· ดอลลาร์ลดแรงอ่อนค่า จากตึงเครียดสหรัฐฯและจีน
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันนี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ และเมื่อเทียบกับเงินหยวน อันเนื่องจากตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ทำให้ตลาดมีท่าทีระมัดระวังมากขึ้น
ทั้งนี้ สหรัฐฯให้เวลาจีนถึงวันพรุ่งนี้ (ศ 24 ก.ค.) ในการปิดสถานกงสุลในนครฮูสตัน จากข้อกล่าวหารว่ามีการสืบค้นข้อมูล และนายทรัมป์ยังระบุอีกด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสั่งปิดสถานกงสุลแห่งอื่นๆ
ด้านจีนก็พร้อมที่จะตอบโต้ และนั่นทำให้เงินหยวนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน เมื่อวานนี้
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาที่ 1.1580 ดอลลาร์/ยูโร ต่ำกว่าระดับสูงสุดรอบ 21 เดือนที่ทำไว้ที่ระดับ 1.1601 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงเมื่อคืนนี้ตอบรับแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ
ออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่าจากแข็งค่ามากที่สุดรอบ 15 เดือน ขณะที่วันนี้ค่าเงินเยนทรงตัว และตลาดค่อนข้างมีปริมาณการซื้อขายเบาบางเนื่องด้วยเป็นวันหยุดของทางญี่ปุ่น
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯร่วงลงจากนักลงทุนจับตาเจรจากระตุ้นเศรษฐกิจ, ข้อมูลภาคแรงงาน และตึงเครียดสหรัฐฯ-จีน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลงมาบริเวณ 0.5905% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลง 1.2848%

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯถือเป็นปัจจัยสำคัญในคืนนี้ที่จะเปิดเผยในช่วง 08.30น. ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะยังมีคนตกงานอีก 1.3 ล้านคนในการขอเข้ารับสวัสดิการว่างงานที่ผ่านมา
ขณะที่วานนี้ ส.ว. พรรครีพับลิกัน เผยว่า มีการบรรลุข้อตกลงหลักๆเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแพ็คเกจช่วยเหลือแล้วซึ่งอาจต้องรอนำเสนอไปยังเดโมแครตต่อในสัปดาห์นี้ ซึ่งทุกส่วนดูจะพยายามเร่งให้เกิดร่างกฎหมายให้ได้ก่อนที่แพ็คเกจช่วยเหลือฉบับก่อนหน้าจะหมดอายุลงในสิ้นเดือนนี้
CNBC รายงานว่า พรรครีพับลิกันจะทำการพิจารณาการขยายการช่วยเหลือคนว่างงานเป็นการชั่วคราวออกไปถึงสิ้นปี และมีแนวโน้มที่จะเห็นการลดวงเงินช่วยเหลือ 400 เหรียญ/เดือน
· นายทรัมป์ประกาศมาตรการดูแลปกป้องผู้ป่วยและบุคคลากรในศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
นายทรัมป์ ประกาศมาตรการที่จะปกป้องผู้ป่วยและบุคคลากรในศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสอย่างเลวร้าย โดยรัฐบาลจะเพิ่มการตรวจเชื้อในศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ และจะกระจายชุดตรวจเครื่องมือตรวจเชื้อแบบเร่งด่วนกว่า 15,000 ชุดไปยังศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
· "ทรัมป์" หนุนไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคพัฒนาวัคซีนไวรัสโคโรนา คาดว่าเราจะเป็นผู้ชนะ
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยินดีกับข้อตกลงของรัฐบาลวงเงิน 1.95 พันล้านเหรียญ ที่ทำร่วมกับบริษัทไฟร์เซอร์ และไบโอเอ็นเทค ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ในการสนับสนุนวัคซีนไวรัสโคโรนาของประเทศ ในการพัฒนาความเป็นไปได้ของวัคซีนให้สามารถผลิตได้ 100 ล้านโดส โดยหากวัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพก็จะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และคาดว่าจะเห็นการอนุมัติเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
· สหรัฐฯจะจ่ายค่าวัคซีนไวรัสโคโรนาแก่บริษัท Pfizer และ BioNTech 2 พันล้านเหรียญ สำหรับ 100 ล้านโดส
รายงานจาก CNBC ระบุว่า สหรัฐฯจะทำการจ่ายเงินให้แก่บริษัทไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค มูลค่า 1.95 พันล้านเหรียญในการผลิตยาต้านวัคซีน COVID-19 ได้จำนวน 100 ล้านโดส หากได้รับการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และการมาของข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงครั้งใหญ่ระหว่างรัฐบาลและภาคบริษัทในการพัฒนาวัคซีน
ขณะที่กระทรวงสาธารสุขและสวัสดิการมนุษย์ เรียกร้องให้สหรัฐฯเพิ่มจำนวนโดสเป็น 500 ล้านโดสแทน
หากหนึ่งในวัคซีนที่ทำการทดลองได้รับการตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการทดลองเฟสที่ 3 รวมทั้งได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล ทางบริษัทไฟเซอร์ก็จะเริ่มต้นส่งโดสยาได้ทั่วทั้งสหรัฐฯ และให้แก่รัฐบาลโดยตรง โดยที่วัคซีนดังกล่าวจะไม่มีค่าใช้จ่ายให้แก่ชาวสหรัฐฯใดๆ
· ความเสี่ยงในตลาดเพิ่มขึ้นท่ามกลางตึงเครียดสหรัฐฯและจีนที่อาจกลายเป็นสงครามเย็นครั้งใหม่
ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งสร้างอุปสรรคทางเศรษฐกิจให้ตึงตัวนานมากยิ่งขึ้นและส่งผลให้นักลงทุนกลับมาประเมินทิศทางมุมมองตลาดโลกอีกครั้ง
ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ หลังจากที่สหรัฐฯมีการแจ้งจับแฮ็กเกอร์ชาวจีน 2 รายที่ดูจะพุ่งเป้าไปยังบริษัทสหรัฐฯที่ทำการวิจัยเรื่องไวรัสโคโรนา และการขโมยข้อมูลโทรศัพท์ต่างๆทั่วโลก
จากนั้น สหรัฐฯก็มีคำสั่งปิดสถานกงสุลจีนในนครฮูสตัน โดยอ้างความจำเป็นในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน
หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนจาก Rockefeller Asset Management กล่าวว่า วิกฤตไวรัสโคโรนา ตลอดจนการที่จีนมีกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกงฉบับใหม่ ดูจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สหรัฐฯ และชาติตะวันตก รวมทั้งจีนกลับสู่ภาวะปกติได้ การแยกห่วงโซ่การผลิต (Decoupling) ดูจะเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีนี้ เว้นแต่ว่าจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญๆ ซึ่งก็ไร้วี่แววที่จะเห็นจีนทำการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น
· นาย Bruno Le Maire รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 8% ในปี 2021 พร้อมทั้งระบุว่า รัฐบาลต้องการให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตในปี 2022
นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุด“ น่าพอใจ แต่เปราะบางเกินไป” ที่จะเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์สำหรับการหดตัวทางเศรษฐกิจ 11% ในปีนี้
· ออสเตรเลีย กำลังเผชิญความจริงอันโหดร้ายของการระบาดของไวรัสเผชิญการขาดดุลงบประมาณ
ออสเตรเลียจะขาดดุลงบประมาณมากที่สุดในปีนี้นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การระบาดของไวรัสส่งผลให้ออสเตรเลียเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี และ บีบให้รัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล การขาดดุลงบประมาณในปี 2020 นี้จะขาดดุลสูงถึง 6.13ห มื่นล้านเหรียญ ผิดไปจากการประมาณการก่อนหน้าที่ประเมินว่าจะเป็นการเกินดุลงบประมาณ
· ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรากำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายๆประเทศของเอเชียแปซิฟิก
ประเทศบางแห่งในเอเชียแปซิฟิกยังคงเผชิญกับจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหลายเดือนหลังจากที่เผชิญกับการระบาดครั้งแรกในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ที่เป็น First Wave ของการระบาด ก็ดูจะยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องในเวลานี้ และอินเดียกลายเป็นประเทศลำดับที่ 3 ของโลกที่มียอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มมากที่สุดกว่า 1 ล้านราย ขณะที่อินโดนีเซียก็มียอดติดเชื้อแซงหน้าจีนที่เป็นยอดผู้ติดเชื้อที่สูงที่สุดในฝั่งเอเชียตะวันออก
ขณะที่หลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย และญี่ปุ่นก็มีการกลับมาระบาดครั้งใหม่ที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะเผชิญกับ Second Wave ด้วย
· รัฐบาลฟิลิปปินส์พิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
เลขาธิการจาก National Economic and Development Authority เผยว่า
รัฐบาลฟิลิปปินส์จะทำการประกาศสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมาตรการทางการเงินและการสนับสนุนเงินทุนให้แก่ภาคธนาคาร เพื่อให้การช่วยเหลือแก่นิติบุคคลและบริษัทต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส
ไต้หวัน เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ไต้หวัน เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 มูลค่า 210,000 ล้านไต้หวันดอลลาร์ หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโคโรนาไวรัส ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ประเทศผู้ส่งอออกย่างไต้หวันจะชะลอตัวในต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี
· ไทยสูญเสียรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจคนสำคัญในการพาประเทศฟื้นตัวจากวิกฤตไวรัสโคโรนา
CNBC รายงานว่า ประเทศไทยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการสูญเสียรัฐมนตรีคนสำคัญไปหลายราย ที่ดูจะสร้างความไม่แน่นอนให้แก่ทิศทางเศรษฐกิจมากขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระทบกับภาคการท่องเที่ยวของไทยและเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรุนแรง
ขณะที่ภาพ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่เกิดขึ้นไม่ถือเป็น "เรื่องใหม่"
คาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจจาก Capital Economic คาดเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลงโดยคาดจีดีพีไทยน่าจะร่วงลงไป -9% ในปีนี้
นักวิเคราะห์จาก Nomura ระบุว่า ไม่คาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐมนตรีจะช่วยสร้างเสถียรภาพหรือกระทบต่อแผนการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมากนัก ขณะที่การลาออกของอดีตรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสมคิด ก็อาจสร้างความกังวลให้แก่ภาพทางการเงินบ้างบางส่วน และคาดว่าจะกระทบต่อนโยบายทางการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีผลมากขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะขาลงเชิงลึก
แต่นักวิเคราะห์ ANZจากสัปดาห์ที่แล้ว ระบุถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ทางการเมืองสำหรับประเทศไทย แม้จะมีการสูญเสียตำแหน่งคนสำคัญทางการเงินก็ตาม ขณะที่นโยบายการเงินของไทยก็น่าจะมุ่งเน้นไปยังการฟื้นตัวในภาควิศวกรรมเครื่องยนต์
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น แต่ความกังวลเกี่ยวปริมาณอุปทานล้นตลาดยังคงกดดันการฟื้นตัวของราคา
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าการปรับตัวสูงขึ้นเป็นไปได้อย่างจำกัดจากข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นสร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาด ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่อ่อนตัวลง เนื่องจากสหรัฐฯ พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 7 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.2% ที่ระดับ 44.36 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ หรือคิกดเป็น 0.2% ที่ระดับ 41.98 เหรียญ/บาร์เรล
ทั้งนี้ ราคาปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนในช่วงก่อนหน้าในสัปดาห์นี้จากข่าวเชิงบวกที่มีความหวังเกี่ยวกับวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา