• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2563

    30 กรกฎาคม 2563 | Economic News

· ดอลลาร์อ่อนค่าท่ามกลางนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสภาคองเกรส

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในรอบกว่า 2 ปี ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ม่ีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ ขณะที่แพ็คเกจเงินช่วยเหลือของสภาคองเกรสยังคงชะงักงัน

เฟดเองก็ยังเป็นอีกหนึี่งปัจจัยที่กดดันดอลลาร์หลังยังเปิดกว้างต่อโอกาสในการผ่อนคลายทางการเงิน ขณะที่เศรษฐกิจดูจะถูกกดดันจากภาวะการระบาดรอบใหม่ โดยที่ดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดตั้งแต่กลางปี 2018 ที่ 93.344 จุด ด้านค่าเงินยูโรแข็งค่ามากที่สุดรอบ 22 เดือนที่ทำไว้วานนี้ที่ 1.1807 ดอลลาร์/ยูโร เนื่องจากทิศทางของยุโรปดูจะสดใสกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ทการระบาดในรัฐแคลิฟอร์เนีย,เท็กซัส และฟลอริดา ก็ดูจะเพิ่มขึ้นทำระดับรายวันที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ค่าเงินเยนอ่อนค่ามาที่ 105.07 เยน/ดอลลาร์หลังไปทำแข็งค่ามากสุดรอบ 4 เดือนครึ่ง บริเวณ 104.77 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 4.6% เมื่อเทียบยูโร และอ่อนค่าลง 2.7% เมื่อเทียบกับเงินเยนในเดือนก.ค.นี้ และอ่อนค่าลงแล้วกว่า 7% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.

ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรนา ตลอดจนการอ้างสิทธิ์ทะเลจีนใต้ และกฎหมายความมั่นคงฮ่องกง ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่เข้ากดดันค่าเงินหยวน ขณะที่วันนี้หยวนทรงตัวที่ 6.9965 หยวน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ จีนยังไม่สามารถเข้าซื้อสินค้าเกษตรได้ตามที่ให้สัญญาไว้ภายใต้ข้อตกลงเมื่อเดือนม.ค.


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลง หลังจากที่เฟดตัดสินใจประกาศคงอัตราดอกเบี้ยใกล้ระดับศูนย์

พร้อมทั้งกล่าวย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจขาลง ณ ปัจจุบัน ที่ยังจำเป็นต้องมีมาตรการทางการเงินและนโยบายการเงินมาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลงมาบริเวณ 0.5708% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลง 1.2286%


· เศรษฐกิจสหรัฐฯส่อแววดิ่งลงครั้งประวัติศาสตร์ในไตรมาสที่ 2/20 ทิศทางไม่สดใสจากยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่ม

เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะหดตัวลงอย่างหนักนับตั้งแต่ที่เคยเกิดยุค Great Depression ในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่สร้างความเสียหายต่อการใช้จ่ายในกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจ

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะทำการประกาศข้อมูลจีดีพีขั้นต้นสำหรับไตรมาสท่ี่ 2 ของสหรัฐฯในคืนนี้ ที่ดูจะดิ่งลงหนักสุดครั้งประวัติศาสตร์อันเนื่องจากการปิดทำการในกลุ่มร้านอาหาร, บาร์ และโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่เดือนมี.ค. เพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา

คาดการณ์จาก Reuters คาดจีดีพี Q2 ของสหรัฐฯในกาประกาศครั้งแรกนี้จะออกมาแย่ลง -34.1% ที่จะถือเป็นการปรับลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1947 ซึ่งจะเป็นการทำ All-Time Lows ที่ร่วงลงหนักมากกว่าช่วง Q2/1958 ที่จีดีพีตอนนั้นโต -10% ขณะที่จีดีพี Q1/2020 หดตัวไปที่ -5%

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Wrightson ICAP กล่าวว่า คาดการณ์เกี่ยวกับจีดีพีแท้จริงอาจดิ่งลงไป -11% ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี แต่การหดตัวในปีนี้ของจีดีพีก็ได้ทำลายภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯมาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี

นอกจากนี้ การปรับลงของจีดีพีในการประกาศคืนนี้จะสร้างแรงกดดันให้แก่ทำเนียบขาวและสภาคองเกรสในการหาแพ็คเกจที่สองในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีคะแนนนิยมในโพลล์ลดลงจากการบริหารจัดการวิกฤตในเวลานี้ ซึ่งเขาจะทำการลงชิงตำแหน่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯในวันที่ 3 พ.ย. นี้

สำหรับคนว่างงานนับ 10 ล้านราย และภาคธุรกิจหลายแห่งที่ปิดทำการในช่วงการระบาดของไวรัสได้เข้ากระทบกับภาคครัวเรือน และดูจะทำให้การใช้จ่ายเงินของกลุ่มผู้บริโภคนั้นทรุดลงครั้งประวัติการณ์กว่า -35%

โดยที่การอุปโภคบริโภคนั้นจะถูกคิดเป็น 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และค่าใช้จ่ายที่ดิ่งลงอย่างมากก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของจีดีพี เพราะไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในภาคบริการที่ย่ำแย่อย่างมาก, ภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว มีจำนวนคนที่ลดลงในการพบแพทย์หรือทันตกรรม รวมถึงการปรับตัวลงของการออกไปรับประทานอาหารที่ภัตคาร หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทั้งหมดดูจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวในครั้งนี้


· ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส ชี้ วิกฤตในฝรั่งเศสอาจฟื้นตัวได้ดีขึ้นกว่าที่คาด

ผู้ว่าการธาคารกลางฝรั่งเศส ระบุว่า การดิ่งลงของเศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจก้าวออกจากภาวะนี้ได้เร็วกว่าที่คาดได้ในช่วงต้นปี 2022 ซึ่งปัจจัยสำคัญในการฟื้นคืนเศรษฐกิจ คือ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน

ทั้งนี้ ธนาคารกลางฝรั่งเศสคาดว่าจีดีพีฝรั่งเศสปีนี้คาดว่าจะ -10% และอาจรีบาวน์กลับมาได้เช่นเดียวกับช่วงที่เกิดวิกฤตไวรัสโคโรนาได้ในช่วงเริ่มปี 2022

อย่างไรก็ดี รัฐบาลฝรั่งเศสมีการอัดฉีดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.37 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็น 6% ของจีดีพี นอกจากนี้มีการการันตีปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจอีก 3 แสนล้านยูโร


· เศรษฐกิจออสเตรียร่วงลง 10.7% ในไตรมาส 2 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เศรษฐกิจออสเตรียหดตัวลง 10.7% ในไตรมาสที่ 2 นับเป็นการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการทั้งในและต่างประเทศ

Wifo ซึ่งรวบรวมข้อมูลสำหรับรัฐบาล กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ร้านค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร กีฬาและความบันเทิง


· ฮ่องกงให้คนกินข้าวในศูนย์ชุมชนหลังห้ามกินที่ร้านอาหาร

เจ้าหน้าที่ของฮ่องกงได้เปิดศูนย์ชุมชนให้ประชาชนเข้าไปนั่งรับประทาน หลังจากห้ามรับประทานในร้านอาหารเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดจากไวรัสโคโรนา ทำให้หลายคนต้องรับประทานอาหารบนทางเท้า ท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวและฝนตกช่วงฤดูฝน ซึ่งคำสั่งห้ามดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา


· ราคาน้ำมันดิบลดลง จากความกังวลไวรัสโคโรนาที่กดดันการฟื้นตัวของอุปสงค์เชื้อเพลิ

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิง

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 2 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.05% ที่ระดับ 44.07 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง 5 เซนต์ ที่ระดับ 41.22 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดปรับตัวสูงึข้น หลังจากที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 10.6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 1.2 ล้านบาร์เรล

·

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com