- ที่ประชุมเฟดมีมติคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ยังอยู่ใกล้ระดับต่ำ 0% ต่อไป โดยกรอบปัจจุบันอยู่ที่ 0-0.25%
- เฟดจะยังคงการเข้าซื้อพันธบัตรต่อไป โดยมีเป้าหมายที่ 8 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน และ 4 หมื่นล้านเหรียญในกลุ่มตราสารการเงิน MBS (Mortgage-Backed Securities)
- สำหรับทิศทางเศรษฐกิจ เฟดคาดจีดีพีจะร่วงลงสู่ระดับ -6.5% ในปีนี้ แต่จะรีบาวน์กลับได้แตะ 5% ในปี 2021 และโตที่ 3.5% ในปี 2020 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เป็นไปในเชิงที่ดีในระยะยาว
ทั้งนี้ ที่ประชุมเฟดมีการหารือกันในช่วงที่สหรัฐฯกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ และอัตราว่างงานรายเดือนที่ออกมาแย่ลงมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ หลังจากที่ทาง NBER มีการประกาศถึงภาวะเศรษฐกิจได้เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยนับตั้งแต่เดือนก.พ. และเป็นการยุติการขยายตัวที่ยาวนานที่สุดครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ประธานเฟดได้ให้คำมั่นว่าจะเดินหน้าสนับสนุนทางเศรษฐกิจต่อไป พร้อมกับมีการกล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเผชิญกับระยะเวลาการฟื้นตัวที่นานขึ้น ดังนั้นเฟดจึงจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปในอนาคต แต่คาดว่าจะเริ่มต้นเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ จนถึง 2-3 ปีข้างหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการที่เฟดตรึงดอกเบี้ยระดับต่ำ
อย่างไรก็ดี Fed Dot Plot สะท้อนว่าไม่มีสมาชิกเฟดคนใดเห็นสมควรในการขึ้นดอกเบี้ยปีนี้หรือปี 2021 ขณะที่ปี 2022 สมาชิกเฟดส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าการใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเรื่องที่สมควร
คาดการณ์เฟดปนี้ และช่วง 2 ปีข้างหน้าประกอบกับ Long Run มีดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย: ปีนี้ถึงปี 2020 จะอยู่ที่ 0-0.25% แต่ระยะยาวคาดเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5%
2. จีดีพีสหรัฐฯ: ปีนี้คาด -6.5%, ปี 2021 คาดอยู่ที่ 5%, ปี 2022 คาดโต 3.5% สำหรับระยะยาวคาดอยู่ที่ 1.8%
3. อัตราว่างงาน: ปีนี้คาดอยู่ที่ 9.3%, ปี 2021 คาดอยู่ที่ 6.5% และ ปี 2020 คาดอยู่ที่ 5.5% ก่อนจะกลับมาแถว 4.1% สำหรับระยะยาว
4. เงินเฟ้อ: ปีนี้คาดอยู่ที่ 0.8%, ปีหน้าที่ 1.6% และปี 2022 ที่ 1.7% สำหรับระยะยาวคาดขยายตัวขึ้นตามเป้า 2%
5. Core Inflation: คาดปีนี้อยู่ที่ 1%, ปีหน้า 1.5% และปี 2022 ที่ 1.7%
· “แลรี่ คุดโลว์” ที่ปรึกษาทรัมป์ ชี้เศรษฐกิจเข้าสู่จุดต่ำสุดแล้ว
นายแลรี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายทรัมป์ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯปรากฎถึงการทำต่ำสุดแล้วในช่วงการระบาดอขงไวรัสโคโรนา และมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะในหลายๆพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนว่างงานที่อยู่ค่อนข้างสูง ขณะที่โครงการจ่ายเช็ค PPP สำหรับภาคธุรกิจขนาดเล็กนั้นจะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินโดยตรงตั้งแต่เดือนพ.ค. เพื่อช่วยฟื้นฟูภาคแรงงาน ขณะที่มีประชาชนส่วนหนึ่งที่จะกลับเข้าทำงานในเดือนมิ.ย. หลังการผ่อนปรน Lockdown
· ดอลลาร์อ่อนค่าทำต่ำสุดรอบ 3 เดือน หลังเฟดผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อ
ดอลลาร์อ่อนค่า และมีการทำระดับต่ำสุดใหม่รอบ 3 เดือนหลังจากที่เฟดยังคงนโยบายต่อไปตามคาด พร้อมให้คำมั่นที่จะยังเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ เฟดไม่ได้มีการให้รายละเอียดถึงมาตรการเพิ่มเติมในการจำกัดการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอย่างที่บางส่วนคาดการณ์ไว้ ซึ่งประธานเฟด กล่าวเพียงว่า เฟดมีการหารือในเรื่องการควบคุม Yield Curve แต่ประสิทธิผลในการดำเนินการดังกล่าวก็คงมีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้อยู่
ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงทำระดับต่ำสุดรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบค่าเงินยูโร, ปอนด์ และสวิสฟรังก์ หลังทราบถ้อยแถลงเฟด รวมทั้งอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินเยน
แม้เฟดจะยังเดินหน้าคงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนไว้ แต่คาดการณ์เศรษฐกิจเฟดก็สะท้อนถึงภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในรูปแบบ V-Shaped และนั่นส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์นั้นอ่อนค่าลง โดยดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.4% ที่ 95.882 จุด หลังจากที่ร่วงลงไปทำต่ำสุดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. ที่ระดับ 95.714 จุด
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะ 1.1422 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าแตะ 1.2812 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 3 เดือน
ค่าเงินเยนแข็งค่าในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 106.99 เยน/ดอลลาร์ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 107.08 เยน/ดอลลาร์
· เงินเฟ้อสหรัฐฯชะลอตัวจากเหตุเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนพ.ค. และยังย้ำถึงสภาวะที่เงินเฟ้อจะยังอ่อนตัวจากความอ่อนแอทางด้านอุปสงค์ของสินค้าและการบริการที่เผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ดัชนี CPI ปรับลง -0.1% ในเดือนที่แล้ว หลังจากที่ร่วงลง -0.8% ในเดือนเม.ย. ที่ถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2008
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาการเพิ่มการจ่ายเงินโดยตรงสำหรับมาตรการเยียวยาไวรัสโคโรนาฉบับต่อไป
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า เขากำลังมีการพิจารณาอย่างจริงจังในเรื่องการเพิ่มการจ่ายเงินโดยตรงให้แก่นิติบุคคลสำหรับเฟสต่อไปของกฎหมายการช่วยเหลือประชาชนในวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยกองทุนดังกล่าวอาจมีการมุ่งเน้นช่วยเหลือหน่วยงานที่ชะลอการกลับมาเปิดทำการ อันประกอบด้วย ภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว
· รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ชี้ ไม่พบการระบาดของไวรัสโคโรนาในกลุ่มผู้ประท้วง
นายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า ไม่พบสัญญาณการติดเชื้อใดๆเพิ่มจากเหตุประท้วงในช่วง 2 สัปดาห์นี้
· ดัชนีราคาผู้ผลิตจีนร่วงลงเดือนพ.ค. จากไวรัสกระทบอุปสงค์โลก
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน (PPI) ได้รับผลกระทบจากความต้องการทั่วโลกที่อ่อนแอในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยล่าสุดอยู่ที่ -3.7% ซึ่งถือว่าลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ -3.3%
นักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics กล่าวว่า หลังทราบรายงานล่าสุดก็มีแนวโน้มที่จะเห็นบรรดาผู้กำหนดนโยบายทางการเงินให้การสนับสนุนเศรษฐกิจเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
· น้ำมันขึ้นแม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯจะปรับขึ้นตอกย้ำความกังวลนักลงทุน
ราคาน้ำมันรีบาวน์จากที่ปรับตัวลงในช่วงต้นตลาดวานนี้ แม้ว่าข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯของ EIA จะออกมาเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุดอยู่ที่ 538.1 ล้านบาร์เรล และทำให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบกับอุปสงค์น้ำมัน
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 55 เซนต์ ที่ 41.73 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 66 เซนต์ ที่ 39.60 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 2% ในวันก่อน