· ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ต่ำสุดรอบหลายหลายสัปดาห์นี้ หยวนกลับมาแข็งค่า
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางการฟื้นตัวของสินทรัพย์ต่างๆ อาทิ การฟื้นตัวของตลาดหุ้น กับสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นอุปสรรคของดอลลาร์ที่อยู่ในฐานะ Safe-Haven
ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบดอลลาร์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่มีการเข้าถือสถานะในตลาดหุ้นมากขึ้นจากมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาในเอเชียก็ดูจะยังจำกัดให้ค่าเงินยังคงเคลื่อนไหวในกรอบอยู่
ค่าเงินยูโรแข็งค่าใกล้ระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.1339 ดอลลาร์/ยูโร หลังข้อมูลยอดส่งออกเยอรมนีอยู่ในทิศทางบวก โดยมีการรีบาวน์กลับได้หลังจากที่ดิ่งลงไปแดนลบนเดือนเม.ย.
ค่าเงินปอนด์ก็เคลื่อนไหวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดเมื่อเทียบดอลลาร์ที่ 1.2613 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่เงินเยนทรงตัวที่ 107.33 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินหยวนแข็งค่าลชงมาที่ 6.9875 หยวน/ดอลลาร์ โดยปรับลงหลุด 7 หยวน/ดอลลาร์ลงมามากที่สุดตั้งแต่ 17 มี.ค.
· เงินเยนทรงตัวเหนือแนวรับ 107.2 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางท่าทีระมัดระวังของตลาด
ค่าเงินเยนแข็งค่าท่ามกลางความเชื่อมั่นในตลาดที่เป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่า โดยตลาดยังมีความกังวลต่อความเสี่ยงเรื่องตึงเครียดจีน-ออสเตรเลียต่อกรณีฮ่องกงที่ดูเป็นอุปสรรคสำคัญต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ภาพทางเทคนิคในระยะสั้นๆ ค่าเงินเยนดูจะทรงตัวในกรอบ ท่ามกลางตลาดที่ดูเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่า โดยเงินเยนยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ และทรงตัวได้บริเวณ 107.2 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 20 วัน แต่เงินเยนจะกลับอ่อนค่าได้อีกครั้งต้องยืนได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 100 วัน
อย่างไรก็ดี หากเงินเยน Break ด้านใดด้านหนึ่งก็จะไปในทิศทางนั้น และหากเงินเยนหลุดแนวรับก็จะมีเป้าหมายถัดไปที่ 106.8 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 26 มิ.ย. แต่ถ้ากลับเทรนเป็นอ่อนค่าจะมีระดับราคาเป้าหมายที่ 108.35 เยน/ดอลลาร์
แนวต้าน: 107.95 108.35 108.65
แนวรับ: 107.20 106.80 106.60

· ญี่ปุ่นรายงานยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารายใหม่เพิ่มขึ้น 224 รายในวันเดียว ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดรายวันนับตั้งแต่ที่พบการแพร่ระบาดในเมืองหลวงของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ โตเกียวกำลังพยายามควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาดีดตัวขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ที่รัฐบาลยกเลิกภาวะฉุกเฉินเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนที่จะประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินนั้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในโตเกียวลดลงหลังจากพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 206 รายเมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา
· รัสเซียรายงานพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่เพิ่มมากกว่า 6,500 ราย
ประเทศรัสเซียรายงานพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่เพิ่มขึ้น 6,509 ราย ส่งผลให้มียอดรวมผู้ติดเชื้อทั้งหมด 707,301 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดอันดับที่ 4 ของโลก
ขณะที่มียอดผู้เสียชีวิต 176 รายในตลาด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสอย่างเป็นทางการรวมแล้วถึง 10,843 ราย
· “ปอมเปโอ” เล็งคว่ำบาตรบริษัทเทคโนโลยีจีนจากความกังวลขโมยข้อมูล
นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า ทีมบริหารของ
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เล็งที่จะทำการบล็อกบริษัทด้านเทเลคอมจีนที่พยายามจะขโมยข้อมูลของชาวสหรัฐฯตลอดจน Social Media โดยที่โครงสร้างด้านนี้จะต้องมีความเป็นส่วนบุคคลและมีการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนด้วยทุกวิธีทาง ขณะที่บริษัทฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์จีนไม่มีรูปแบบโมเดลเช่นนี้
· ยอดส่งออกเยอรมนีรีบาวน์น้อยกว่าคาดในเดือนพ.ค.
ยอดส่งออกเยอรมนีมีการรีบาวน์ได้น้อยกว่าที่คาดไว้ในเดือนพ.ค.นี้ ท่ามกลางอุปสงค์ในตลาดที่ยังชะอตัว แม้ว่าจะมีการคลาย Lockdown ก็ตาม โดยยอดส่งออกในเดือนพ.ค.โตเพียง 9% เมื่อเทียบรายเดือนหลังจากที่ดิ่งลงไป -24% ในเดือนเม.ย. ซึ่งยังอยู่ต่ำกว่า 27% ที่เคยโตได้ก่อนช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนาในเดือนก.พ.
ยอดนำเข้าเยอรมนีปรับขึ้นได้ 3.5% หลังร่วงลงไป 16.6% เมื่อเทียบในเดือนก่อนหน้า จึงบ่งชี้ว่าการอุปโภคบริโภคในยุโรปยังคงอ่อนแอ ด้านยอดเกินดุลเพิ่มขึ้นแตะ 7.6 พันล้านยูโร
ทั้งนี้ ยอดส่งออกจากเยอรมนีไปยังจีนลดลงกว่า 12.3% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ยอดส่งออกไปยังสหรัฐฯลดลงมากถึง 36.5% เมื่อเทียบกับช่วงพ.ค. เช่นเดียวกัน
· รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ชี้ ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และสิ่งที่ต้องจับตาคือเรื่องดอกเบี้ยและระดับหนี้สิน
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ กล่าวว่า อังกฤษกำลังเผชิญกับภาวะถดถอย แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ เนื่องจากยังเร็วเกินไป และข้อมูลการฟื้นตัวยังมี่เพียงเล็กน้อย โดยภาพรวมเราค่อนข้างกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการพบสัญญาณการเข้าสู่ภาวะถดถอยค่อนข้างชัดเจน
นอกจากนี้ การแจ้งเตือนถึงความเป็นไปได้เรื่องดอกเบี้ยถือเป็นเรื่องสำคัญ ท่ามกลางระดับหนี้ภาครัฐที่ดูจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยที่ ณ ปัจจุบัน เราสามารถกู้เงินได้ด้วยดอกเบี้ยระดับต่ำ แต่เราแบกรับภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้น
ดังนั้น การเปลี่ยนเปลงใดๆในเรื่องดอกเบี้ยถือเป็ฯเรื่องสำคัญที่จะมีผลต่อกรอบการเงินในอนาคต
· รัฐมนตรีกระทวงการคลังของอังกฤษจะเริ่มควบคุมการขาดดุลการคลังหากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
รัฐมนตรีกระทวงการคลังของอังกฤษ แถลงจะควบคุมวินัยทางการคลังให้กลับมาอยู่ในระดับที่มีความยั่งยืน ในระยะเวลาระยะกลาง หากเขาเห็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัส
รัฐมนตรีกระทวงการคลัง กล่าวต่อว่า การใบ้นโยบายการคลังหนุนเศรษฐกิจเป็นค่าใช้จ่ายต่อการคลังที่มากกว่าปกติมาก แต่การไม่ดำเนินนโยบายเลย จะส่งผลกระทบในระยะยาวที่รุนแรงกว่า อย่างไรก็ตาม สภาวะการคลังไม่สามารถยั่งยืนหากยังใช้จ่ายเหมือนเดิมได้ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนฟื้นฟูวินัยทางการคลังในระยะกลาง
· ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรฯมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการเว้นภาษีอย่างมากสำหรับผู้ซื้อบ้าน
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรฯส่งสัญญาณฟื้นตัวหลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการเว้นภาษีอย่างมากสำหรับผู้ซื้อบ้าน
รัฐบาลประกาศปรับเพิ่มเกณฑ์ราคาบ้านขั้นต่ำที่จะได้รับยกเว้นภาษี ที่ราคาบ้านที่มูลค่าไม่เกิน 500,000 ปอนด์
ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ซื้อบ้านกว่าร้อยละ 90ไม่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาล และจะช่วยให้ผู้ที่ซื้อบ้านราคาสูงกว่า 500,000 ปอนด์ประหยัดเงินได้สูงถึง 15,000 ปอนด์
· ธนาคารกลางญี่ปุ่นประมาณการเศรษฐกิจแย่ที่สุดในรอบศตวรรษ
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ปรับลดมุมมองสภาวะเศรษฐกิจลงโดยทั่วทุกภูมิภาคต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ Lehman Brother ล้มในปี 2008 ภาพดังกล่าวส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหรือ Recession
ธนาคารกลางญี่ปุ่น รายงานมุมมองสภาวะเศรษฐกิจที่แน่ลง โดยชี้ไปที่การลดลงอย่างมากของตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุน
ทั้งนี้ เป็นการรายงานก่อนการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นที่จะตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ถัดไป
· ราคาน้ำมันดิบทรงตัว ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการ Lockdown ที่กดดันสัญญาณการฟื้นตัวของแก๊สโซลีน
ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในวันนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการกลับมากังวลมาตรการ Lockdowns จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่กดดันสัญญาณการฟื้นตัวของปริมาณความต้องการแก๊สโซลีนในสหรัฐฯ
น้ำมันดิบ WTI ลดลง 3 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.07% ที่ระดับ 40.87 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อวานนี้ ขณะที่น้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 2 เซนต์ หรือคิดป็น 0.05% ที่ระดับ 43.31 เหรียญ/บาร์เรล หลังเพิ่มขึ้น 0.5% ช่วงก่อนหน้านี้
โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้จากข้อมูลสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันแก๊สโซลีนปรับลดลง 4.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล
เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 8.8 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม กรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในหลาย ๆ รัฐของสหรัฐฯอาจจะทำให้มีมาตรการ Lockdowns กลับมาอีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะระงับการฟื้นตัวของความต้องการใช้เชื้อเพลิง
นั่นทำให้สัญญาน้ำมันดิบอยู่ในระดับที่ตึงตัวในสัปดาห์นี้ แม้ว่าจะสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลได้ก็ตาม
