· ดอลลาร์แข็งค่ายอดค้าปลีกจีนอ่อนแอ
ค่าเงินดอลลาร์มีแรงหนุนจากความตึงเครียดการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งข้อมูลการอุปโภคของจีนที่กระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง จึงทำให้ดัชนีดอลลาร์จากที่ลงไปทำต่ำสุดเมื่อช่วงต้นตลาดที่ 95.99 จุด ปรับแข็งค่ามาแถว 96.13 จุด
การเพิ่มขึ้นของจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ยังเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน และกดดันการเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น โดยคืนน่ี้ตลาดให้ความสนใจกับการประชุมอีซีบี รวมทั้งแผนฟื้นฟูภูมิภาค คู่กับประเด็นตึงเครียดทั่วโลก
อ้างอิงจากสำนักข่าว The New York Times รายงานว่า ทีมบริหารของนายทรัมป์กำลังพิจารณาที่จะแบนการเดินทางของเจ้าหน้าที่จีนที่จะมาสหรัฐฯ
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงจากที่ขึ้นไปทำสูงสุดในรอบ 4 เดือนวานนี้ โดยในตลาดเอเชียเคลื่อนไหวที่ 1.1402 ดอลลาร์/ยูโร
การประชุมอีซีบีในวันนี้คาดจะคงนโยบาย แต่อาจมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อบรรดาผู้นำอียูเกี่ยวกับแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
· อีซีบีจะทำการชะลอมาตรการพิเศษ แม้จะมีความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้น
ถึงจะมีการชะลอการใช้มาตรการฉบับพิเศษ แต่อีซีบีก็จะน่าจะคงนโยบายหลักเอาไว้ในการประชุมวันนี้
ทั้งนี้ ปัญหาเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่สุดครั้งประวัติศาสตร์ ได้ทำให้อีซีบีมีการเข้าซื้อตราสารหนี้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อันรวมถึงการปล่อยเงินกู้เพื่อให้กระแสเงินสดหมุนเวียนสู่ตลาด จากความหวังในการช่วยเหลือเศรษฐกิจจนกว่ายุโรปจะพร้อมกลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลัง แต่การตัดสินใจที่รีบเร่งเกินไปจะส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างรุนแรงเช่นกัน เช่นความผันผวนอย่างหนักของต้นทุนการกู้ยืมของตลาดอิตาลี เป็นต้น
นอกจากนี้ การดำเนินการของอีซีบีก็อาจจะสร้างแรงกดดันให้แก่บรรดาผู้นำยุโรปในการทำข้อตกลงขั้นสุดท้ายสำหรับการเลื่อนระยะเวลาการสนับสนุนทางการเงินออกไป หากอีซีบีตัดสินใจปรับลดการหนุนนโยบายทางการเงิน
· จีนชี้การที่อังกฤษแบนหัวเวย จะยิ่งทำลายความเชื่อมั่นด้านการลงทุน
รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าว่า หลังจากที่อังกฤษตัดสินใจเข้าร่วมกับสหรัฐฯในการแบนบริษัทหัวเวยของจีน ก็ดูเหมือนจะทำลายความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของจีนภายในอังกฤษเองด้วย
ด้านนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประกาศคำสั่งให้ยกเลิกการใช้อุปกรณ์ของบริษัทหัวเวย ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมสัญชาติจีนให้หมดสิ้นจากเครือข่ายระบบสื่อสารแบบไร้สาย 5G ภายในปี 2027
· ACEA ระบุยอดขายรถยนต์ใหม่ในยุโรปดิ่ง-24.1% เมื่อเทียบรายปีในเดือนมิ.ย.
สมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ยุโรป (ACEA) เผยผลสำรวจยอดขายรถยนต์ในยุโรป, อังกฤษ และจากสมาพันธ์การค้าเสรีของยุโรป (EFTA) ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ของยุโรปในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบปีที่แล้วปรับตัวลดลงต่อ แต่ก็มีสัญญาณฟื้นตัวได้บ้างนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่มีการคลาย Lockdown โดยปรับลงไปประมาณ 24.1% เมื่อเทียบรายปี แตะ 1,131,843 ราย ขณะที่เดือนพ.ค. ยอดขายดิ่งหนัก -56.8% เมื่อเทียบราปี
ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ในเยอรมนีร่วงลง -32.3% คู่กับยอดขายที่ลดลงในสเปน, อิตาลี และโปรตุเกส ที่ร่วงลงไปกว่า 36.7%, 23.1% และ 56.2% ตามลำดับ
· จีดีพีจีน Q2/2020 เติบโตได้ 3.2%
รายงานจีดีพีจีนโดยในช่วงไตรมาส 2/2020 ขยายตัวได้มากกว่าที 3.2% ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเป็นการรีบาวน์ได้กลับจากไตรมาสแรกที่หดตัวลงไป -6.8% โดยเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1992
สัญญาณการฟื้นตัว:
การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจจีนบางส่วนได้สะท้อนถึงสัญญาณการฟื้นตัวได้บ้างแล้ว โดยจะเห็นได้ว่าข้อมูลด้านการค้าในเดือนมิ.ย. ทั้งนำเข้าและส่งออกก็ปรับตัวได้ดีขึ้น ขณะที่กิจกรรมทางด้านการผลิตก็ขยายตัวได้ดีขึ้นในเดือนพ.ค.
นักวิเคราะห์บางราย คาดว่า การฟื้นตัวของจีดีพีจีนอาจมีเสถียรภาพมากขึ้นในอีก 2 ไตรมาสต่อไปเป็นอย่างน้อย ท่ามกลางภาวะภายในประเทศที่เป็นไปได้ดีขึ้น ประกอบกับการเติบโตทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการกลับมาเปิดภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในอีก 2 ไตรมาสเราอาจเห็นจีดีพีจีนโตได้ประมาณ 5% ขณะที่ภาพรวมปีที่แล้วจีดีพีจีนโตได้มากถึง 6.1%
· จีนหวังข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯจะยังเดินหน้าต่อไป
โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวว่า จีนยังหวังที่ข้อตกลงการค้าเฟสแรกจะยังเดินหน้าต่อไป พร้อมกับกล่าวย้ำถึงความตั้งใจที่จะดำเนินตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ร่วมกัน แม้ว่าสหรัฐฯจะตัดสินใจคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่และบริษัทของจีนเมื่อไม่นานมานี้
· ระบบการเงินสิงคโปร์ฟื้นตัวแม้ว่าจะได้รับผลกระทบขาลงที่ย่ำแย่ที่สุด
ประธานธนาคารกลางสิงคโปร์ ระบุว่า ระบบการเงินของสิงคโปร์ยังคงเติบโตได้และมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากภาวะขาลงมากที่สุดอันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยจะเห็นได้จากข้อมูลการค้าที่เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างมากในไตรมาสที่ 2 ที่หดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 41.2%
· อัตราว่างงานออสเตรเลียพุ่งสูงสุดรอบ 22 ปี
อัตราการว่างงานของออสเตรเลียพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิ.ย. แม้ว่าจะมีการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจบางส่วนก็ตาม โดยการจ้างงานขยายตัวได้เพียง 210,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. หลังจากที่ดิ่งหนักเมื่อช่วงเม.ย. - พ.ค.
ขณะที่อัตราว่างานยังคงอยู่ในระดับสูงสุดรอบ 22 ปี ที่ 7.4% สะท้อนว่าถึงจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นก็ไม่เพียงพอจะชดเชยการตกงานที่เกิดขึ้นได้ และอัตราว่างานในมิ.ย. ก็ปรับขึ้นอีก 1.3% สู่ระดับ 64% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเม.ย.
· เงินเฟ้ออินเดียเพิ่มอาจทำให้ RBI ชะลอมาตรการ
Reuters รายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดียมีการชะลอตัว จึงอาจทำให้ธนาคารกลางอินเดีย หรือ RBI มีแนวโน้มจะยังคงทิศทางการปรับลดดอกเบี้ย แต่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้นๆก็อาจส่งผลให้คณะกรรมาธิการของ RBI ใช้เป็นเหตุผลที่จะคงนโยบายไว้ก่อนในเวลานี้
· นายกฯไทยปรับตำแหน่งครม. เดือนหน้า หลังทีมเศรษฐกิจประกาศลาออก
นายกรัฐมนตรีไทย แถลงการณ์ในวันนี้เกี่ยวกับการปรับครม. หลังทีมเศรษฐกิจของคณะรัฐบาล อันรวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการคลังไทยประกาศลาออก โดยคาดการจัดตั้งจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดภายในเดือนหน้า
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากกลุ่มโอเปกพลัสตกลงที่จะปรับลดอุปทานน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงจากการที่กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรอย่างรัสเซียจะเห็นพ้องกันในการชะลอการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือนส.ค.
แม้ว่าการร่วงลงในครั้งจะเป็นการร่วงลงอย่างจำกัด จากอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อมูลจาก EIA สะท้อนถึงภาวะสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลงเกินคาดกว่า 7.5 ล้านบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.8% ที่ระดับ 43.46 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.0% ที่ระดับ 40.78 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่พุ่งขึ้นไปได้ 2% ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ปรับตัวลง
ทั้งนี้ กลุ่มโอเปกพลัส ตกลงที่จะทำการปรับลดกำลังการผลิตเพียง 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค. 63 หลังทำการปรับลดกำลังการผลิตกว่า 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ตั้งแต่เดือนพ.ค.ที่ผ่านมาจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงทั่วโลก
