· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวแบบผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากธนาคารกลางออสเตรเลียตัดสินใจประกาศคงอัตราดอกเบี้ย
ด้านตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 2 หลังจากที่ blockbuster ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้ โดยดัชนี Shenzhen พุ่งขึ้น 1.17% ปิดที่ระดับ 13,163.98 จุด ขณะที่ดัชนี Shanghai composite เพิ่มสูงขึ้น 0.37% ที่ระดับ 3,345.34 จุด หลังจากที่เมื่อวานนี้พุ่งขึ้นกว่า 6% จากการที่วารสาร China Securities Journal ซึ่งเป็นสื่อของทางการจีนได้เผยแพร่บทบรรณาธิการและบทความที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นเพื่อสนับสนุนตลาดภายในประเทศ พร้อมกับมองโอกาสตลาดขาขึ้น
ดัชนี Nikkei ลดลง 0.44% ปิดที่ระดับ 22,641.69 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.34% ปิดที่ระดับ 1,571.71 จุด รวมทั้งดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ลดลง 1.09% ที่ระดับ 2,164.17 จุด
ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ปิดทรงตัวที่ระดับ 6,012.90 จุด
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลง 0.59%
· จีนหนุนประชาชนซื้อหุ้น ส่งผลบวกต่อตลาด
บรรดานักกลยุทธ์ กล่าวว่า 2 ปัจจัยที่ช่วยหนุนภาวะขาขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวานนี้ คือการที่สื่อในประเทศของจีนมีการให้มุมมองสนับสนุนต่อการเข้าซื้อหุ้น รวมทั้งการที่บรรดาธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกต่างให้การสนับสนุนตลาดการเงิน
ทั้งนี้ China Securities Journal ซึ่งเป็นสื่อของทางการจีนได้เผยแพร่บทบรรณาธิการและบทความที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นเพื่อสนับสนุนตลาดภายในประเทศ พร้อมกับมองโอกาสตลาดขาขึ้น ได้ช่วยทำให้ตลาดหุ้นจีนวานนี้ปรับขึ้น นำโดยดัชนีเซี่ยงไฮ้ที่ปรับขึ้นกว่า 5.7% และกลายเป็นปัจจัยที่หนุนตลาดหุ้นทั่วโลก
หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการลงทุน ระบุว่า ตลาดหุ้นขึ้นจากการที่เฟดให้การสนับสนุนตลาดขาขึ้น ประกอบกับรายงานของสื่อจีนที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
· ซัมซุง ชี้ ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มข้น 23%
หุ้นบริษัทซัมซุงปรับลงหลังจากที่ตัวชี้วัดผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มจะปรับขึ้นได้ 23% ที่ 8.1 ล้านล้านวอน (6.8 พันล้านเหรียญ) เมื่อทียบกับปีก่อน จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าออกมาที่ 6.4 ล้านล้านวอน แต่มีการประเมินยอดขายมีแนวโน้มตกลงอีกกว่า 7% เมื่อเทียบรายปี หรือคิดเป็น 52 ล้านล้านวอน
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบสองในสหรัฐฯและข้อมูลที่อ่อนแอของเยอรมนี
หลังจากข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีประจำเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 7.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากร่วงลงไปที่ระดับ -17.5% ในเดือนเม.ยที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.7% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนร่วงลง 1.6% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- น.ส.กัณญภัค ตัณติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก ปรับลดคาดการณ์ส่งออกในปีนี้หดตัว -10% จากเดิมหดตัว -8% เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ตลาดส่งออกในหลายประเทศล็อกดาวน์ และปัญหาเงินบาทแข็งค่า หลังจากภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- พ.ค. 63 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 97,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -3.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
- "นักเศรษฐศาสตร์" ฟันธง "วิกฤติโควิด" ทุบเศรษฐกิจไทยหนักสุดเป็นประวัติการณ์ "จีดีพี" หดตัวลึกกว่าต้มยำกุ้ง "ศูนย์วิจัยกสิกร" ห่วงคุณภาพหนี้ พร้อมแนะจับตาปัญหาว่างงาน ด้าน "วิจัยกรุงศรี" เผยเอกชนขาดสภาพคล่องหนักกว่า 1.7 ล้านล้าน แนะรัฐเร่งเติม ป้องวิกฤติลากยาว ด้าน "แบงก์กรุงเทพ" ระบุครั้งนี้ หนักสุดรอบ 150 ปี ชี้คนกลุ่มล่างอ่วมสุด ขณะ "อีไอซี" ฟันธง เศรษฐกิจฟื้นรูปตัว "ยู" มองวิกฤติครั้งนี้เปิดจุดอ่อนประเทศ ด้านเทคโนโลยี