· ดอลลาร์, เยน แข็งค่า จากมุมมองเฟดและแรงขายในตลาดหุ้น
ค่าเงินดอลลาร์, เงินเยน และสวิสฟรังก์ ปรับแข็งค่าขึ้นในฐานะ Safe-Haven หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯร่วงลงจากนักลงทุนที่ลดความคาดหวังจะเห็นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้จากการเผชิญวิกฤตไวรัสโคโรนา รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อครั้งใหม่ หลังจากที่ทั่วโลกกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าทำสูงสุดรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินสวิสฟรังก์ปรับขึ้นทำสูงสุดในรอบ 3 เดือน
ทั้งนี้ สหรัฐฯพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ปรับตัวลดลงไป 5 สัปดาห์ โดยส่วนหนึ่งมาจากผลการตรวจสอบหาเชื้อ ที่พบว่ามีอัตราการติดเชื้อมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในวันที่ 5 มิ.ย. แตะ 545,690 รายในช่วงรายวัน
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.3% ที่ระดับ 106.84 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 เดือน ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.5% ที่ 96.681 จุด และยูโรอ่อนค่าลง 0.5% ที่ 1.1314 ดอลลาร์/ยูโร
· “มนูชิน” รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ชี้ ไม่สามารถทำการ Shutdown เศรษฐกิจได้อีกครั้ง
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว CNBC โดยระบุว่า การ Shutdown ทางเศรษฐกิจครั้งที่ 2 เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาไม่ใช่ทางเลือกที่จะนำมาใช้ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความวุ่นวายให้แก่ชาวอเมริกา
ถ้อยแถลงของเขามีขึ้นหลังจากที่ตลาดสหรัฐฯ เริ่มมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการระบาดรอบที่ 2 ในสหรัฐฯ โดยสำนักข่าว AP มีรายงานว่า รัฐเท็กซัส เผยว่าในช่วง 3 วันพบยอดผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลมากขึ้น ขณะที่อีก 9 พื้นที่ในรัฐแคลิฟอร์เนียก็มีรายงานว่าพบยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
· ระดับหนี้โดยรวมของสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นแตะ 55.9 ล้านล้านเหรียญ ท่ามกลางการกู้ยืมครั้งใหญ่ในภาคบริษัทและรัฐบาล
ข้อมูลของเฟด แสดงให้เห็นถึงระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับภาพรวมยอดครัวเรือนดิ่งลงเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ Nonfinancial Debt ในประเทศพบว่าพุ่งสูงขึ้นถึง 11.7% แตะ 55.9 ล้านล้านเหรียญ หลังจากที่ระดับหนี้เพิ่มขึ้นมา 3.2% ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว
· จำนวนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นน้อยลงแตะ 1.54 รายในช่วงต้นเดือนมิ.ย. แต่ภาพรวมก็ยังมีว่างงานที่สูงอยู่
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสัปดาห์ที่แล้วออกมาน้อยกว่าคาดการณ์ โดยล่าสุดอยู่ที่ 1.54 ล้านราย จากช่วงสิ้นเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านราย ถึงจะปรับตัวลงแต่ภาวะดังกล่าวก็ยังสะท้อนว่าเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
· นายกอังกฤษ, เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียู นัดเจรจา 15 มิ.ย.
นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายชาร์ล ไมเคิล ผู้นำประธานฝ่ายอียู และนายเออซูลา วง เดอร์ เลอยอง หัวหน้าคณะกรรมาธิการอียู จะเข้าพบกันในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ เพื่อทำการเจรจาต่อถึงความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างอียูและอังกฤษ
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง 8% ท่ามกลางความกังวลอุปสงค์พลังงาน
ราคาน้ำมันดิบร่วงลงไป 8% วานนี้ จากความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมัน ท่ามกลางการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯก็ยังอยู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์
น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 3.26 เหรียญ หรือ -8.2% ที่ 36.34 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ Brent ปิดลดลง 3.18 เหรียญ หรือ -7.6% ที่ 38.55 เหรียญ/บาร์เรล โดยน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดต่างทำระดับรายวันที่ย่ำแย่ที่สุดตั้งแต่ 21 และ 27 เม.ย.
รายงานในวันพุธพบว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯพุ่งทะลุ 2 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ดูจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่ปรับลดลงไปในช่วง 5 สัปดาห์ ท่ามกลางการขาดอุปสงค์ด้านพลังงาน โดยการอุปโภคบริโภคกลุ่มพลังงานยังคงอยู่ต่ำกว่า 20% เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคยังมีความระมัดระวังต่อสถานการณ์ต่างๆในเวลานี้ ทางด้านเฟดเองก็แสดงความกังวลว่าภาวะนี้จะยังดำเนินต่อไป และทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่เข้ามาจำกัดอุปสงค์น้ำมัน
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 7,583,891
Ø จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 423,081 ราย
Ø จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 2,089,684 ราย (+23,283) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 116,029 ราย (+899)
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในบราซิลล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 805,649 ราย (+30,465) ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 41,058 ราย (+1,261)
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในรัสเซียอยู่ที่ระดับ 502,436 ราย (+8,779) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 6,532 ราย (+174)
Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,125 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 58 ราย