· ดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 360 จุด ท่ามกลางความหวังเรื่องยาต้านไวรัส ขณะที่หุ้น Netflix หนุนดัชนี Nasdaq ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวขึ้นท่ามกลางข่าวดีเกี่ยวกับข่าวการรักษาไวรัสโคโรนา จึงยิ่งเพิ่มความหวังว่าอาจจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤตการระบาดของไวรัส ท่ามกลางหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีตลอดสัปดาห์ที่แล้วที่ถือเป็นดาวเด่น
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 369.21 จุด หรือ +1.4% ที่ 26,075.3 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +1% ที่ 3,185.04 จุด แต่ดัชนี Nasdaq ปิด +0.6% ที่ 10,617.44 จุด ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัท Amazonและ Netflix
บริษัท Gilead Sciences กล่าวว่า ผลการทดลองพบว่า ยา Rremdesivir สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยไวรัสโคโรนาได้ถึง 62% เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน และข่าวนี้ได้ทำให้หุ้นบริษัทยาชนิดนี้ปรับขึ้นกว่า 2%
ด้านผู้บริหารบริษัท BioNTech กล่าวกั WSJ ที่ระบุว่า การทดลองวัคซีนอาจพร้อมต่อการอนุมัติในช่วงเดือนธ.ค. นี้
หุ้นเทคโนโลยีสดใส?
SentimentTrader.com ระบุว่า ช่วงไตรมาสที่ 3 ของหุ้น Nasdaq จะสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันได้ และระยะยาวมีแนวโน้มเป็นทิศทางขาขึ้น
ดัชนี Nasdaq 100 ปรับขึ้นได้กว่า 22% เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ปี 2000
อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในของ S&P กลับมาทำยอด Ratio สูงสุดตั้งแต่มี.ค. ปี 2000 นับตั้งแต่ที่เกิดภาวะ Tech-Bubble Market
· เช้านี้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สเปิด +160 จุด ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ขานรับข่าวยา แต่เมินยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์สปรับขึ้นได้ประมาณ 0.5%
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นท่ามกลางข้อมูลภาคอุตสาหกรรมอิตาลีและฝรั่งเศสที่ปรับขึ้นเกินคาด
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นจากข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสและอิตาลชีที่รีบาวน์ขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนพ.ค. โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +0.8% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ปิด +2.3% ขณะที่หุ้นกลุ่มสุขภาพเคลื่อนไหวในแดนบวก
ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีปรับตัวขึ้น 42.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ข้อมูลของฝั่งฝรั่งเศสปรับขึ้น 19.6% ในเดือนพ.ค.
· ตลาดหุ้นเอเชียพุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่หลีกเลี่ยงความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น
อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า องค์การอนามัยโลก รายงานการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายวันทั่วโลก โดยรัฐฟลอริดา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 15,000 ราย ซึ่งนับเป็นระดับรายวันที่สูงที่สุดจนถึงปัจจุบันสำหรับทุกรัฐในสหรัฐฯ นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ในประเทศ
โดยเช้านี้ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.34% จากหุ้นกลุ่ม Softbank และผู้ผลิตหุ่นยนต์ Fanuc พุ่งขึ้นมากกว่า 2% ด้านดัชนี Topix ปรับตัวสูงขึ้น 1.44% รวมทั้งดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.6%
ขณะเดียวกัน ดัชนี S&P ASX 200 ของออสเตรเลียได้เพิ่ม 1.44% เป็นหุ้นของธนาคารใหญ่ ๆ เช่น Commonwealth Bank of Australia และ Westpac เพิ่มขึ้นมากกว่า 2%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.24%
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทสำหรับนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.10-31.50 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาทั่วโลก ผลการประชุมบีโอเจ และอีซีบี
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือนมิ.ย. ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ Beige Book ของเฟด นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลจีดีพีไตรมาส 2/63 และตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนมิ.ย. ด้วยเช่นกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานในช่วงเช้าวันนี้ว่า ฝ่ายภาคเอกชนมีข้อเสนอให้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 รวมถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการลดภาระ เช่น การขยายเวลาพักชำระหนี้ การเสริมสภาพคล่อง เป็นต้น พร้อมกับกระตุ้นการท่องเที่ยววันธรรมดา และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง นอกจากนั้นยังเสนอให้นำโครงการชิมช้อปใช้มาดำเนินการอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
- รมว.คลังของไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ว่า ที่ประชุมสรุป 3 มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากโควิด-19 หลังจากที่ผ่านมาได้มีมาตรการออกมาช่วยเหลือแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 7 ก.ค.63 โดยเห็นว่าความเสี่ยงระบบการเงินเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้น การเตรียมพร้อมมาตรการเชิงป้องกันจึงมีความจำเป็น
- กรมสรรพากร คาดว่าจะเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ (e-Service) ได้ในปี ภาษี 64 หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ ไปเมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนจากนี้จะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หากเห็นชอบก็จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป และหลังจากนั้น 6 เดือนจึงจะเริ่มจัดเก็บได้
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวโครงการ Amazing Thailand Grand Sale 2020 ร่วมกับพันธมิตรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 15 ก.ค. - 15 ก.ย. 63 เป็นเวลา 2 เดือน ภายใต้แนวคิด "NON STOP SHOPPING" เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่พานักในประเทศไทย และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็น Shopping Destination รวมถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหลังวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
- คณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารที่ต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ (high yield bond) เพื่อช่วยเหลือบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ (bridge financing) สร้างสภาพคล่องและเสถียรภาพให้กับตลาดตราสารหนี้ high yield bond รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนรายใหญ่เปลี่ยนมาลงทุนผ่านมืออาชีพแทนการลงทุนโดยตรงในตราสารดังกล่าว