รายงานประจำปี In Gold We Trust Report ที่เปิดเผยเมื่อวานนี้โดย Incrementum AG กล่าวว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มจะขยับใกล้ 5,000 เหรียญได้ในช่วง 10 ปี และมีความเป็นไปได้ที่อาจเห็นราคาขึ้นไปแถว 9,000 เหรียญในปี 2030 ซึ่งความแตกต่างของระดับราคาที่ไปถึง 5,000 เหรียญ หรือ 9,000 เหรียญได้นั้น มาจากสถานการณ์ระดับหนี้ทั่วโลกควบคู่กับเรื่องของเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ จากรูปแบบโมเดลทิศทางทองช่วง 10 ปี ชี้มีโอกาสเห็นทองคำอยู่ที่ 4,800 เหรียญ และเมื่อประเมินจากทิศทางในปี 2030 ในเรื่องการเติบโตของอุปทานทางการเงินก็ดูจะคล้ายกับรูปแบบเงินเฟ้อที่เคยเกิดขึ้นในปี 1970 ดังนั้น ถ้าเป็นรูปแบบนี้ก็อาจเห็นทองไปแตะ 8,900 เหรียญได้
อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นๆ ราคาอาจสร้างความประหลาดใจด้วยการปรับตัวลง และอาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนรอเข้าซื้อ
ในระยะยาว จากรายงานจะเห็นว่าราคามีการทำ All-Time Highs ใหม่อยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ทองคำในรูปดอลลาร์จึงมีโอกาสเห็นแตะ 1,920 เหรียญได้ และเมื่อแตะระดับดังกล่าวจะหมายถึงการเห็นราคาขึ้นไปเหนือ 2,215 เหรียญได้
Incrementum AG ยังเผยอีกว่า รูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกจากการที่เริ่มกลับมาเปิดทำการหลังเผชิญวิกฤตโคโรนาในเวลานี้จะเป็นรูปแบบ V-Shape และการปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติก็ดูจะไม่ง่ายนัก ท่ามกลางปัญหาที่น่าหวั่นวิตกในเรื่องการจัดงานเงินเฟ้อและระดับหนี้สิน
โดยในรายงาน ระบุถึงการที่รัฐบาลต่างๆและธนาคารกลางทั่วโลกนั้นหาวิธีที่จะต่อสู้กับพิษเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกปลอดภัยด้วยทุกวิธีทางที่ทำได้ แต่ระดับหนี้สินก็ดูจะเข้าคุกคามต่อผลดีที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
ดังนั้น หลังพ้นการระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกก็จะเผชิญกับวิกฤตหนี้สิน
ความกังวล “เงินเฟ้อ” ก็จะเริ่มต้นตามมา และเมื่อเห็นเงินเฟ้อมากเท่าไหร่ก็จะเห็นการปรับรูปแบบการลงทุนตามมาในปีหน้า และบรรดาธนาคารกลางก็จะเผชิญกับปัญหาการจัดการเงินเฟ้อในอนาคตและระดับหนี้สินที่มากเกินไปทำให้ไม่สามารถจัดการกับเงินเฟ้อได้ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย
ทั้งหมดนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับทองคำ เนื่องจะหมายถึงอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ต้องอยู่ระดับติดลบต่อไปเป็นเวลานาน ขณะที่หุ้นซิลเวอร์และกลุ่มเหมืองก็ดูจะได้รับอานิสงส์จากประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน
ทองคำยังมีโอกาสนำหน้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในพอร์ตการลงุทนได้ด้วยจากระดับหนี้ที่นำไปสู่ความไม่แน่นอนในการถือครองพันธบัตรหรือตราสารหนี้ว่าจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยได้ดีหรือเปล่า ดังนั้น การเลือกถือครองดูจะตอบโจทย์กับความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า