• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2563

    24 มิถุนายน 2563 | SET News
  

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ยังคงมีมุมมองเชิงบวกจากการกลับมาเปิดทำการอีกครั้งของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าจะพบยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาเพิ่มมากขึ้นไปสู่จุดสูงสุดใหม่ก็ตาม

อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ข่าวเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาแทบจะไม่ได้รับข่าวดี โดยหลาย ๆ รัฐในสหรัฐฯ พบยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในละตินอเมริกากว่า 100,000 คนในวันอังคารที่ผ่านมา

รายงานจาก New York Times ระบุว่า ฝั่งยุโรปเตรียมที่จะกีดกันนักท่องเที่ยวที่มาจากสหรัฐฯ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในประเทศทำให้รายงานดังกล่าวอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับบราซิลและรัสเซีย

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มสูงขึ้น 0.5% ไปทำสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการ Lockdowns จากการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนที่กลับมมาเป็นลบ ขานรับกับยอดผู้ติดเชื้อในกรุงโตเกียวรายวันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบมากกว่า 1 เดือน

โดยดัชนี Nikkei ปิดลง 0.07% ที่ระดับ 22,534.32 จุด

ในช่วงต้นการซื้อขาย ตลาดญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา เนื่องจากปรับปรุงข้อมูลทางเศรษฐกิจและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหนุนความหวังของการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

การหดตัวในภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐฯชะลอตัวลงในเดือนมิ.ย.จากการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ขณะที่ยอดขายบ้านใหม่ประจำเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 16.6%

อย่างไรก็ดี การพบผู้ติดเชื้อในโตเกียวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนในสินทรััพย์เสี่ยง

· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากข้อมูลประเทศสำคัญ ๆ และการปฏิรูปล่าสุดของรัฐบาลในตลาดทุน

โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 2,979.55 จุด ด้านดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI เพิ่มขึ้น 0.42%

· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดลบท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อรอบใหม่เพิ่มกดดันนักลงทุน ทั้งในสหรัฐฯและเยอรมนี รวมทั้งประเทศอื่นๆ โดยดัชนี Stoxx600 ปรับลง 0.4% หลังจากเปิดตลาด และหุ้นดัชนีหลักอื่นๆก็ปรับตัวลดลงในแดนลบ นำโดยหุ้นสุขภาพที่ร่วงลงไปกว่า 1%

นอกจากนี้ ตลาดยังรับข่าวที่ว่าที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขระดับสูงของทำเนียบขาวมองว่าการระบาดครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น แต่การกลับมาระบาดครั้งนี้ก็ยังดูไม่มีเหตุจำเป็นต้องกลับมา Shutdown อีกครั้ง

อ้างอิงสำนักข่าวประชาชาติ

- มติ กนง.เป็นเอกฉันท์คงดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี จีดีพีหดตัว -8.1% หนักกว่าปี’40

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.5% ต่อปี ปรับประมาณการจีดีพี จาก -5.3% เป็น -8.1%

“ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 รุนแรงกว่าที่คาดไว้และรัฐบาลหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก รวมทั้งจะมีผลกระทบที่มีความไม่แน่นอนสูงต่อโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ รูปแบบการทำธุรกิจ วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน” นายทิตนันทิ์กล่าว

ทั้งนี้ ในการประชุม กนง.รอบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการปรับประมาณการการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่ โดยประเมินว่าปี 2563 นี้ จีดีพีจะหดตัว -8.1% จากเดิมคาดหดตัว -5.3% ส่วนปี 2564 คาดจีดีพีพลิกกลับมาขยายตัวได้ 5% จากเดิมคาดขยายตัว 3%

“คาดว่าจีดีพีปีนี้จะหดตัว -8.1% ถือเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่จีดีพีหดตัวที่ -7.6%” นายทิตนันทิ์กล่าว

อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบกว่าที่ประเมินไว้ แต่มีแนวโน้มกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 2564 เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิ

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- SET ช่วงเช้าปิดที่ระดับ 1,365.00 จุด เพิ่มขึ้น 8.57 จุด (+0.63%) มูลค่าซื้อขายราว 21,051.08 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อนำเข้ามาในกลุ่มธนาคารทั้ง KBANK-BBL-SCB ช่วยหนุนภาพการลงทุนนักวิเคราะห์ฯมองภาพรวมดัชนียังแกว่งตัวในกรอบจำกัดระหว่างรอผลประชุมกนง.ที่จะออกมาในช่วงบ่ายว่าจะมีการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อย่างไร รวมถึงรอดูการเปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกของ IMF ที่จะออกมาในคืนนี้ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยไม่ได้ตอบสนองต่อตัวเลขส่งออกของไทยในเดือนพ.ค.ที่ -22.50% เนื่องจากตลาดคาดการณ์อยู่แล้วว่าส่งออกไทยจะไม่ดีจากสถานการณ์โควิด-19 พร้อมมองภาคบ่ายตลาดยังแกว่งตัวในกรอบ มีแนวรับที่ 1,355 จุด และแนวต้านที่ 1,370 จุด

- กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน พ.ค.63 โดยการส่งออกมีมูลค่า 16,278 ล้านเหรียญฯ ติดลบ -22.50% เป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 130 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.52 จากตลาดคาดว่าจะหดตัว -5.8 ถึง -6.0% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,584 ล้านเหรียญฯ หดตัว -34.41% จากตลาดคาดติดลบ -18% ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 2,694.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

- นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้จะพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการชุดย่อยเกี่ยวกับแนวทางการผ่อนคลายมาตรการให้สามารถเปิดกิจการ/กิจกรรมในระยะที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มสีแดง หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ, ร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต, อาบอบนวด โรงน้ำชา

· อ้างอิงจากอีไฟนนซ์ไทย

"เมย์แบงก์ กิมเอ็ง" ฉายภาพ 4 หุ้นค้าปลีก CPALL-HMPRO-BJC-GLOBAL มองผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/63 ไปแล้ว คาดคลายล็อกดาวน์ เปิดเทอม กระตุ้นท่องเที่ยวช่วยฟื้นผลงาน แต่เชื่อกำไรยังไม่กลับสู่ระดับปกติ เหตุกำลังซื้อยังหด พร้อมลงคะแนนหุ้นน่าลงทุน CPALL มาวิน ขณะที่ HMPRO บ๊วย เหตุอัพไซด์ไม่เหลือ

*** เชื่อค้าปลีกไตรมาส 3/63 ฟื้น แต่ยังไม่ถึงระดับปกติ

บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาดการณ์ผลประกอบการของกลุ่มค้าปลีกในไตรมาส 2/63 ต่ำสุดของปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์(Lockdown) และยกเลิกวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์

อย่างไรก็ตามในไตรมาส 3/63 กำไรน่าจะยังไม่กลับสู่ระดับปกติ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังซื้อ ลดลง แม้จะเห็นการฟื้นตัวชัดเจน จากการคลายล็อกดาวน์ การเปิดโรงเรียน และการกลับมาเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศในช่วง 1 ก.ค. – 31 ต.ค. (กำลังใจ-เราไปเที่ยวกัน-เที่ยวปันสุข)งบประมาณ 2.24 หมื่นล้านบาท

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com