· หุ้นเอเชียแกว่งตัวตามข่าวไวรัสโคโรนาและตลาดสนใจการประกาศผลประกอบการบริษัท
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นในบางส่วนของโลกได้กดดันโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานในตลาด
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดลดลง 1.5% จากความกังวลที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการระบาดของไวรัส
นักเศรษฐศาสตร์จาก Tapas Strickland ระบุว่า หลังจากที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่การปรับตัวลดลงครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะลักษณะของการสะสมพลัง โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในโหมด “wait and see” ก่อนช่วงประกาศผลประกอบการ ซึ่งฤดูกลประกาศผลประกอบการไตรมาสสองจะเริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่สัปดาห์หน้า
เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเฝ้าดูจำนวนผู้เสียชีวิตของสหรัฐฯในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าและจะมีคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับข้อจำกัดที่จำเป็นหรือไม่
รัฐแคลิฟอร์เนียรายงานยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับรายวันที่สูงเป็นประวัติการณ์
ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในรัฐวิคตอเรียของออสเตรเลีย ซึ่งนำไปสู่มาตรการการ Lockdown ในเมืองเมลเบิร์น โดยประชาชนต้องเก็บตัวอยู่ภายในที่พักอาศัยและไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากเมือง ยกเว้นมีเหตุจำเป็น รวมถึงการไปซื้อสิ่งของจำเป็น ไปพบแพทย์ ไปทำงาน และไปเรียน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯและที่อื่นๆ รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากข้อจำกัดทางสังคมรอบใหม่
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 176.04 จุด หรือคิดเป็น 0.78% ที่ระดับ 22,438.65 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 14.48 จุด หรือคิดเป็น 0.92% ที่บริเวณ 1,557.23 จุด
ทั้งนี้ หุ้นที่ปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และภาคธนาคาร
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบหลายปี ติดต่อกันเป็นวันที่ 7 เนื่องจากความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงหนุนด้านกฎระเบียบและการค้าปลีก
โดยดัชนี Shanghai Composite พุ่งขึ้น 1.7% ที่ระดับ 3,403.44 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปี 2018 ที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI300 ปิดสูงขึ้น 1.6% ซึ่งเป็นรดะบสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. ปี 2015
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางการเพิ่มสูงขึ้นของการแพร่ระบาดจากไวรัสโคโรนาในพื้นที่ต่างๆของโลก ขณะที่ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.6% ด้านหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 1.5% ท่ามกลางตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- นายกฯ เผย รัฐจำเป็นต้องปรับกลไกในประเทศ เร่งรัดใช้จ่าย หวังช่วยฟื้นฟูศก.หลังโควิด-19 พร้อมเตรียมหามาตรการเพิ่มเติมช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ว่า รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องปรับกลไกภายในประเทศ และเร่งรัดการใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ด้านการส่งออก ได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งรัดการส่งออกในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ ทั้งทางบก ทางเรือ รวมถึงพัฒนาด่านการค้าให้ดำเนินการขนส่งไปได้ด้วยดี
ส่วนแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) นั้น รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องหามาตรการที่เหมาะสม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)
ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยอมรับว่าอาจเกิดขึ้นแน่นอน แต่ยืนยันว่า จะไม่ทอดทิ้ง เพราะเป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าไปดูแลอย่างดีที่สุด ส่วนการใช้วงเงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน นั้น ยืนยันว่า จะใช้อย่างเหมาะสม และระมัดระวังมากที่สุด ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดรวมถึงให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการใช้งงบในการฟื้นฟูได้" นายกฯ กล่าว
· อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
- กนง.เปิดรายงานประชุม ชี้ มาตรการด้านการเงิน-การคลัง ช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ หลังโควิด-19เริ่มคลี่คลาย ลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ส่งผลให้คณะกรรมการมีมิติคงดอกเบี้ย 0.50 ต่อปี
ขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มหดตัวรุนแรงในปีนี้และอาจใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าที่ประเมินไว้ เพราะการระบาดของ COVID-19 และมาตรการควบคุมการระบาดมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาด
แม้เศรษฐกิจบางประเทศเริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นบ้างจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักและเศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมจีน) มีแนวโน้มหดตัวแรงในปีนี้และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามกิจกรรมการผลิต การจ้างงาน และการบริโภคที่อ่อนแอลงมาก บางประเทศยังมีการระบาดของ COVID-19 ต่อเนื่อง หรือเผชิญการระบาดระลอกสองหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุม