· ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นจากข้อมูลเชิงบวก หลังทรัมป์กล่าวข้อตกลงการค้ากับจีนยังมีอยู่
ค่าเงินยูโรแข็งค่าทำสูงสุดรอบหนึ่งสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจเชิงบวก ขณะที่ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ และค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆก็แข็งค่าขึ้น หลังจากที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายยืนยันเรื่องการมีอยู่ของข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
IHS เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นต้นของยูโรโซนในเดือนพ.ค. ออกมาดีขึ้นกว่าคาดแตะ 47.5 จุด หลังเดือนเม.ย. ทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ไว้ที่ 13.6 จุด
นักลงทุนกำลังให้ความสนใจกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกตลาดตอบรับกับแหล่งข่าวที่ระบุว่า นายปีเตอร์ นาวาโร ที่ปรึกษาทำเนียบขาวเผยว่าข้อตกลงการค้ากับจีนสิ้นสุดลง แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้ออกมากล่าวอธิบายว่าไม่ได้พูดเช่นนั้น และข้อตกลงยังมีอยู่ โดยถ้อยแถลงดังกล่าวเป็นการหยิบยกประเด็นเพื่อนำเสนอเท่านั้น
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.46% แตะ 1.1310 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ขึ้นไปทำสูงสุดตั้งแต่ 16 มิ.ย. ที่ 1.1337 ดอลลาร์/ยูโร ด้านค่าเงินเยนอ่อนค่าลง 0.37% ที่ 106.47 เยน/ดอลลาร์ หลังไปทำแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 7 พ.ค. ที่ 106.06 เยน/ดอลลาร์
ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคธุรกิจสหรัฐฯหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 มิ.ย. ขณะที่ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯขยายตัวได้มากกว่าเดือนพ.ค. และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดีขึ้นกว่าที่คาดสะท้อนถึงการฟื้นตัวได้หลังประสบภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนา จึงอาจไม่ใช้เวลาในการฟื้นตัวนานเท่าที่นักวิเคราะห์หลายรายกังวลไว้
· มนูชินชี้การถอนข้อตกลงการค้าอาจเกิดขึ้นหากบริษัทสหรัฐฯไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการค้า
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่าการจะถอนข้อตกลงสหรัฐฯและจีนจะมีผลมาจากกรณีที่หากบริษัทสหรัฐฯไม่ได้รับความเป็ฯธรรมทางด้านการแข่งขันในระดับเดียวกับเศรษฐกิจจีน
· อดีตผู้แทนเจรจาการค้าของนายทรัมป์ ระบุว่าว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยังดำเนินอยู่ในเวลานี้
อดีตเจ้าหน้าที่ผู้แทนเจรจาการค้าระดับสูของสหรัฐฯ กล่าวว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนมีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในเวลานี้ จากการที่จีนปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นอย่างดี
· ภาคธุรกิจสหรัฐฯชะลอการหดตัวได้ในเดือนมิ.ย.
กิจกรรมทางภาคธุรกิจสหรัฐฯหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนมิ.ย. แต่มีการหดตัวที่น้อยลงเมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า เพราะได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนานั้นลดน้อยลงไป
ทั้งนี้ IHS เผยดัชนีผลผลิตขั้นต้นสหรัฐฯในกลุ่มภาคการผลิตและบริการออกมาที่ 46.8 จุดในเดือนมิ.ย. ดีขึ้นจากเดือนพ.ค.ที่ 37 จุด โดยข้อมูลที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดนั้นถือเป็นระดับหดตัวอยู่ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯพบว่ามีการก้าวสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่เดือนก.พ.
นอกจากนี้ IHS ยังเผยข้อมูล PMI ภาคบริการขั้นต้นปรับขึ้นเกินคาดแตะ 46.7 จุดในเดือนมิ.ย. จากระดับ 37.5 จุดในเดือนก่อนหน้า
· ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯพุ่ง ทั้งเท็กซัส, แอริโซนา และเนวาดาทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่
ถือเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่สหรัฐฯพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นรัฐเท็กซัส แอริโซนา และเนวาดาที่มียอดผู้ติดเชื้อใหม่สะสมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อีกกว่า 10 รัฐในสหรัฐฯ ตั้งแต่รัฐ ฟลอริด้า ถึงแคลิฟอร์เนีย ก็พบยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ รัฐเท็กซัสมีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 5,000 รายเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นยอดรายวันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดผู้เข้าการรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยการิดเชื้อไวรัสดังกล่าวก็พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์และยาวนานต่อเนื่อง 11 วันทำการ
· บริษัทสหรัฐฯ มีแนวโน้มหั่นโบนัสพนักงาน 15-20% รวมทั้งการปลดพนักงาน
รายงานจากบริษัท Johnson Associates Inc ระบุว่า บริษัทสหรัฐฯมีแนวโน้มจะทำการปรับลดโบนัสการทำงานในปีนี้ลงประมาณ 15-20% และอาจมีการปลดพนักงาน เนื่องจากหลายๆบริษัทดูจะกำลังจะต้องพิจารณษอย่างรวดเร็วต่อสัญญาณอันตรายในเวลานี้จากการระบาดของไวรัสโคโณนาที่เกิดขึ้น และหลายๆบริษัทก็ตระหนักดีว่าในเวลานี้อาจจำเป็นต้องใช้พนักงานที่น้อยลง
· ราคาน้ำมันดิบปิดลงเกือบ 1% ท่ามกลางความกังวลเรื่องแรงกดดันด้านอุปสงค์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงท่ามกลางจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่พุ่งสูงขึ้นและจุดประกายความกังวลด้านอุปสงค์ แม้ว่าตลาดจะมีปัจจัยช่วยหนุนจากการทวิตเตอร์ของนายทรัมป์ที่ว่าข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนจะยังมีอยู่
น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 45 เซนต์ หรือ -1% ที่ระดับ 42.63 เหรียญ/บาร์เรล ด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง 36 เซนต์ หรือ -0.88% ที่ 40.37 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่วันจันทร์มีการปรับขึ้นไปทำสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.
Bank of America หรือ BofA มีการปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบปีนี้ โดยคาดว่าน้ำมันดิบ Brent เฉลี่ยจะอยู่ที่ 43.7 เหรียญ/บาร์เรล จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 37 เหรียญ/บาร์เรลในปีนี้