• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

    15 กรกฎาคม 2563 | SET News
 

หุ้นสหรัฐฯปิดพุ่งนำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มวัสดุอุปกรณ์

ดัชนีหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นนำโดยดัชนีดาวโจนส์ที่ปิด +2.13% ที่ระดับ 26,642.59 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +1.34% ที่ 3,197.52 จุด และ Nasdaq ปิด +0.94% ที่ 10,488.58 จุด

โดยตลาดปรับขึ้นจากหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มวัสดุที่ปรับตัวสูงขึ้น


· เช้านี้ดันชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์เปิดปรับขึ้นเกือบ 300 จุด ขานรับข่าววัคซีน Moderna มีประสิทธิภาพที่ดี และทำให้เกิดความหวังว่าจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สเปิด +270 จุด ด้าน S&P500 ฟิวเจอร์สเปิด +0.7% และดัชนี Nasdaq -100 เปิด +0.5%

ทั้งนี้ หุ้นบริษัท Moderna ปรับขึ้นกว่า 16% ตอบรับข่าวการเผยผลทดสอบวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของบริษัทที่สามารถสร้างการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันได้อย่าง "แข็งแกร่ง"


· หุ้นยุโรปปิดร่วงจากยอดติดเชื้อเพิ่ม ขณะที่หุ้น BT ปิด +4%

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดโลก

โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 1% ด้านหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงเกือบ 2.8% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ

ด้านหุ้น BT พุ่งขึ้น 4% หลังจากสหรัฐฯประกาศแผนการที่จะปลด Huawei จากเครือข่าย 5G ขณะที่หุ้นของบริษัทมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงหนุนจากความมุ่งมั่นของรัฐบาลในช่วงระยะเวลา 7 ปีในการถอดอุปกรณ์ของหัวเวย


· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา

เหล่านักลงทุนกำลังให้ความสนใจไปยังการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสโคโรนาของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสหรัฐฯที่เปิดเผยว่า วัคซีน mRNA-1273 สำหรับต้านไวรัสดังกล่าวที่ทางบริษัทผลิตขึ้นนั้น สามารถสร้างการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันได้อย่าง "แข็งแกร่ง"

อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่เมื่อวานนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามคำสั่งพิเศษเพื่อยุติการปฏิบัติเป็นพิเศษต่อ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแล้ว

เช้านี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.22% ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.11% และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 1.31%

ดัชนี S&P/ASX 200 ปรับตัวสูงขึ้น 0.68%

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้น 0.39


· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 31.35-31.70 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดในรอบ 5 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตามแรงซื้อค่าเงินดอลลาร์ของภาคธุรกิจและความกังวลเรื่องโควิด-19 ขณะที่ภูมิภาคอ่อนค่าเช่นกันแต่อ่อนค่าน้อยกว่าเรา

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นายกรัฐมนตรีของไทยสั่งการให้ศบค.ทบทวนมาตรการผ่อนคลายกรณีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยและกำชับให้กิจการและกิจกรรมต่างๆที่ได้รับการผ่อนคลายให้เปิดทำการแล้วทั้งหมดเข้มงวดกับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อไม่ให้การ์ดตก

- ศบค.จะทบทวนการผ่อนคลายมาตรการกักกันของบุคคลในคณะทูต โดยเฉพาะคู่สมรส บิดามารดาหรือบุตรของบุคคลดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกการอนุญาตการบินเข้าของกองทัพอากาศอียิปต์ที่อนุญาตแล้วและกำลังจะอนุญาต 8 เที่ยวบิน (17-20 และ 25-29 ก.ค.63)

- ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะหดตัว -8.1% แนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ว่าจะหดตัว -5.3% เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 63 มีแนวโน้มติดลบ -1.7% มากกว่าคาดว่าจะติดลบ -1.0% แต่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 64 ส่วนประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงและโน้มไปด้านต่ำ โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 64 จะขยายตัว 5.0% และเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 0.1%


· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

- นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งมีมาตรการควบคุมการระบาดแล้ว โดยสามารถควบคุม COVID-19 ได้เป็นผลสำเร็จและเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่เดือนมิ.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย และการผลิต


· อ้างอิงจากสำนักข่าวโพสทูเดย์

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประเด็นหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้วมีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ80.1% ในไตรมาส 1/2563 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม

สำหรับแนวโน้มในปี 63 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 63 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการพักชำระหนี้ ส่งผลทำให้ระดับหนี้ไม่ลดลงมากตามภาพเศรษฐกิจ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com