· S&P500 ปิดพุ่ง เทรดเดอร์จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, กังวลไวรัสโคโรนา
ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวขึ้นในคืนวันศุกร์ +0.29% ที่ 3,224.75 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด +0.28% ที่ 10,503.19 จุด ด้านดัชนีดาวโจนส์ปิดอ่อนตัวลงมา 0.23% ที่ 26,672.36 จุด
ทั้งนี้ กลุ่มนักลงทุนกำลังมองโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเห็นการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ท่ามกลางความกังวลในกลุ่มภาคธุรกิจเกี่ยวกับจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ขณะที่ภาพรวมในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 ปิด +1.2% และดาวโจนส์ปิดรายสัปดาห์ที่ +2.3% ขานรับข่าววัคซีนไวรัสโคโรนาในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว
แต่ดัชนี Nasdaq ภาพรายสัปดาห์ปรับลง -1.1% จากกลุ่มนักลงทุนที่เทขายหุ้นกลุ่มตัวเด่น ทั้ง Microsoft Corp และ Amazon.com Inc เพื่อเข้าถือหุ้นกลุ่มวัฎจักรแทน
ขณะที่สัปดาห์นี้ สิ่งที่นักลงทุนจะจับตากันคือรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2020 ได้แก่บริษัท Microsoft, Tesla, Intel และ Verizon Commuications เป็นต้น
· ยุโรปปิดผสมผสานท่ามกลางผู้นำอียูประชุมเรื่องมาตรการหนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติม
หุ้นยุโรปปิดผสมผสานกันในคืนวันศุกร์ โดยที่บรรดาผู้นำอียูมีการนัดหารือกันเรื่องแพ็คเกจฟื้นฟูวิกฤตไวรัสโคโรนา ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ยังอยู่ในระดับสูง และทำให้ตลาดยุโรปเปิดมาด้วยท่าทีระมัดระวัง
· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่รอคอบการประกาศข้อมูลเงินกู้ของจีน
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกัน เนื่องจากเหล่านักลงทุนที่กำลังรอคอยการประกาศข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของจีน โดยผลการสำรวจของ Reuters คาดว่า ธนาคารกลางจีนจะคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Loan Prime Rate)
ด้านฮ่องกงจะถูกจับตามองปฏิกิริยาเนื่องจากมีข้อจำกัดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง หลังมีการรายงานพบผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนารายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ราย ภายใน 24 ช.ม.ในช่วงสุดสัปดาห์
นางแครี่ แลม กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาบนเกาะฮ่องกงรุนแรงมาก และไม่มีสัญญาณว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาได้ภายในเร็ววัน
อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ยอดการส่งออกของญี่ปุ่นประจำเดือนมิ.ย.ร่วงลง 26.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 14.4% นั่นคือการลดลงที่แย่กว่าที่คาดไว้ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่าจะลดลง 24.9% และคาดว่ายอดนำเข้าจะลดลง 16.8%
ขณะที่เดือนพ.ค.ยอดการส่งออกของญี่ปุ่นลดลง 28.3% ซึ่งเป็นอัตราการลดลงที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก เนื่องจากการส่งมอบรถยนต์กับสหรัฐฯลดลง ซึ่งธุรกิจยานยนต์ซึ่งเป็นภาคการส่งออกขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นลดลงในช่วงแรก ๆ โดยนิสสันลดลง 2.39%, Mitsubishi Motor ร่วงลง 2.12% และ Suzuki ร่วงลงเกือบ 2%
เช้านี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.19% ด้านดัชนี Topix เคลื่อนไหวทรงตัว
ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลียลดลง 0.23% และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ลดลง
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว
· รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า กลุ่มผู้ชุนนุมประท้วงกว่า 2,500 คนของไทย ออกมาเรียกร้องให้คณะรัฐบาลประกาศลาออก และยุบสภา โดยเมื่อวานนี้มีการชุมนุมประท้วงกันบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
· นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ที่ระดับ 31.50-31.90 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ของไทยและต่างประเทศ ท่าทีระหว่างสหรัฐฯ-จีน สัญญาณฟันด์โฟลว์ และข้อมูลการส่งออกของไทยในเดือนมิ.ย.
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย. ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้LPR ประจำเดือนก.ค. ของธนาคารกลางจีน และดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนก.ค. ของหลายประเทศชั้นนำด้วยเช่นกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.คลัง ชี้แจงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนและประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ 1-3% โดยยืนยันว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะต่ำกว่าขอบล่างของกรอบ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในไตรมาส 2/64 จากนโยบายการเงินการคลังผ่อนคลายต่อเนื่อง โดย ธปท.จะติดตามพัฒนาข้อมูลความเสี่ยงต่างๆ และพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในเวลาอันเหมาะสม
- นายกรัฐมนตรีของไทย เชื่อมั่นว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐมนตรีทุกคนไม่ได้บกพร่องอะไร เพียงแต่มีสถานการณ์หลายอย่างเข้ามากดดัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนประชาชนอาจจะรู้สึกดีขึ้นได้ และเชื่อว่าโฉมหน้า ครม.ชุดใหม่จะออกมาดีและขอให้รอดูผลงาน พร้อมระบุว่า ในรอบนี้จะทำหน้าที่คุมทีมเศรษฐกิจด้วยตัวเอง
- ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า สิ่งที่คาดหวังจะเห็นจากทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรี คือการเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว ซึ่งโครงการที่ดีและเป็นประโยชน์ที่ทีมเศรษฐกิจชุดนี้ได้ทำไว้ เช่น โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี), โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ตลอดจนการพัฒนาเมืองโดยรอบสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษาด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมมากขึ้น
- ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization: JETRO) รายงานสรุปการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ประจำครึ่งแรกของปี 63 โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่านักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงให้ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทยและมีแนวโน้มขยายการลงทุนต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม นักลงทุนญี่ปุ่นมุ่งหวังว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวขึ้น
- ประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการฯว่า ที่ประชุมได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครจำนวน 6 รายในเบื้องต้นแล้ว โดยพบว่ามีบางรายอาจมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด จึงได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะเลขานุการ ไปดำเนินการตรวจสอบก่อนจะนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
- คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ เห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขของโครงการ 2 เรื่องคือ การปรับคุณสมบัติลูกหนี้ โดยเลื่อนวันของการเป็น NPL (วัน cut-off date) และการปรับเกณฑ์ห้ามก่อหนี้ใหม่ เพื่อให้โครงการสามารถขยายความช่วยเหลือลูกหนี้ในวงกว้างมากขึ้น สอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในระยะที่ 2 ของ ธปท. รวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเสนอแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้ ให้แก่ลูกหนี้ที่ต้องการแก้ปัญหา