· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงติดต่อกัน 8 วันทำการ ท่ามกลางพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งกองทุน IMF ประกาศปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลงจึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนที่ฟื้นตัวขึ้น
รัฐฟลอริด้า, โอคลาโฮมาและเซาท์แคโรไลนา รายงานการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่จากไวรัสโคโนา
ขณะที่อีก 7 รัฐอื่นๆที่มีสถิติสูงสุดในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และออสเตรเลียพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวันมากที่สุดในรอบ 2 เดือน
ผู้ว่าการรัฐฯนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์และคอนเนตทิคัต สั่งให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางจาก 8 รัฐอื่น ๆ ไปกักตัวเมื่อเดินทางมาถึง
ด้านผู้ว่าการรัฐเกร็กแอ็บบอท กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ โดยระบุว่า ดิสนีย์ได้เลื่อนการเปิดสวนสนุกและรีสอร์ทในแคลิฟอร์เนีย ขณะที่เท็กซัสกำลังเผชิญกับ การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ และการพิจารณาข้อจำกัดใหม่
ด้านดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ ปรับลง 0.4% หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯเคลื่อนไหวในแดนลบเมื่อคืนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดลง 0.7%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ตามการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯและอีกหลายๆประเทศ ส่งผลกระทบต่อความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
โดยดัชนี Nikkei ร่วงลง 1.2% ที่ระดับ 22,259.79 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 1.2% เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 1,561.85 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มอากาศยานระดับสูง โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เหล็กและเหล็กกล้าเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีผลประกอบการแย่ที่สุดในตลาดหลัก
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังการปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจากกองทุน IMF และการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ
โดย IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อวานนี้ พร้อมกล่าวเตือนภาวะทางการเงินสาธารณะจะส่งผลเสียกับรัฐบาลจากวงเงินวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยคาดว่าจีดีพีปีนี้โลกจะหดตัวลงแตะ -4.9% จากเดิมที่คาดในเดือนเม.ย. ที่อยู่ที่ -3%
ขณะที่ปี 2021 คาดจะโตได้ที่ 5.4% แต่ก็ลดลงจากเดือนเม.ย.ที่คาดไว้ว่าจะโตได้ 5.8%
ทั้งนี้ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.9% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนลดลง 1.7% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของมูลค่าตลาดหุ้นไทยในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับการประเมินรายได้หรือกำไรของบริษัทจดทะเบียน(Earning) ในปีหน้าจากข้อมูลปัจจุบัน ประเมิน Forward P/E ในช่วง 1 ปีข้างหน้าสูงระดับ 20 เท่า ซึ่งมากกว่าตัวเลขระดับปกติ 16-17 เท่า นอกจากนี้ ยังมากกว่า Historical P/E ซึ่งอยู่ที่ 19 เท่า
นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2564 เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หากยังไม่มีข้อมูลใหม่ว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัว ได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
"มูลค่าของหุ้นไทยปัจจุบันขึ้นมาสูงมากเมื่อเทียบรายได้หรือ Earning ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จะเห็นว่าค่าเฉลี่ย Forward P/E ที่ 20 เท่า เป็นตัวเลขที่สูงสุดตั้งแต่ผมทำงานมา ปกติอยู่ที่ 16-17 เท่า" นายภากร กล่าว
- กนง. ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย ปีนี้ โดยคาดว่าจะติดลบ 8.1% จากเดิมคาดติดลบ 5.3% ขณะที่ในปี 64 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 5% จากเดิมคาด 3%
การส่งออกในปีนี้ คาดว่าจะติดลบ 10.3% จากเดิมคาดติดลบ 8.8% ในปี 64 คาดว่าส่งออกจะขยายตัวได้ 4.5% จากเดิมคาด 0.2% ด้านการนำเข้าในปีนี้คาดติดลบ 16.2% จากเดิมคาดลบ 15% ส่วนปี 64 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.1% จากเดิมคาดลบ 0.4%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ คาดว่าจะติดลบ 1.7% จากเดิมคาดลบ 1% ปี 64 คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.9% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 0% จากเดิมคาดติดลบ 0.1% และในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 0.1%
ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 8 ล้านคน จากเดิมคาด 15 ล้านคน และในปีหน้าเพิ่มเป็น 16.2 ล้านคน ราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้คาดอยู่ที่ 35.1 ดอลลาร์/บาร์เรล และในปีหน้าขยับขึ้นมาอยู่ที่ 37 ดอลลาร์/บาร์เรล
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ที่คาดว่าจะติดลบ 8.1% ถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากปี 40 ที่เศรษฐกิจไทยเคยติดลบ 7.6%