย. ขณะที่เมื่อวันจันทร์รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย เผยว่า การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์น้ำมันอาจช่วยลดยอดเกินดุลน้ำมันทั่วโลกได้ประมาณ 7 – 12 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงเดือนมิ.ย. หรือ ก.ค.