• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2563

    26 มิถุนายน 2563 | SET News
 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นปานกลางท่ามกลางความแข็งแกร่งของภาคธนาคารที่ช่วยชดเชยความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัส

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวขึ้นท่ามกลางปริมาณการซื้อขายปานกลาง ท่ามกลางหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้นก่อนทราบผล Stress Test ประจำปีของเฟด จึงช่วยชดเชยความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนารอบใหม่ โดยดัชนีภาคธนาคารปรับตัวขึ้นไปกว่า 3.6% วานนนี้

ดัชนีดาวโจนส์ปิด +299.66 จุด หรือ +1.18% ที่ 25,745.6 จุด ทางด้านดัชนี S&P500 ปิด +1.1% ที่ 3,083.76 จุด และ Nasdaq ปิด +1.09% ที่ 10,017 จุด

ทั้งนี้ คณะกรรมการประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ประกาศผ่อนคลายข้อกำหนดจาก Volcker Rule โดยจะอนุญาตให้ธนาคารสหรัฐฯสามารถทำการลงทุนได้มากขึ้น และได้รับการยกเว้นจากการสำรองเงินสดสำหรับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือ โดยการผ่อนคลายข้อจำกัดดังกล่าวจะทำให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯสามารถเข้าลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน (venture capital) หรือกองทุนอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้

อย่างไรก็ดี กลุ่มนักลงทุนก็ยังคงมีคามกังวลต่อรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในสหรัฐฯที่ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศ


· IMF เตือน ความไม่เชื่อมโยงในตลาดการเงิน ก่อความเสี่ยงให้เกิดความเสี่ยงในการปรับฐานของราคาสินทรัพย์

IMF เตือนว่า ความไม่เชื่อมโยงระหว่างตลาดการเงินและเศรษฐกิจ อาจนำไปสู่การปรับฐานของราคาสินทรัพย์

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าชุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจตกต่ำกว่าที่คาด แต่ตลาดการเงินดูเหมือนไม่สนใจข้อมูลดังกล่าว โดยนักลงทุน ยังคงเพลิดเพลินกับ S&P500 ที่ปรับตัวระยะเวลา 50วันเพิ่มขึ้น สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน

ความไม่สัมพันธ์ระหว่าง ตลาดการเงินและภาคเศรษฐกิจจริง เพิ่มความเสี่ยงอีกรูปแบบคือ เมื่อความต้องการความเสี่ยงของนักลงทุนเริ่มลดลง จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคเศรษฐจริง เกิดความเสี่ยงการปรับฐานของราคาสินทรัพย์ เช่นกัน

การปรับฐาน หมายถึง การปรับตัวลงของราคาทรัพย์สินหรือดัชนีตั้งแต่ 10% หรือมากกว่า

IMF กล่าวว่า การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ณ ปัจจุบัน ค่อนข้างตึงตัวเต็มมูลค่าในหลายๆตลาด


· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม ขณะที่บริษัท Wirecard ประกาศล้มละลาย

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็ตาม

โดยดัชนี Stoxx600 ปรับสูงขึ้น 0.9% นำโดยหุ้นกลุ่มยานยนต์ ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก

ขณะที่บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินของเยอรมนี Wirecard ได้ยอมประกาศล้มละลาย ในช่วงเช้าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หลังจากที่ออกมายอมรับช่องโหว่ในบัญชีของบริษัทที่มีเงินสูญหายเป็นมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญ


· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ตลาดจีนปิดทำการในรวันไหว้บ๊ะจ่าง

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่พบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เหล่านักลงทุนยังให้ความสนไปใจยังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยสหรัฐฯยังคงถูกจับตามองหลังจากเป็นประเทศที่พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายวันพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีรายงานจาก NBC News ยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่มากกว่า 45,000 ราย ทำสถิติทะลุยอดเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา มากกว่า 9,000 ราย

โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.88% เนื่องจากหุ้นกลุ่ม Softbank พุ่งสูงึข้นกว่า 1% ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 0.91 ขณะที่ดัชนี Topix ลดลง 0.71%

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลียก็เพิ่มสูงขึ้น 0.52%

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.34%

สำหรับวันนี้ตลาดจีนจะปิดทำการเนื่องในวันหยุดเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่างเินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.80-31.00 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ เนื่องจากตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง รวมทั้งกังวลภาวะเศรษฐกิจโลก จึงทำให้นักลงทุนกลับมาถือเงินค่าเงินดอลลาร์ โดย ระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 30.92 บาท/ดอลลาร์ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 30.85 บาท/ดอลลาร์


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เห็นชอบขยายการบังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน จากที่จะหมดอายุในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อให้การผ่อนคลายมาตรการในระยะที่ 5 ที่เป็นกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค.ชุดใหญ่ ในวันที่ 29 มิ.ย.63

- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตลอดทั้งปีนี้และเห็นว่ากนง.เหลือขีดความสามารถในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อย่างมากอีกแค่ 1 ครั้ง(0.25) หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งล่าสุด กนง.ได้ปรับลด GDP ปีนี้ลงเหลือ -8.1% จากก่อนหน้าที่คาดไว้ -5.3%

· อ้างอิงจากสำนักข่าว Line Today

- IMF คาดเศรษฐกิจไทยติดลบ 7.7% ต่ำสุดในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ โดยในรายงานล่าสุดระบุว่า เศรษฐกิจใน 5 ประเทศอาเซียนจะติดลบ 2% ดลลงจากคาดการณ์เดิมที่ติดลบ 0.6% ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ขณะที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 4.9% พิษวิกฤตโควิด-19 ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก

พร้อมทั้งระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมาก แม้ว่าตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อในหลายประเทศกำลังลดลง และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ และผลกระทบเชิงลบต่อภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กำลังส่งผลอย่างเฉียบพลันและรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อกระบวนการลดความยากจนรุนแรงทั่วโลกนับัต้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990

· อ้างอิงจากสำนักข่าว MGR Online

- มาตรการปิดเมืองในต่างประเทศฉุดส่งออกไทย พ.ค.63 หดตัวลึก 22.5% แม้มีแรงหนุนจากส่งออกทองคำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยสถานการณ์ส่งออกของไทย แม้ว่าทองคำจะมีน้ำหนักช่วยพยุงให้ภาพรวมการส่งสินค้าออกในปี 63 แต่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในต่างประเทศ และหากยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในต่างประเทศยังยืดเยื้อยาวนาน ในไตรมาสที่ 2/63 แล้วจะเป็นปัจจุยลบกดดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงขึ้นและทำให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยช่วงครึ่งหลังปี 63 หดตัวลึกกว่าที่คาดไว้เดิม

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com