· ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับขึ้นจากเฟด และการคลายกังวล Second Wave
ตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัวขึ้นควบคู่กับดัชนีดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง จากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหลังเฟดสนับสนุนโครงการเข้าซื้อหุ้นกู้และพันธบัตร ประกอบกับตลาดคลายกังวลเรื่อง Second Wave หลังผู้ติดเชื้อไวรัสคโรนามีจำนวนลดน้อยลง
การฟื้นตัวดังกล่าว ได้ส่งผลต่อดัชนีหุ้นสหรัฐฯฟิวเจอร์สทด้วย โดย E-Mini S&P500 ปรับตัวขึ้น 1.6% ตามการปิดแดนบวกในวันก่อนหน้า
เฟดกล่าวถึงการจะเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐฯเพิ่มในวันนี้ผ่านตลาด Seondary Market ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
จำนวนสภาพคล่องที่เพิ่มมากขึ้นและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่กับการกลับมาเปิดทำการในประเทศ และเศรษฐกิจท้องถิ่นดูจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่หนุนให้ตลาดหุ้นปรับขึ้นตั้งแต่ที่ปรับลงนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค.
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปรับขึ้น 3.2% ซึ่งเป็นระดับการเพิ่มขึ้นรายวันที่มากที่สุดตั้งแต่ 25 มี.ค. ขณะที่ดัชนี Australia ปรับขึ้น 4.4% และหุ้นในจีนปรับขึ้น 1.2%
ความเชื่อมั่นในตลาดเอเชียฟื้นตัวจากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในกรุงปักกิ่งลดจำนวนลงสู่ 27 ราย จากวันก่อนหน้าที่พบผู้ติดเชื้อใหม่ 36 ราย ท่ามกลางปักกิ่งที่จำกัดการเดินทางออกนอกพื้นที่เป็นประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาเพิ่ม
แต่นักลงทุนบางส่วนก็ยังคงดูจะไม่สบายใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นที่เพิ่มขึ้นในเวลานี้
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 3 เดือน หลังจากที่เฟดและบีโอเจเสนอมาตรการต่างๆเพื่อสนับสนุนบริษัทการเงิน
ท่ามกลางความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนที่ได้รับแรงหนุนจากรายงานจาก Bloomberg ที่ระบุว่า ทีมบริหารทรัมป์กำลังเตรียมแผนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านเหรียญ อันเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้ผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 4.88% ที่ระดับ 22,582.21 จุด ซึ่งเป็นภาพรวมรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น 2% ตามการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติม
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นท่ามกลางนักลงทุนที่ตอบรับกับการประกาศครั้งล่าสุดของเฟด และนักลงทุนจับตาดูท่าทีการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก โดยดัชนี Stoxx600 ปรับขึ้น 2.1% ท่ามกลางหุ้นที่พักและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 4.7%และหุ้นหลักส่วนใหญ่เคลื่อนไหวแดนบวก
วันนี้กลุ่มนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการประกาศของธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะหลังจากที่เฟดประกาศมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมที่ช่วยหนุนตลาดไปวานนนี้
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้คาดอยู่ในกรอบ 30.75-31.20 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือนในสัปดาห์ก่อนเพราะมีแรงเทขายเงินดอลลาร์ในตลาดโลกและการเร่งขายเพื่อลดการขาดทุน ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,200 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 8,200 ล้านบาท
- ศบค.แถลงประเทศไทย ไม่มีโควิด 3 สัปดาห์ต่อเนื่อง จับตาคนไทยเดินทางกลับอีกหลายล็อต นายกฯ เผยเฟสแรกเปิดประเทศเล็งจับคู่ท่องเที่ยวให้ปลอดภัย ในรูปแบบ "ทราเวล บับเบิล" แบบจำกัดพื้นที่-จำนวนนักท่องเที่ยว "อนุทิน" เผยอยู่ระหว่างถกทูต4 ประเทศ ประธานหอการค้าหวั่นเลื่อนแผนจับคู่ ยังหวังกระทบช่วงสั้น หลังทางการจีนประกาศกฎอัยการศึกสกัดการติดเชื้อรอบใหม่
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
THCOM กลับสู่เกมธุรกิจอีกครั้ง หลังหลุดวงโคจรไปนาน!
นอกจาก THCOM จะบวกแรงสวนตลาดในวันที่แดงฉานแล้ว ยังขึ้นไปแตะซิลลิ่งสนิท ราวกับต้องการเย้ยหยันผู้ที่สบประมาทหุ้นตัวนี้เอาไว้ก่อนหน้า สาเหตุก็คือ กสทช.เตรียมเปิดเสรีดาวเทียม และคาดจะเปิดประมูลปลายปีนี้ แม้จะยังต้องติดตามวิธีการให้ใบอนุญาต การกำหนดราคาขั้นต้น โครงสร้างการประมูล รวมถึงความรุนแรงของการแข่งขัน แต่ก็ถือเป็นโอกาสอยู่รอดของ THCOM ที่โคจรมาถึงพอดี ... แต่ระยะสั้นคงไม่สามารถทำให้บริษัทกลับมามีกำไรได้!
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเคาะมาตรการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวไทย ในการจัดทำแพ็คเกจ “เที่ยวปันสุข-เราไปเที่ยว” โดยให้มาตรการนี้ผ่านฉลุย หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงการคลังได้นำเสนอเข้าที่ประชุมในวันนี้ โดยมีรายละเอียดระบุว่า
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแนวทางมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงการคลังเสนอเข้าที่ประชุมให้จัดทำโครงการมอบส่วนลดเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ
ทั้งนี้ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว คาดว่าจะประกอบด้วย 3 แพ็คเกจ ซึ่งแบ่งเป็น แพ็คเกจสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และ แพ็คเกจสำหรับประชนทั่วไป เป็นระยะเวลา 4 เดือนตั้งแต่ กรกฎาคม-ตุลาคม 2563