• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2563

    27 พฤษภาคม 2563 | SET News
 
  

· ความไม่สงบทางการเมืองครั้งใหม่ในฮ่องกงผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้ แม้ว่าจะมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการกลับมาเปิดทำการอีกครั้งของเศรษฐกิจจะช่วยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลกก็ตาม

ตำรวจฮ่องกงปิดถนนหลายสายในวันนี้ โดยเป็นช่วงเวลาก่อนการนัดประท้วงใหญ่ต่อต้านร่างกฎหมายเพลงชาติจีน และความมั่นคงของจีนที่มีขึ้นเพื่อจำกัดเสรีภาพของประชาชนในฮ่องกง ซึ่งสร้างความกังวลอีกครั้งเกี่ยวกับการประท้วงก่อกวนที่เห็นเมื่อปีที่แล้วที่กระทบต่อเศรษฐกิจ

ดัชนี Hang Seng ร่วงลง 1.0% ด้านดัชนีหลักของจีน CSI300 ลดลง 0.5% ท่ามกลางความกังวลว่าการประท้วงจะยิ่งทำให้ความตึงเครียดทางการทูตและการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนแย่ลง

อย่างไรก็ตาม เหล่านักลงทุนยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.12%

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง ท่ามกลางความตึ่งเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นและการกังวลเกียวกับผลกระทบการจากแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจึงจำกัดความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของเหล่านักลงทุน

โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.7% ที่ระดับ 2,836.80 จุด

ขณะที่เหล่านักลงทุนยังติดตามความเคลื่อนไหวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างใกล้ชิดจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ด้านผลกำไรของภาคบริษัทอุตสาหกรรมประจำเดือนเม.ย.ลดลงอย่างช้าๆ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังคงเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมและปริมาณความต้องการที่อ่อนแอ

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ท่ามกลางหุ้นการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเก็งกำไรระยะสั้นในช่วงบ่ายทำให้ดัชนีดีดตัวขึ้นหลังจากร่วงลงไปในช่วงก่อนหน้านี้

หุ้นการเงินพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ประกันภัยและการธนาคารมีผลการดำเนินงานดีที่สุดในตลาด

ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ระดับ 21,419.23 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา

ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1% ที่ระดับ 1,549.47 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ.

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของสหภาพยุโรป ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้บรรเทาความตึงเคีรยดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนลงไป

โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.4% ด้านหุ้นภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มสุขภาพลดลง 0.5%

ตลาดยุโรปกำลังติดตามแนวโน้มสถานการณ์ในเอเชียตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยนักลงทุนกำลังชั่งน้ำหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีนเพื่อเทียบกับการที่เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งหลังจากการปิดตัวในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

· ดัชนี S&P500 Break Out หรือ Fake Out?

ดัชนี S&P500 สามารถผ่าน 3,000 จุดได้อีกครั้งวานนี้ ถือเป็นการกลับมามีระดับการซื้อขายที่เหนือบริเวณดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 6 มี.ค. แต่ในช่วงปลายตลาดก็จะเห็นได้ว่าดัชนี &SP500 ก็ไม่สามารถรักษาการปรับตัวขึ้นและมีการย่อตัวกลับลงมาอีกครั้

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนจากกรณีฮ่องกง ถือเป็นการสร้างความขัดแย้งกันอย่างต่อเนื่อง โดยที่สหรัฐฯมีการเพิ่มลิสต์รายชื่อหุ้นของจีนในตลาดแลกเปลี่ยนสหรัฐฯเข้าสู่การพิจารณา แต่ภาพรวมยังคงเป็นไปในลักษณะยื้อกันไปยื้อกันมา และจีนก็อาจทำการตอบโต้ด้วยมาตรการต่างๆของทางจีนเอง และความสัมพันธ์ที่บั่นทอนกันระหว่างส 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกก็อาจยิ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นได้ต่อ

ดัชนี S&P500 ยังคงมีตัวช่วยจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเป็นปัจจัยบวก และอาจเห็นความเสี่ยงมากขึ้นได้ ซึ่งกรณีที่ S&P500 จะปรับตัวขึ้นได้ต่ออาจต้องผ่านแนวต้านบริเวณ 3,110 จุด

ในทางกลับกัน หากดัชนีกลับทดสอบแนวรับบริเวณ 2,933 จุด ก็มีโอกาสเห็นราคาปรับตัวลงได้ แม้ว่าภาพรวมทางเทคนิคจะเห็นราคาเป็นขาขึ้นหลังจากที่ Break เหนือ 3,000 จุดได้ก็ตาม และระยะกลางก็ดูมีความเสี่ยงที่จะเห็นดัชนีปรับลงมาแนวรับมากกว่า

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. อยู่ที่ 79.04 หดตัว -17.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 51.87%

ขณะที่ใน 4 เดือนแรกของปี 63 (ม.ค.-เม.ย.) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลง -8.8% อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 63.11%

- ครม.เห็นชอบต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือนจนถึงสิ้นมิ.ย. 63 สมช.หารือวันนี้ ปรับลดเวลาเคอร์ฟิว-ผ่อนปรนเฟส 3

- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้นำเสนอพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินทั้ง 3 ฉบับ วงเงินไม่เกิน 1.9 ล้านล้านบาทให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา โดยระบุถึงความจำเป็นในการเข้าไปช่วยเหลือและดูแลระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้เกิดความเสียหายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทางการแพทย์ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ในส่วนของไทยจึงต้องมีมาตรการรับมือและแก้ปัญหา ทั้งด้านสุขภาพของประชาชน และด้านเศรษฐกิจที่ต้องพบกับภาวะชะงักอย่างฉับพลัน และการหดตัวลงของเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปรับตัวลดลง -1.8% ถือเป็นการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย นับตั้งแต่ไตรมาส 1/57 และส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัวลงตั้งแต่กลางเดือนม.ค.63

อีกทั้งรายได้ประเทศลดลงถึง 9.28 แสนล้านบาท มีคนว่างงานอาจถึงนับล้านคน ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 63 อาจ -5.0 ถึง -6.0% ได้ ส่งผลให้รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มงวด และต้องดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบในทุกมิติ

· อ้างอิงจากสำนักกรุงเทพธุรกิจ

- เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 9 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 3,054 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 57 ราย รักษาหายเพิ่ม 2 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 2,931 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 66 ราย

- รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังศาลรับคำรับร้องขอฟื้นฟูบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ (27 พ.ค.) จะก่อให้เกิดสภาวะพักการชําระหนี้ (Automatic stay) ตามมาตรา 90/12 ทันที โดยมีรายงานเหตุผลที่การบินไทย ยื่นคำร้องขอมีรายละเอียด ดังนี้

บริษัทการบินไทยมีทุนจดทะเบียน 26,989 ล้านบาท หนี้สินรวม 354,494 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 349,636 ล้านบาท มีหนี้ถึงกำหนดชำระ วันที่ 21 พ.ค.2563 รวม 10,200 ล้าน ซึ่งลูกหนี้อยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เหตุที่ศาลควรพิจารณาให้ฟื้นฟูกิจการ คือ ธุรกิจการบินไทยมีพื้นฐานดี มีการประกอบธุรกิจมานาน เเละยังได้รับรางวัลต่อเนื่อง รวมทั้งมีธุรกิจอื่นช่วยสร้างรายได้ Cargo, Ground service, Catering

ปัญหาหนี้สินเกิดจากภาพรวมอุตสาหกรรมในและต่างประเทศ มีการแข่งขันสูง, สถานการณ์ของโรคโควิด 19 ที่กระทบธุรกิจการบิน ,การบินไทยปรับตัวไม่ทันกับสถานการณ์เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับหากไม่ได้ฟื้นฟูจะเสียหายต่อ เจ้าหนี้,ลูกหนี้ ,พนักงานเเละเศรษฐกิจของประเทศชาติ

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com