· S&P500 ปิดปรับตัวลดลงจากกังวลการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหม่
ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ ที่ดูจะเป็นปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ จึงลดมุมมองความหวังของนักลงทุนที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ดัชนี S&P500 ปิด -0.36% ที่ 3,113.49 จุด ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปิด -170.37 จุด หรือ -0.65% ที่ 26,119.61 จุด ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิด +0.15% ที่ 9,910.53 จุด
ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดครั้งใหม่เพิ่มขึ้นก่อนหน้าที่นายทรัมป์จะทำการกลับมาหาเสียงอีกครั้ง ขณะที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดในวันที่ 2 ก็ยังคงให้คำมั่นที่ว่าเฟดจะใช้เครื่องมือทุกเครื่องมืออย่างเต็มที่ในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ก็กังวลว่าอาจเห็นสภาคองเกรสสหรัฐฯอาจถอนนโยบายสนับสนุนเร็วเกินไป
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯวานนี้ ได้แก่ ยอดการเริ่มต้นสร้างบ้านในเดือนพ.ค. ออกมาชะลอตัวลงกว่าที่คาด ขณะที่ยอดขออนุมัติก่อสร้างปรับตัวขึ้น ประกอบกับการลงทะเบียนกู้เงินซื้อบ้านก็กลับมาเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้วเช่นกันทำระดับสูงสุดรอบเกือบ 11 ปีครึ่ง
· เช้านี้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สยังคงปรับตัวลดลงต่ออีก 100 จุดจากนักลงทุนที่ให้ความสนใจต่อการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่หลังจากที่นานาประเทศกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ ขณะที่ตลาดให้ความสนใจไปยังความตึงเครียดทางการเมือง
ดัชนี Stoxx600 ปิดปรับขึ้นประมาณ 0.7% ด้านหุ้นกลุ่มสุขภาพเพิ่มขึ้น 1.8% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ขณะที่ภาพรวมของความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนในตลาดยุโรปยังคงได้รับผลกระทบ โดยตลาดหุ้นปรับตัวลดลงหลังจากที่กองทุน IMF ออกมาเตือนว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาครั้งใหม่
โดยเช้านี้ดัชนี Nikkei ลดลง 0.32% ด้านดัชนีี Topix ลดลง 0.3% ขณะทีด่ัชนี Kospi เกาหลีใต้ ลดลง 0.61% และดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.47%
ท่าทีของนักลงทุนต่อสถานการณ์ล่าสุดของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาจะถูกจับตามองในวันนี้ โดยยอดผู้ป่วยไวรัสโคโรนาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในรัฐเท็กซัสพุ่งขึ้น 11% ในวันเดียว ขณะนี้มีชาวอเมริกันกว่า 200,000 คนที่เสียชีวิตจากไวรัสดังกล่าว
อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ทางฝั่งของจีน มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นในปักกิ่งทำให้เมืองต้องยกเลิกเที่ยวบินปิดโรงเรียนรวมทั้งปิดกั้นบางย่าน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.28%
· นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 31.00-31.25 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงนี้ทิศทางค่อนข้างผันผวน และต้องจับตากระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยมีการติดตามบทเรียนจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการทยอยผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ มา 4 ระยะเล้วก็เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างประเทศ รวมถึง
กรณี Travel Bubble ที่เป็นการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศที่สามารถควบคุมโควิด-19 ได้ดี ซึ่งกำลังเรียนรู้ประสบการณ์จากต่างประเทศและนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น กรณีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่ตกลงกันแล้วทำแล้ว ทำอย่างไรถึงปลอดภัย
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้กระทรวงการคลังจะหารือร่วมกับธนาคารกรุงไทย (KTB) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อสรุปแนวทางการทำเว็บไซต์เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภาคการท่องเที่ยว เพื่อที่จะเปิดตัวในวันที่ 1 ก.ค.63
- คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ได้พิจารณาเห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 5 โครงการ รวมมูลค่าลงทุน 41,834 ล้านบาท และเห็นชอบให้มีการปรับสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรตามแนวคิด BCG เพื่อนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมเกษตร
- นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวในหัวข้อ "การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย" ว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร ถือ
เป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบรุนแรงและขยายวงกว้างไปทั่วโลก ต่างจากวิกฤตในอดีตที่เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อบางคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ยังโชคดีที่ประเทศไทยเดินมาถูกทางแล้ว สามารถบริหารจัดการได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
· อ้างอิงจากประชาชาิตธุรกิจ
- นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพลรองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/63 ค่อนข้างมีภาพที่น่ากังวลมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมีการล็อกดาวน์ ซึ่งกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงธุรกรรมการเงิน โดยเฉพาะการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสาขาบางส่วน จึงมีผลกระทบทำให้ปริมาณธุรกรรมลดลงไปด้วย
โดยจากการประมาณการคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมของแบงก์ในไตรมาส 2 จะถูกผลกระทบหนักที่สุด ทำให้ภาพรวมทั้งปี 63 รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจะติดลบ 1-2% จากไตรมาส 1/63 ที่ติดลบไปแล้ว 1.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน