

· ดอลลาร์-เยน แข็งค่าขึ้นในฐานะ Safe Haven ท่ามกลางความกังวลการระบาดรอบใหม่
ค่าเงินดอลลาร์และค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เป็นปัจจัยหนุนต่อความต้องการค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ 97.267 จุด ขณะที่เยนแข็งค่าลงมา 0.32% ที่ 106.66 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการแข็งค่าที่มากที่สุดตั้งแต่ 12 มิ.ย. และมีการปิดสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่บริเวณ 106.58 เยน/ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังมีแรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ปรับตัวลดลง แต่การลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดเริ่มกังวลถึงภาวะ Second Wave ที่ส่งผลให้อุปสงค์อ่อนแอ และเป็นอุปสรรคต่อห่วงโซ่อุปทาน ที่เป็นตัวสนับสนุนมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเผชิญกับการฟื้นตัวได้ยากและใช้เวลานานจากภาวะถดถอยครั้งนี้
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.16% ที่ 1.122 ดอลลาร์/ยูโร หรืออ่อนค่าลงเกือบ 1% ท่ามกลางนักลงทุนที่ไม่มั่นใจว่าอียูจะสามารถผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยคณะกรรมาธิการอียูหรือไม่
· ยอด Balance Sheet ของเฟดหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ.
รายงานสินทรัพย์ของเฟดมีการหดตัวลงในสัปดาห์นี้ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนก.พ. ที่สะท้อนว่าเป็นผลจากค่าเงินที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของธนาคารกลางอื่นๆ รวมทั้งการปราศจากอุปสงค์ในกลุ่มเครดิตจากประเทศเกิดใหม่อื่นๆ
ทั้งนี้ ยอดงบดุลของเฟด หรือ Balance Sheet ในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯและตราสารหนี้เพื่อการปล่อยกู้ให้แก่ภาคธนาคารและรัฐบาลท้องถิ่น พบว่าปรับตัวลงแตะ 7.14 ล้านล้านเหรียญเมื่อ 17 มิ.ย. โดยลดลงจากก่อนหน้าที่อยู่ที่ 7.22 ล้านล้านเหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว
· นายนีล คาร์ชคาริ ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิส กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในบางพื้นที่ของสหรัฐฯ ดังนั้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจไม่ได้ราบรื่นหรือแข็งแกร่งนัก และคาด่าเราน่าจะยังเห็นการเพิ่มจำนวนของ Second Wave ไปทำจุดพีคในช่วงครึ่งปีหลังได้ จนกว่าพวกเราจะพบแนวทางการรักษาหรือวัคซีนที่ต้องใช้การทดสอบอย่างมาก และเรายังไม่เห็นตัวยาหรือวัคซีนใดๆที่พร้อมใช้ได้ผลในเวลานี้
· นางลอเร็ตต้า เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาเคฟแลนด์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจใช้เวลา 1 – 2 ปีในการเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้เช่นเดียวกับช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเธอยังคงคาดว่าปีนี้จะเห็นเศรษฐกิจหดตัว -6% ท่ามกลางอัตราว่างงานที่จะอยู่ใกล้ระดับ 9% ในช่วงสิ้นปี และถึงแม้จะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใดๆ ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนก่อนการระบาด

· ตลาดแรงงานฟื้นตัว แต่ Second Wave อาจทำคนตกงานเพิ่ม
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลดลงอีก 58,000 ราย สู่ระดับ 1.508 ล้านราย แต่ภาพรวมการปรับตัวลงก็ยังไม่นิ่ง ท่ามกลางการกลับมาระบาดใหม่ที่อาจส่งผลให้บริษัทต้องปลดพนักงานเพื่อต่อสู้กับอุปสงค์ที่อ่อนแอ และอุปสรรคในห่วงโซ่อุปทาน
· ทรัมป์ขู่ตัดสัมพันธ์จีนครั้งใหม่ หลังมีการหารือกันของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯและจีน
เมื่อวานนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ตัดสัมพันธ์กับจีนหลังจากที่เจ้าหน้าที่เจรจาทางการทูตของสหรัฐฯกับจีนหารือกันในเรื่องการค้า โดยยังไม่ได้ทำการตัดสินใจว่าจะมีทางเลือกต่อแนวทางทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอย่างไร
นอกจากนี้ ทรัมป์ยังกล่าวว่า จีนจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าที่ลงนามร่วมกันในปีนี้ได้ ก็ต้องแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าที่มีมากขึ้นด้วย
· Telegraph ชี้ นายกฯอังกฤษ จะประกาศข้อตกลงสายการบินกับบางประเทศในวันที่ 29 มิ.ย.นี้
นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ คาดว่าจะทำการประกาศข้อตกลงการเดินทางระหว่างประเทศในวันที่ 29 มิ.ย. โดยน่าจะเป็นการประกาศแผนการเดินทางไปยังต่างแดนในบางประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำ
· การฟื้นตัวเศรษฐกิจอังกฤษชะลอตัวเสี่ยงภาวะเงินกู้ขยายตัว
รัฐบาลอังกฤษอาจเผชิญกับภาวะเงินกู้ในระดับสูงเป็นเวลา 5 ปีนับตั้งแต่นี้ หากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างใช้เวลานานจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา โดยอังกฤษมีแนวโน้มจะเผชิญกับยอดขาดดุลสูงถึง 1.3 แสนล้านปอนด์ หรือ 1.62 แสนล้านเหรียญ ซึ่งจะคิดเป็น 5% ของจีดีพีประเทศ
ความเชื่อมั่นอังกฤษฟื้นตัวทำสุงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบเกือบ 4 ปีในเดือนนี้ หลังจากที่ประเทศเริ่มมีการคลาย Lockdown แต่ภาพรวมของความเชื่อมั่นก็ยังต่ำกว่าระดับต้นปี
· เศรษฐกิจโคลอมเบียหดตัว -20% ในเดือนเม.ย. เหตุการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่การ Lockdown จะยังมีอยู่และไม่ได้ผ่อนคลายเพิ่มจนกว่าจะถึงวันที่ 1 ก.ค.
· น้ำมันดิบปิดปรับขึ้น 2% ท่ามกลางความหวังเห็นการปรับลดการผลิตจาก OPEC+
ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวขึ้นจากการที่กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรมีการพบกันเพื่อทบทวนระดับการปรับลดอุปทานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าตลาดจะยังมีความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งจากจีนและสหรัฐฯ
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 78 เซนต์ ที่ 41.48 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 88 เซนต์ หรือ +2.32% ที่ระดับ 38.84 เหรียญ/บาร์เรล
· สหรัฐฯคว่ำบาตรบริษัทเม็กซิโก เหตุติดต่อค้าน้ำมันกับเวเนซุเอล่า
เมื่อวานนี้สหรัฐฯมีการขึ้นบัญชีดำบริษัทสัญชาติเม็กซิโก (Libre Abordo) ตามข้อกล่าวหาที่ช่วยเหลือบริษัทค้าน้ำมันเวเนซุเอลาอย่าง Caracas
และการกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯได้ส่สงผลให้ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกร่วงลง 2%
