• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 18 มิถุนายน 2563

    18 มิถุนายน 2563 | SET News
  

· วิเคราะห์ S&P500 Futures ปรับตัวลดลงต่อต่ำกว่า 3,100 จุด ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา

ดัชนี S&P500 ฟิวเจอร์ส ปรับลง 0.8% แตะ 3,082 จุด ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในภาพรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 2 วันทำการ โดยมีแรงเทขายเข้ามาทำให้ราคามีการปรับตัวลงรายวัน เนื่องจากข่าวการระบาดของไวรัสรอบใหม่ที่จุดประกายความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการระบาดในสหรัฐฯและจีน ขณะที่ญ๊่ปุ่น และเยอรมนีก็มีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มเช่นกัน

รัฐเท็กซัส พบผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% สูงกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 7 วันที่อยู่ที่ 2.7% ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในรัฐฟลอริดา , แอริโซนา, โอกลาโฮมา ต่างก็พบยอดผู้ติดเชื้อใหม่ ทางด้านจีนก็มีการระงับเที่ยวบินโดยเป็นลักษณะ Semi-Lockdown ในการลดการระบาดของไวรัส

ผลสำรวจความเชื่อมั่นญี่ปุ่น พบว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาและผู้ติดเชื้อได้สร้างผลกระทบต่อตลาดแรงงานและค่าแรง นอกจากนี้ ตลาดยังคงให้ความสำคัญกับความตึงเครียดระหว่างจีนและอินเดีย รวมไปถึงความตึงเครียดพรมแดนเกาหลี ที่ดูจะส่งผลให้เหล่าเทรดเดอร์มีท่าทีระมัดระวัง

ถ้อยแถลงของประธานเฟดเคฟแลนด์เกี่ยวกับการใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นคืนเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันกดดันตลาด ดังนั้น เราจึงเห็นดัชนี S&P500 Futures, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และดัชนีนิกเกอิปรับตัวลง

อย่างไรก็ดี ปราศจากข้อมูลเศรษฐกิจและเหตุการณ์สำคัญอาจส่งผลต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้เผชิญแรงเทขาย ท่ามกลางตึงเครียดทางการเมืองและการพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสใหม่ในเอเชีย

· ตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นซื้อขายล่วงหน้าสหรัฐฯปรับตัวลดลง เนื่องจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ในสหรัฐฯและจีนนั้นกดดันความหวังที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังการระบาด

โดยดัชนี S&P 500 mini futures ลดลง 1.4% ในช่วงต้นการซื้อขายและช่วงสุดท้ายของการซื้อขายปรับลดลง 0.7% ขณะที่ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 1% ก่อนจะปรับตัวลง 0.15%

จำนวนยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นในแคลิฟอร์เนียและเท็กซัส ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดสองแห่งในประเทศ ขณะที่รัฐฟลอริด้าซึ่งใหญ่เป็นอันดับสาม

ขณะที่อีกหลายรัฐในสหรัฐฯ รวมถึงรัฐโอคลาโฮมาที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯวางแผนการรณรงค์หาเสียงในวันเสาร์ที่ผ่านมา รายงานว่ามียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

ด้านประเทศจีนได้ประกาศยกเลิกเที่ยวบิน ปิดโรงเรียน และปิดกั้นบางย่านในประเทศ เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนบางคนยังคงกังวลเกี่ยวกับกรณีที่อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทำเนียบขาว นายจอห์น โบลตัน เปิดเผยในหนังสืออัตชีวประวัติเล่มใหม่ที่มีการเผยแพร่เนื้อหาบางส่วนในวันเมื่อวานนี้ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยขอให้นายสี จิ้นผิง ประธานาธิดีจีน ช่วยให้ตนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยที่สอง

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง เนื่องจากกรณีที่เพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วสหรัฐฯและจีนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

โดยปักกิ่งขยายขอบเขตเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งขึ้นสูงที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนียและเท็กซัส รวมทั้งฟลอริดา ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดเป็นวันที่ 2

ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.45% ที่ระดับ 22,355.46 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.25% ที่ระดับ 1,583.09 จุด

· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัวจากวิกฤตไวรัสโคโรนา พร้อมทั้งให้คำมั่นว่าจะมีการปฏิรูปและเพิ่มสภาพคล่องมากขึ้นเพื่อหนุนตลาดทุน

โดยผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ระบุว่า จีนจะรักษาสภาพคล่องของระบบการเงินในตลาดต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ก็อาจเลื่อนการพิจารณาถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง COVID-19

ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.12% ที่ระดับ 2,939.32 ด้านดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI300 เพิ่มขึ้น 0.67%

· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังให้ความสนใจไปยังการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารอบใหม่

โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.4% ในช่วงต้นการซื้อขาย ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนลดลง 1.5% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 78.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 75.9 ในเดือนเม.ย.63 โดยค่าดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลังจากภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมถึงการผ่อนคลายการห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว) จากเดิมเวลา 22.00-04.00 น. เป็น 23.00-04.00 น. ส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.50% ต่อปี ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการลดลง

- นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท มีทั้งงานโยธาสายสีส้มตะวันตก และงานเดินรถตลอดทั้งเส้น ซึ่งจะออกหลักเกณฑ์ (ทีโออาร์) ในเดือน ก.ค.63 และเปิดให้เอกชนยื่นประมูลในเดือน ต.ค.นี้ คาดว่าจะสรุปผลการประมูลได้ภายในสิ้นปี 63

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) จะเปิดประมูลงานโยธา มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทในเดือน ก.ย. นี้ และคาดว่ารู้ผลในปลายปีนี้ โดยยังรอการเปิดประมูลงานเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ราษฎร์บูรณะ-คลองบางไผ่)

อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า การติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรและยางพาราธรรมชาติ (พิกัด 4001) ของไทยกับภูมิภาคอาเซียน ในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.- มี.ค.) ของปี 2563 พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรรวม 113,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.10% จากปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าส่งออกเป็น 75,415 ล้านบาท ลดลง 6.99% ของช่วงเดียวกันในปี 62

ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม และสัตว์มีชีวิต เช่น สุกรมีชีวิตอื่นๆ ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 50 กิโลกรัมขึ้นไป สุกรมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ โคตัวผู้

- สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2563 ที่สำรวจและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก

ประเทศไทย มีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 77.233 มาอยู่ที่ 75.387 ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยลดลง 4 อันดับ จากอันดับที่ 25 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 29 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่อันดับที่ 30

ปัจจัยหลักที่เป็นตัวชี้วัด 4 ด้านนั้น ผลการจัดอันดับดีขึ้น 2 ด้าน 1.ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ดีขึ้น 4 อันดับ จากอันดับที่ 27 มาอยู่ที่อันดับ 23 และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 45 มาอยู่ที่อันดับ 44

ในขณะที่สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ลดลง 6 อันดับ จากอันดับที่ 8 มาอยู่อันดับที่ 14 และ ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ลดลง 3 อันดับ จากอันดับที่ 20 มาอยู่อันดับที่ 23

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com