ไอเอ็มเอฟหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกพร้อมกล่าวเตือนระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้น
ไอเอ็มเอฟหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อวานนี้ พร้อมกล่าวเตือนภาวะทางการเงินสาธารณะจะส่งผลเสียกับรัฐบาลจากวงเงินวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยคาดว่าจีดีพีปีนี้โลกจะหดตัวลงแตะ -4.9% จากเดิมที่คาดในเดือนเม.ย. ที่อยู่ที่ -3%
ขณะที่ปี 2021 คาดจะโตได้ที่ 5.4% แต่ก็ลดลงจากเดือนเม.ย.ที่คาดไว้ว่าจะโตได้ 5.8%
ด้านความการชะลอตัวของกิจกรรมภาคธุรกิจต่างๆ ดูจะเป็นผลลบที่กระทบกับตลาการเงินทั่วโลก และอัตราชั่วโมงการทำงานทั่วโลกก็ลดลงในไตรมาสที่ 2 พร้อมกันนี้มีแนวโน้มที่จะเห็นคนทำงานประจำตกงานไป 300 ล้านคน
ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯคาดจะหดตัวลงไปมากถึง -8% จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ -5.9% ในเดือนเม.ย. สำหรับยูโรโซนนั้น ไอเอ็มเอฟคาดว่าจะหดตัวมากถึง -10.2% ปีนี้
บราซิลคาด -9.1%, เม็กซิโก คาด -10.5% และแอฟริกาใต้ -8%
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ทำให้รัฐบาลทั่วโลกมีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมมีการกู้ยืมเงินมากขึ้น จึงเป็นผลที่จะทำให้ระบบการเงินสาธารณะประสบปัญหาตามมา ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศหดตัว ซึ่งระดับหนี้สาธารณะทั่วโลกถูกคาดว่าจะพุ่งสูงกว่า 100% ของจีดีพีในปีนี้
อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟคาดระดับหนี้สาธารณะทั่วโลกจะทำ All-Time High ในช่วงปี 2020 และ 2021 ที่ระดับ 101.5% ของจีดีพี และ 103.2% ของจีดีพีตามลำดับ และทำให้ยอดขาดดุลเฉลี่ยโดยภาพรวมพุ่งถึง 13.9% ของจีดีพีปีนี้ เมื่อเทียบกับ 10% ของจีดีพีในปี 2019
· ดอลลาร์แข็งค่าจากวิกฤตไวรัส และความกังวลเรื่องภาษี
ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นวานนี้จากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่มากขึ้น ได้เข้ากดดันมุมมองเชิงบวกและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการที่สหรัฐฯจะทำการขึ้นภาษีสินค้ายุโรป
รายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อในรัฐแอริโซนา, แคลิฟอร์เนีย, มิสซิสซิปปี้ และเนวาดา มียอดผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ตามหลังจากที่รัฐเท็กซัสที่มียอดผู้ติดเชื้อเป็นประวัติการณ์ไปเมื่อวันจันทร์
ไอเอ็มเอฟระบุว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาที่ขยายวงกว้างเป็นสาเหตุที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเผชิญปัญหาเชิงลึกเป็นครั้งแรก จึงทำให้เกิดการหั่นคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ เรื่องของการที่สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้ายุโรปก็ดูจะเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน และทำให้เกิดความต้องการดอลลาร์มากขึ้น โดยUSTR เผยเมื่อวานนี้ว่า สหรัฐฯกำลังพิจารณาว่าจะปรับเพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้ายุโรปหลายรายการ เพื่อเป็นบทลงโทษจากข้อพิพาทเรื่องสายการบิน
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.33% ที่ 96.45 จุด แต่ก็ยังอยู่ห่างจากที่ไปทำแข็งค่ามากที่สุดรอบ 3 ปีที่ 102.99 จุดเมื่อเดือนมี.ค.
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.32% ที่ 1.1270 ดอลลาร์/ยูโร หลังไปทำสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนขาลง ทางด้านเงินเยนอ่อนค่าขึ้น 0.19% ที่ 106.71 เยน/ดอลลาร์ หลังเมื่อวานนี้ไปทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 7 พ.ค. ที่ระดับ 106.06 เยน/ดอลลาร์
· ทรัมป์จะไม่ทำตามคำสั่งผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีเรื่องการกักกันตนเองช่วงการระบาดของไวรัส เนื่องจากเขาไม่ใช่พลเรือนของเขตนั้น และจะไม่เปลี่ยนแผนการเดินทางของเขาในการงพื้นที่หาเสียงเขตดังกล่าว รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องจากผู้ว่าการรัฐในกลุ่มผู้เดินทางในการต้องกักตัวเอง 14 วัน
· ราคาน้ำมันดิบทรุดตัวกว่า 6% จากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯพุ่งเกินคาด และกังวลต่อการระบาดของไวรัสโคโรนา
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเกือบ 6% วานนี้หลังจากที่ข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯพุ่งทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกินคาดแตะ 1.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศเยอรมนี และสหรัฐฯ
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 2.29 เหรียญ หรือคิดเป็น -5.5% ที่ 40.29 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปทำสูงสุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมี.ค. ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 2.39 เหรียญ หรือ -5.85% ที่ระดับ 38.01 เหรียญ/บาร์เรล
· นักการทูตเผยเหตุปะทะระหว่างจีน-อินเดีย ดูจะเป็นจุดร้าวของความสัมพันธ์
สำนักข่าว CNBC ระบุถึงบทสัมภาษณ์ของอดีตนักการทูตอินเดียว่า การปะทะกันบริเวณพรมแดนเทือกเขาหิมาลัยระหว่างจีนและอินเดียที่ส่งผลให้มีทหารสูญเสียชีวิตกว่า 20 นาย ดูจเป็นจุดเปลี่ยนของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์ในภาคการค้าและการลงทุน โดยที่อินเดียมีท่าทีต่อต้านจีนเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ประชาชนเรียกร้องให้เกิดการบอยคอตต์สินค้าจีนในประเทศอินเดีย แต่ผู้เชี่ยวชาญก็มองว่านี่เป็นเรื่องยากสำหรับอินเดียที่จะตัดหริอลคดวามสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ อินเดียมียอดนำเข้าจากจีนสูงกว่า 6.2 หมื่นล้านเหรียญระหว่างเม.ย. ปี 2019 - ก.พ. ปี 2020 ขณะที่ยอดส่งออกมีเพียง 1.55 หมื่นล้านเหรียญ
สินค้าที่อินเดียนำเข้าจากจีนมากที่สุดก็คือกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่กับสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ ในขณะที่จีนมีการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและบริษัท Start-Ups ต่างๆของอินเดีย
อย่างไรก็ดี หากอินเดียมีการใช้มาตรการคุมเข้มกับจีนก็จะส่งผลโดยตรงต่อภาคการลงทุนในจีนได้ ดังนั้น อินเดียทำให้เพียงปกต้องและป้องกันผลประโยชน์ที่ค่อนข้างจะเซ้นซิทีฟอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของทั้งคู่