• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2563

    28 พฤษภาคม 2563 | Economic News

·         ค่าเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากแผนกองทุนฟื้นฟูประเทศของอียูในวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร ในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ 1.1016 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ช่วงต้นตลาดไปทำสูงสุดรอบ 2 เดือนบริเวณ 1.1035 ดอลลาร์/ยูโร

ด้านดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 98.93 จุด ท่ามกลางตลาดที่ยังคงจับตาความตึงเครียดการค้าสหรัฐฯ-จีน ขณะเดียวกันก็จะมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางเศรษฐกิจในหลายๆประเทศกลับมาเปิดทำการ

แหล่งข่าววงใน เผยว่า สหรัฐฯกำลังร่างกรอบทางเลือกในการลงโทษจีนต่อกรณีความเข้มงวดต่อฮ่องกง ที่ประกอบไปด้วยการคว่ำบาตร, การขึ้นภาษี และข้อจำกัดต่อบริษัทจีน



·         ชาวอเมริกันหลายล้านรายยังคงยื่นสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ แม้ว่าหลายรัฐเริ่มจะเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาแล้วก็ตาม

โดยข้อมูลของ Bloomberg ระบุว่า เหล่านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ชาวอเมริกันอีก 2.1 ล้านราย ยื่นเรื่องประกันการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา

ซึ่งนั่นจะเป็นการปรับลดลงจาก 2.4 ล้านรายที่ยื่นขอรับสวัสดิการการว่างงานในสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ก็ยังคงมีอัตราว่างงานที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ทั้งนี้ การประกาศข้อมูลจะประกาศในช่วงคืนนี้เวลา 19.30น. ตามเวลาประเทศไทย

 

·         รายงาน Beige Book ของเฟด เผยว่า ภาคธรุกิจในสหรัฐฯยังคงดิ่งลงต่อเนื่อง ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. และมีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวแม้จะมีสัญญาณบางส่วนก็ตาม โดยการดิ่งลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจคาดจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ก็เป็นผลกระทบในเชิงลึก ท่ามกลางยอดผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯที่แตะ 100,000 ราย

ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ปรับตัวลงทั่วทุกพื้นที่โดยมาก แม้ว่าจะมีสัญญาณความหวังที่ดีจากการกลับมาเปิดทำการในภาคธุรกิจก็ตาม แต่ภาพรวมก็ยังมีแนวโน้มความไม่แน่นอนในรัดบสูง และนั่นเป็นสัญญาณกดดันต่อโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

·         ประธานเฟดนิวยอร์กชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจรีบาวน์ได้ในครึ่งปีหลัง แต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่

นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจอาจดิ่งลงในช่วงเดือนพ.ค. หรือ มิ.ย. แต่หลังจากนั้นในช่วงครึ่งปีหลังจะมีทิศทางที่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ความไม่แน่นอนก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ นายวิลเลียม ยังกล่าวถึงมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ของเฟด ที่จะใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ประกอบกันทั้งทาง 
Social Media และข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางหรือมุมมองของชาวอเมริกัน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการกำหนดทิศทางการประชุมเฟดเดือนมิ.ย.

อย่างไรก็ดี การระบาดของไวรัสโคโรนาถือเป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่ออุปสงค์และคาดว่าเงินเฟ้อก็จะยังคงอยู่ระดับต่ำต่อไปจนปีหน้า

 

·         ประธานเฟดเซนต์หลุยส์ ชี้ ผลกระทบภาคธุรกิจยังมีระดับสูง ขณะที่หลายๆที่เริ่มปรับตัวในการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง

นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ มองว่า ในเดือนที่แล้วค่อนข้างย่ำแย่มากๆ  และภาคธุรกิจก็ค่อยๆเริ่มเรียนรู้ที่จะจัดการกับสภาวะใหม่ตามความเป็นจริงในการดำเนินการภาคธุรกิจท่ามกลางความกังวลในเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังมีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร,โรงแรม และบริษัทสัญญารายใหญ่ต่างๆ ที่ดูจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ก็ดูจะกำลังปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น ในลักษณะที่เริ่มต้น และคาดว่ากระบวนการทั้งหมดน่าจะเริ่มต้นได้ในอีก 120 วันจากนี้

อย่างไรก็ดี การเรียนรู้เรื่องข้อแตกต่างในภาคธุกิจจะช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภค รวมทั้งความเชื่อมั่นแรงงานด้วยเช่นกัน

 

·         ลาการ์ด เผย เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลงระหว่าง 8% และ 12ในปีนี้
นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มจะหดตัวลงระหว่าง 8% - 12% ในปีนี้ ท่ามกลางผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นหลัก

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศส แสดงความคาดหวังว่าอียูจะสามารถบรรลุข้อตกลงแผน 7.5 แสนล้านยูโร หรือ 8.261 แสนล้านเหรียญในแพ็คเกจการฟื้นฟูประเทศในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ซึ่งการพิมพ์พันธบัตรและการอัดฉีดเม็ดเงินจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือกองทุนฟื้นฟูครั้งใหญ่ที่เป็นการร่วมมือกันของชาติยุโรปครั้งแรก ที่อาจจะก่อให้เกิดระบบการจัดการหนี้และภาษีตามมา

 

·         สถาบันสถิติเยอรมนีหรือ Ifo เผย เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มจะหดตัวลงไป -6.6ในปีนี้จากวิกฤตไวรัสโคโรนา ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวบริเวณ 10.2% ได้ในปี 2021

ขณะที่ภาพรวมช่วงไตรมาส 2/2020 คาดเศรษฐกิจเยอรมนีปีนี้อาจหดดตัวลงไปถึง -12.4%

 

·         เจ้าหน้าที่ BoE มองการความเสี่ยงทางการฟื้นตัวจะใช้เวลานานและลำบาก

หนึ่งในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีความเสี่ยงจะใช้เวลานานในการฟื้นตัวจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา และความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดเดาได้ในทิศทางขาลงที่ดูจะใช้เวลานาน และฟื้นตัวได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ ความเป็นไปได้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอาจเป็นไปได้อย่างจำกัด และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกลุ่มภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างๆที่ยังมีการใช้มาตรการ Social Distancing อยู่แม้จะมีการคลายมาตรการ

ทั้งนี้ BoE เคยคาดว่าเศรษฐกิจระหว่างเดือนมี.ค. - มิ.ย. อาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 300 ปี แต่ก็จะสามารถฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปีหน้า

 

·         จีนอนุมัติกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง

รัฐสภาจีนทำการอนุมัติกฎหมายข้อกำหนดด้านความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ซึ่งดูจะเป็นการปูทางให้เกิดกฎหมายฉบับสุดท้ายเป็นรูปเป็นร่างที่จะมีผลต่อฮ่องกง

แม้จะยังขาดแคลนรายละเอียดของกฏหมายฉบับนี้ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นที่ทราบกันว่า กฎหมายดังกล่าวมีเป้าหมายต่อกลุ่มต่อต้านที่ต้องการโค่นล้มอำนาจการจัดการกับกลุ่มก่อการร้าย และการแทรกแซงจากต่างประเทศ

 

สิ่งที่ฮ่องกงจะเผชิญหากสูญเสียสถานะพิเศษในสหรัฐฯ

1. ผลกระทบต่อการทำการค้าระหว่างสหรัฐฯกับฮ่องกง

การค้าฮ่องกงกับสหรัฐฯอาจได้รับความเจ็บปวดละได้รับผลกระทบหากมีการขึ้นภาษีอีก โดยอ้างอิงรายงานจาก USTR พบว่า สินค้าและภาคบริการของสหรัฐฯกับฮ่องกงมียอดรวมมูลค่ากว่า 6.6 หมื่นล้านเหรียญในปี 2018  ซึ่งสหรัฐฯมีการส่งออกไปยังฮ่องกงคิดเป็นมูลค่า 5.01 หมื่นล้านเหรียญ ขณะที่มีการนำเข้าจากฮ่องกงที่ 1.68 หมื่นล้านเหรียญ

ทั้งนี้ สินค้ายอดนำเข้าที่ดีที่สุดจากฮ่องกง คือ กลุ่มเครื่องจักรและพลาสติก ขณะที่ฮ่องกงถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ลำดับที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่สหรัฐฯส่งออกไวน์ และเป็นตลาดใหญ่ลำดับที่ 4 ที่สหรัฐฯส่งออกเนื้อวัว และเป็นตลาดใหญ่ลำดับที่ 7 ของสหรัฐฯในกลุ่มสินค้าการเกษตร

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics มองว่า ความเสี่ยงครั้งใหญ่คือการที่ฮ่องกงสูญเสียสถานะพิเศษ อันจะนำไปสู่การที่สหรัฐฯจำกัดยอดขายต่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีไปยังฮ่องกงได้ ซึ่งหลายๆสินค้าเป็นที่รู้กันดีว่าใช้ได้จากสหรัฐฯเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และกลุ่มสินค้าเหล่านี้คิดเป็น 5ของยอดนำเข้าของฮ่องกง  และการถูกถอนสถานะพิเศษจะทำให้ฮ่องกงได้รับผลกระทบทั้งภาคธุรกิจท้องถิ่น รวมทั้งธุรกิจที่ดำเนินการในจีน


2. บริษัทสหรัฐฯและฮ่องต่างก็เผชิญกับผลกระทบ

บริษัทสัญชาติสหรัฐฯกว่า 1,300 รายในฮ่องกง ประกอบกับชาวอเมริกาที่อาศัยในฮ่องกงมีอยู่ประมาณ 85,000 ราย และการถูกถอนจะทำให้ภาคธุรกิจกลุ่มดังกล่าวได้รับผลกระทบทั้งต่อบริษัทสหรัฐฯเอง และการลงทุนในฮ่องกง

ขณะที่ปัจจุบันชาวสหรัฐฯก็พึงพอใจต่อการเดินทางโดยไม่ต้องขอวีซาไปยังดินแดนของจีน แต่การเผชิญกับข้อบังคับก็อาจทำให้เกิดความตึงเครียดที่รุนแรงมากขึ้น

นักวิเคราะห์จาก Catril of National Australia Bank กล่าวว่า การตัดสินใจของนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เปิดกว้างต่อความเป็นไปได้ที่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากฮ่องกง การออกกฎวีซา หรือแม้แต่การแช่แข็งหรือสั่งระงับสินทรัพย์ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูง ก็จะเห็นได้ถึงจีนที่กล่าวเตือนว่าจะดำเนินการตอบโต้เช่นกัน

 

3. ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อฮ่องกงในเรื่องสถานะทางการค้าทั่วโลก

แม้ว่าจะถูกถอนจากสถานะพิเศษในสหรัฐฯแต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการค้าในนานาประเทศ โดยที่ฮ่องกงดูจะยังได้รับการคุ้มครองจากองค์การการค้าโลก (WTO) รวมไปถึงสถาบันต่างๆ เช่น IMF และ World Bank

และเป็นที่แน่นอนว่า WTO ก็ไม่น่าจะขัดขวางการตัดสินใจของสหรัฐฯในการขึ้นภาษีฮ่องกง

 

·         น้ำมันร่วงหลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯพุ่ง กดดันความหวังอุปสงค์ฟื้น

ราคาน้ำมันดิบร่วงลงต่อในวันนี้ หลังจากที่ภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ หรือ API เผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯออกมาพุ่งขึ้นเกินคาดแตะ 8.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อเทียบกับคาดการณ์ที่คาดจะลดลงไป 1.9 ล้านบาร์เรล จึงกดดันความหวังที่ว่าจะเห็นอุปสงค์น้ำมันฟื้นตัวจากที่นานาประเทศคลาย Lockdown

ขณะที่กลุ่มโอเปกจะมีการจัดประชุมร่วมกับชาติสมาชิกนอกโอเปกในวันที่ 9 มิ.ย.นี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 3% หรือประมาณ 98 เซนต์ ที่ 31.83 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันมีการปรับตัวลงมากถึง 5ทำต่ำสุดที่ 31.14 เหรียญ/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 2หรือประมาณ 71 เซนต์ ที่ 34.03 เหรียญ/บาร์เรล หลังระหว่างวันทำ Low ที่ 33.63 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com