· ตลาดหุ้นเอเชียและดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้น ท่ามกลางความหวังว่ารัฐบาลจะมีการใช้จ่ายทั่วโลกมากขึ้น จึงบดบังความกังวลจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน
กลุ่มนักลงทุนกำลังให้ความสำคัญว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะมีการปรับเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างไร ซึ่งบางส่วนคาดอาจเห็นมาตรการอื่นมาสนับสนุนจากนโยบายที่จะหมดอายุในสัปดาห์นี้
ด้านสภาครองเกรสสหรัฐฯจะเริ่มหารือเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวในช่วงสัปดาห์หน้า ท่ามกลางรัฐในตอนใต้และตะวันตกที่กลับมาประกาศใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้งเพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากที่ร่วงลงไปใน 2% ในช่วงก่อนหน้านี้
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนในตลาดที่แย่ลง หลังจากที่รัฐบาลประกาศพบยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารายวันเพิ่มสูงขึ่นเป็นประวัติการณ์
ผู้ว่าราชการโตเกียว กล่าวว่า พบยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นจำนวน 293 ราย ทะลุยอดสูงุสดในวันก่อนหน้า
จำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในทุกวันทำให้รัฐบาลต้องลดขนาดโครงการเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือให้จำกัดใช้แคมเปญนี้เฉพาะในภูมิภาคที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้วเท่านั้น
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.32% ที่ระดับ 22,696.42 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มึข้นได้ 0.8%
ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.33% ที่ระดับ 1,573.85 จุด ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.4%
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวแย่ที่สุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากข้อมูลจีดีพีของจีนออกมาดีกว่าที่คาด ขณะที่เหล่านักลงทุนต่างชาติเทขายทำกำไรหลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นไปได้ในช่วงก่อนหน้านี้
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.1% ที่ระดับ 3,214.13 จุด ด้านดัชนีกลุ่มบลูชิพเพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 4,544.70 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยหุ้นกลุ่มยานยนต์พุ่ง 2.1%
ท่ามกลางการพบกันของผู้นำสหภาพยุโรปเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้นำสหภาพยุโรปเตรียมที่จะหารือเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯยังคงพุ่งสูงขึ้น
โดยผู้นำยุโรปจะพบกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ เพื่อหาข้อตกลงเกี่ยวกับงบจำนวน 7.5 แสนล้านยูโร เพื่อช่วยแต่ละประเทศให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาด แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสรุปรายละเอียด เนื่องจากฐานะทางการเงินที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ จึงจำเป็นต้องให้ทุกฝ่ายมาพบกันด้วยตนเองในที่สุด
ขณะที่ตลาดยังคงให้ความสนใจไปยังยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯ โดยเมื่อวานนี้สำนักข่าว Reuters รายงานว่า พบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 77,000 ราย
ดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์พุ่งขึ้น 2.1% ขณะที่หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนลดลง 0.2%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัดส่วนของพรรคว่า พรรคจะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 21ก.ค.นี้เพื่อหารือรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวแต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะได้ข้อสรุปเลยหรือไม่แต่เรื่องนี้ยังพอมีเวลาซึ่งตามขั้นตอนเมื่อได้รายชื่อแล้วก็จะส่งให้หัวหน้าพรรคพิจารณาก่อนส่งต่อไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย
- ภาคเอกชนเชื่อปรับครม.เศรษฐกิจไม่มีปัญหา เพราะที่ปรึกษานายกฯยังใช้ชุดเดิม นโยบายน่าจะยังต่อเนื่อง แต่แนะตั้งคนที่
มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ที่สำคัญต้องบริหารเม็ดเงิน 1.9 ล้านล้านให้มีประสิทธิภาพ
- รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ประเมินอุตสาหกรรมไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว มั่นใจว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ต้องไม่มีการระบาดซ้ำหรือกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคในระยะที่ 2 โดยเฉพาะใน 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีการขยายตัวต่อเนื่องและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ได้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์รักษาโรค และอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเดือน
ส.ค.นี้ มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.25% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
อีกรอบ และถ้าหากเศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในอนาคต รวมทั้งนโยบายการคลังยังไม่สามารถเป็นตัวหลักของการกระตุ้น
เศรษฐกิจ มองว่าอาจทำให้ดอกเบี้ยนโยบายลดถึงระดับ 0%