• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

    15 กรกฎาคม 2563 | Economic News

· ค่าเงินสกุลสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นจากความหวังวัคซีน ดอลลาร์ร่วงลงทำต่ำสุดรอบ 1 เดือน

ความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางสัญญาณความคืบหน้าของวัคซีนไวรัสโคโรนา ขณะที่หุ้นสหรัฐฯฟื้นตัว แต่ค่าเงินในสินทรัพย์โภคภัณฑ์ปรับขึ้น ขณะที่ดอลลาร์ทำต่ำสุดรอบ 1 เดือน

บริษัท Moderna เผยผลทดสอบวัคซีน Covid-19 ที่ส่งผลให้กลุ่มผู้ทดสอบ 45 รายมีภูมิต้านทานไวรัสได้ และจะยังเดินหน้าพัฒนาต่อ

หุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นตอบรับข่าวดังกล่าว โดยที่หุ้นยุโณปมีการเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น

ตลาดการเงินมีความหวังว่าบรรดาผู้นำอียูจะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกองทุนเงินฟื้นฟูไวรัสโคโรนาร่วมกันได้ในการประชุม EU Summit ในวันศุกร์และเสาร์นี้ จึงทำให้ยูโรปรับแข็งค่าขึ้นไปทำสูงสุดรอบ 4 เดือนที่ 1.14230 ดอลลาร์/ยูโร

นางอังเกลาร์ แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จะมีการประชุมคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีสเปนเพื่อให้เกิดความคืบหน้ามากขึ้น ทั้งนี้ในการประชุมวันก่อน นายกรัฐมนตรีอิตาลีกล่าวเตือนนางแมร์เคลว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่อียูไม่ควรที่จะมีเงื่อนไขที่มากเกินไป

นักวิเคราะห์จาก Commerzbank กล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว บรรดาผู้นำอียูมีการหารือสาระสำคัญร่วมกันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเห็นการบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้

ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นทำสูงสุดรอบ 4 เดือนที่ 1.1435 ดอลลาร์/ยูโร

ดัชนีดอลลาร์ปรับลงทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนในระหว่างการซื้อขายวันนี้ที่ 96.032 จุด

ตลาดจับตาการดาวน์เกรดของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่เยนตอบรับเล็กน้อยที่ 107.01 เยน/ดอลลาร์

· ทีมบริหารทรัมป์สร้างความประหลาดใจในการปรับแผนนักเรียนต่างชาติ

ทีมบริหารนายทรัมป์ล่าสุดมีการยกเลิกแผนที่จะระงับวีซ่านักเรียนและนักศึกษาต่างชาติหากการเรียนการสอนของทางสถานศึกษามีการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นแผนที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักในหลายภาคธุรกิจขนาดใหญ่และสถานศึกษา

อย่างไรก็ดี ทางทีมบริหารยังมีความตั้งใจที่จะออกกฎระเบียบในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้วั่นักเรียนต่างชาตินั้นจะยังสามารถอยู่ในสหรัฐฯได้หรือไม่หากพวกเยามีการเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์

· ทรัมป์ไม่สนใจเจรจาจีน

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงการปิดโอกาสเจราข้อตกลงเฟส 2 กับจีน โดยระบุว่า เขาไม่มีความต้องการที่จะทำการเจรจาจา อ้างเหตุจากการที่จีนเป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดของไวรัสโรนา

· จีนลั่นพร้อมตอบโต้หลังสหรัฐฯยุติสถานะพิเศษฮ่องกง

จีนกล่าวเตือนสหรัฐฯในการจะตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตร หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีคำสั่งลงนามยุติสถานะพิเศษฮ่องกง เพื่อเป็นบทลงโทษจีนต่อกฎหมายความมั่นคงฉบับพิเศษฮ่องกง ที่สหรัฐฯมองว่าเป็นการกดขี่ฮ่องกงมากเกินไป

· บีโอเจคงนโยบาย ย้ำระมัดระวังการปรับทบทวนการฟื้นตัว

ในการประชุมวันนี้บีโอเจมีมติตัดสินใจคงนโยบายและมุมมองการเติบทางเศรษฐกิจที่ว่าจะค่อยๆฟื้นตัวได้จากที่เผชิญผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ส่งสัญญาณการชะลอตัวหลังจากที่มีการปรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วถึง 2 ครั้งในปีนี้

อย่างไรก็ดี บีโอบเจมีการกล่าวเตือนถึงความไม่แน่นอนของแนวโน้มการเติบโตที่ยังอยู่ในระดับสูง อันมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ประกอบด้วย การระบาดระอก 2 ครั้งใหญ่ ที่อาจนำมาซึ่งอุปสรรคของระบบภาคธนาคาร

บีโอเจ เผยในรายงานแนวโน้มประจำไตรมาสที่ยังคงคาดการณ์การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งการฟื้นตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามผลกระทบจากไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่ยังมีอยู่

ขณะที่บีโอเจก็มีการตรึงระดับดอกเบี้ยตามคาดที่ -0.1% พร้อมเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่ 0% พร้อมกันนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการเข้าซื้อสินทรัพย์ รวมถึงโปรแกรมเงินกู้เพื่อบรรเทาความตึงเครียดทางการเงินของภาคบริษัท


· จีดีพีญี่ปุ่นคาดหดตัว 4.7% ในปีนี้

รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของบีโอเจถูกคาดว่าจะหดตัวลงไป -4.7% ในปีงบประมาณ 2020 แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม

นอกจากนี้ในการเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรายไตรมาส พบว่า สมาชิกบีโอเจมองเศรษฐกิจญี่ปุ่นติดลบในกรอบ -4.5% ถึง -5.7% แย่กว่าคาดการณ์เมื่อเดือนเม.ย. ที่อยู่ที่ระดับ -3.0% ถึง -5.0%

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Dai-ichi Life Research Institute กล่าวว่า ภาวะขาลงของเศรษฐกิจสะท้อนถึงการฟื้นตัวที่แย่กว่าที่คาดทั้งในญี่ปุ่นและทั่วประเทศ

แต่การหดตัวดังกล่าวก็อาจกลับมาขยายตัวได้ 3.3% ในปีงบประมาณ 2021 และ ขยายตัวได้ 1.5% ในปี 2020

ทั้งนี้ การคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจค่อนข้างมีกรอบกว้างระหว่าง 3.0% และ 4.0% ในปี 2021 รวมทั้ง 1.3% และ 1.6% ในปี 2022

ด้าน Core CPI ก็ปรับลงมาที่ -0.5% ของปีงบประมาณปีนี้ ก่อนที่คาดว่าจะรีบาวน์ได้ 0.3% ในปี 2021 และ 0.7% ในปีงบประมาณ 2022

สำหรับแนวโน้มรายงานที่เปิดเผยในการประชุมช่วง 2 วันนี้ บีโอเจยังตัดสินใจที่จะคงนโยบายการเงินไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 2 เดือนนี้ แต่ก็ยังคงเน้นย้ำถึงการจะจับตาทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ปรับร่วงลงไปในช่วงก่อนหน้านี้ โดยตลาดกำลังรอคอยขั้นตอนต่อไปจากการประชุมในวันนี้เกี่ยวกับการปรับลดกำลังการผลิตในอนาคตของกลุ่มโอเปกและโอเปกพลัส

ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 43.12 เหรียญ/บารืเรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 40.52 เหรียญ/บาร์เรล

สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของความต้องการเชื้อเพลิง แม้จะมีการระบาดของไวรัสโคโรนาก็ตาม อ้างอิงจากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) เผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับลดลง 8.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วจนถึงวันที่ 10 ก.ค. ขณะที่เหล่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล

สำหรับวันนี้จะมีการประกาศข้อมูลของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA)

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com