• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 19 มิถุนายน 2563

    19 มิถุนายน 2563 | SET News
 

· S&P500 และ Nasdaq ปรับขึ้น โดยได้รับแรงหนนุจากการฟื้นตัวของราคาพลังงานและหุ้นกลุ่มความต้องการผู้บริโภค

ดัชนี S&P500 และ Nasdaq Composite ปรับตัวขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นกลุ่มสินค้า-บริการสำหรับผู้บริโภค ขณะที่ดาวโจนส์ยังคงปิดปรับตัวลงเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางนักลงทุนที่ถึงแม้จะขานรับกับรายงานผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ แต่ตลาดก็ยังมีความกังวลมากขึ้นหลังจากที่โรงพยาบาลหลายแห่งในหลายรัฐของสหรัฐฯพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่ม

ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 39.51 จุด หรือ -0.2% ที่ระดับ 26,080.10 จุด ขณะที่ S&P500 ปิด +0.1% ที่ 3,115.34 จุด ขณะที่ Nasaq ปิด +0.3% ที่ 9,943.05 จุด

นอกจาก ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯจะออกมาดีขึ้น ข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตเขตฟิลาเดเฟียก็ออกมาแข็งแกร่งขึ้นเกินคาดเช่นกัน

· เช้านี้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ปรับขึ้นได้กว่า 170 จุด ข๘ณะที่ S&P500 ฟิวเจอร์สปรับขึ้น 0.5% และดัชนี Nasdaq-100 ฟิวเจอร์สปรับขึ้น 0.4%

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลง หลังจากที่บีโออีมีมติเป็นเอกฉันท์ 9-0 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.10% และยังประกาศขยายวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีก 1 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับ 7.45 แสนล้านปอนด์ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ขณะที่ในแง่ของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแต่ละราย บริษัท Wirecard ดิ่งลงประมาณ 60% หลังจากที่เลื่อนการตีพิมพ์รายงานทางการเงินอีกครั้งในปี 2019 โดยทางบริษัท อ้างว่าต้องการเวลามากขึ้นในการทำงานกับผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สอดคล้องของงบดุล

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ปิดลดลง 0.6% ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบง ด้านหุ้นกลุ่มธนาคารและทรัพยากรร่วงลงประมาณ 1.2% ขณะที่หุ้นกลุ่มเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นได้ 0.7%

· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารายใหม่ในบางประเทศ

โดยเหล่านักลงทุนยังคงให้ความสนใจไปยังแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในบางพื้นที่ ซึ่งมีสี่รัฐฯในสหรัฐฯรายงานยอดผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของจีน กล่าวว่า การระบาดของไวรัสล่าสุดในปักกิ่งอยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งเมืองหลวงของจีนพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากผ่านไป 50 วัน

เช้านี้ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.18% ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.39% ขณะที่ดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ลดลง 0.75%

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้่น 0.39%

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.14%

· บริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.00-31.15 บาท/ดอลลาร์

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย.63 โดยค่าดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

- โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนพ.ค.63 ส่งออกได้ 29,894 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 68.64% โดยส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดตะวันออกกลาง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนยอดการผลิตรถยนต์ในปีนี้จะอยู่ที่ราว 1-1.4 ล้านคัน จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านคัน แบ่งเป็น ยอดขายในประเทศ 5- 7 แสนคัน ลดลงจากเป้าเดิม 1 ล้านคัน และยอดส่งออก 5-7 แสนคัน ลดลงจากเป้าเดิม 1 ล้านคันเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โค วิด-19 ว่าจะคลี่คลายได้ช้าหรือเร็ว

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศโครงการพัฒนาระบบต้นแบบการชำระเงินโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาจากโครงการอินทนนท์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางในการเชื่อมต่อ CBDC กับนวัตกรรมที่พัฒนาโดยภาคเอกชน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 63

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยจะได้รับผลด้านบวกจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศหลังการคลายล็อก ช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค.63 ของภาครัฐ จะทำให้มีเม็ดเงินรายได้เพิ่มขึ้นราว 41,000ล้านบาทเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ

- รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมออกมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (เฟสใหม่) จะเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.63

- ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 63 จะติดลบ 5% โดยมีความเป็นไปได้มากที่เศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ (U-shaped Recovery) และภาคธุรกิจต่างๆ จะเริ่มปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ๆ โดยอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่งกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดได้ในไตรมาสที่ 4/65 โดยแต่ละอุตสาหกรรมจะใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่เท่ากัน

- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะขยายตัวเพียง 0.1% ในปี 63 ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเม.ย.ว่าจะขยายตัว 2.2% โดยตัวเลขคาดการณ์

GDP ล่าสุดนี้ถือเป็นการขยายตัวที่อัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 04 เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทำให้อุปสงค์ในต่างประเทศอ่อนแอลง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com