· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเล็กกน้อยในวันนี้ ขณะที่สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำและค่าเงินเยนปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้น กดดันข้อมูลภาคการผลิตของจีน ( Caixin/Markit manufacturing PMI ) ประจำเดือนมิ.ย.ที่ออกมาดีกว่าที่คาด เพิ่มขึ้นเป็น 51.2 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 50.5
ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่การเพิ่มขึ้นของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการสำรวจแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่นที่ลดลงและความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนในกรณีความมั่นคงของฮ่องกง
เจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกง แถลง จับกุมชายคนหนึ่งถือและนำธงเอกราชฮ่องกงมาร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นรายแรก หลังจากกฎหมายความมั่นคงใหม่นี้ผ่านการลงมติของสภาประชาชนจีนเมื่อวานนี้
สำหรับวันนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงจะปิดทำการเนื่องในวันหยุดประจำชาติ
ขณะที่สหรัฐฯพบยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารายวันมากที่สุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดมา ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนีย เท็กซัสและฟลอริดาต้องปิดบาร์ที่เปิดใหม่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางฝั่งออสเตรเลียได้ Lockdown เมืองเมลเบิร์นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
โดยตลาดกำลังรอคอยการประกาศข้อมูลกิจกรรมการผลิตในสหรัฐฯ คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น และข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีนี้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นขยับขึ้นเล็กน้อย 0.2% นำโดยหุ้นกลุ่มบลูชิพของจีนที่เพิ่มขึ้น 0.8% แต่ดัชนี Nikkei ปรับลดลง 0.8%
ด้านดัชนี S&P 500 futures ปรับลง 0.5% และตลาดหุ้นยุโรปซื้อขายล่วงหน้าเคลื่อนไหวในแดนลบเล็กน้อย
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง เนื่องจากผลสำรวจรายไตรมาสของบีโอเจแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนมิ.ย.ลดลง -34 จากเดิมที่ระดับ -8 ในเดือนมี.ค. ซึ่งนับเป็นระดับที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 11 ปี ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กดดันความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของเหล่านักลงทุน
ดัชนี Nikkei ปิดลง 0.75% ที่ระดับ 22,121.73 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 1.29% ที่ระดับ 1,539.61 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย.
การสำรวจของบีโอเจ ยังระบุว่า บริษัทขนาดใหญ่วางแผนที่จะเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุน 3.2% ในปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงเดือนมี.ค. ปี 2021 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก
ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้รับแรงกดดันอีกครั้งหลังจากที่นายโยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นอาจประกาศภาวะฉุกเฉินซ้ำอีกครั้ง หากเกิดสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุด
โดยญี่ปุ่นพยายามที่จะให้ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่อยู่ต่ำกว่า 20 รายต่อวันหลังจากได้คลายมาตรการ Lockdown ในปลายเดือนพ.ค อย่างไรก็ดีเมื่อ 6 วันที่ผ่านมา กลับมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50 ราย
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวทำระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 เดือน เนื่องจากธนาคารกลางของจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยและข้อมูลโรงงานในเดือนมิ.ยทที่ดีขึ้นของประเทศยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย refinancing สำหรับธุรกิจด้านการเกษตรและบริษัทขนาดเล็กลง 0.25% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย rediscount ลง 0.25% สู่ระดับ 2% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ปิดเพิ่มขึ้น 1.38% ที่ระดับ 3,025.98 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวในแดนบวก ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการคลายมาตรการ Lockdowns ในประเทศต่างๆ
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.3% ด้านหุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซ เพิ่มขึ้น 1.4% ขณะที่หุ้นสาธารณูปโภค ลดลง 0.3%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่มีวงเงินรายจ่าย 3.3 ล้านล้านบาท ประมาณการรายได้สุทธิ 2.67 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้ที่หดตัว -5 ถึง -6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อหดตัวตามราคาพลังงาน
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 64 จะกลับมาฟื้นตัวได้ 4-5% จากผลของฐานที่ต่ำในปี 63 นอกจากนี้แนวโน้มอุปสงค์จากต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิดผ่อนคลาย รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศด้วยเช่นกัน แต่การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
- สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส 2/63 อยู่ที่ 12 ซึ่งต่ำกว่าที่ผู้ประกอบการได้คาดการณ์ไว้เมื่อไตรมาสที่ 1/63 โดยได้คาดการณ์ไว้ที่ 62 สะท้อนสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ถือว่าต่ำกว่าระดับปกติมากที่สุดตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา
ส่วนไตรมาส 3/63 คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์อยู่ที่ 37 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความคาดหวังว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวในไตรมาสหน้าจะดีขึ้นกว่าไตรมาสนี้ แต่ก็ยังคงคาดว่าผลประกอบการอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากที่สุด
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า กกร.ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ เป็นติดลบ 5% ถึงติดลบ 8% จากเดิมคาดติดลบ 3% ถึงติดลบ 5% ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ คาดว่าจะติดลบมากกว่า 10%
ขณะที่การส่งออกปรับลดกรอบประมาณการมาอยู่ที่ติดลบ 7% ถึงติดลบ 10% จากเดิมคาดติดลบ 5% ถึงติดลบ 10% รวมถึงปรับลดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมาอยู่ที่ติดลบ1% ถึงติดลบ1.5% จากเดิมคาดอยู่ที่ 0-1.5%