ความต้องการทองคำดิ่งลง 11% ในไตรมาส 2/2020 ด้าน ETF เข้าซื้อเป็นประวัติการณ์
World Gold Council (WGC) ระบุว่า ความต้องการลงทุนทองคำปรับตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะในกองทุน ETFs ที่ช่วยชดเชยการปรับลงของความต้องการทองคำประเภทอื่นๆระหว่างเดือนเม.ย. - มิ.ย. ทำให้ภาพรวมการอุปโภคบริโภคทองคำร่วงลงไป 1,015.7 เมตริกตัน หรือ -11% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2019
ในรายงานของสภาทองคำโลก ระบุว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นปัจจัยหลักที่กระทบตลาดทองคำไตรมาสที่ 2 นี้ที่ลดความต้องการทองคำ แต่หนุนความต้องการทองคำในด้านการลงทุนมากขึ้นแทน โดยจะเห็นได้จากกองทุน ETFs มี Flow สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 734 ตัน
WGC ระบุถึงข้อมูลประจำไตรมาสที่ 2 ที่ระบุว่า การเพิ่มปริมาณทองคำใน ETFs มีมากถึง 434 ตัน ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่ทำไว้ในไตรมาสแรกของปี 2009 ที่ถือครองที่ 465.7 ตัน ที่สะท้อนว่าภาวะวิกฤตทางการเงินทั่วโลกนั้นเป็นปัจจัยหนุนการถือครองทองคำ
อย่างไรก็ดี ภาพของความต้องการการลงทุนในทองคำก็ดูจะดีที่สุดสำหรับทองคำในไตรมาสที่ 2 นี้ และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลการนำเข้าทองคำจะพบว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำลดลงไป 32% ในไตรมาสที่ 2/2020 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2019 และตลอดช่วงครึ่งปีแรกนี้ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองร่วงลงทำต่ำสุดรอบ 11 ปี
WGC ระบุว่า โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีนิยมลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองก็พบว่ามีการปรับตัวลงมากสุดในครึ่งปีหลังนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคมีการนำทองออกมาขายอย่างมากในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา อันนำมาสู่การว่างงาน และรายได้ที่ลดลง ควบคู่กับราคาทองคำในไทยที่ปรับขึ้นอย่างมาก จึงทำให้นักลงทุนไทยเลือกที่จะเปลี่ยนการซื้อทองคำมาเป็นการเพิ่มการลงทุนหรือถือครองทองคำในกองทุนทองคำแทน
ด้านนักลงทุนยุโรปมีการเข้าซื้อทองคำและเหรียญทองคำช่วงปีแรกมากถึง 137.4 ตัน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี
ด้านตลาดจิวเวลรีนั้น ความต้องการในครึ่งปีแรกพบว่าปรับตัวลดลงไป 572 ตัน หรือ -46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นในเรื่องของมาตรการคุมเข้มที่ปิดกั้นตลาด และภาวะเศรษฐกิจขาลง ในขณะเดียวกันราคาทองคำก็ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ปริมาณความต้องการทองคำในรูปจิวเวลรีนั้นลดลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 19.1 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้
ความต้องการทองคำของธนาคารกลางต่างๆก็เผชิญกับปัญหาด้านการนำเข้าทองคำ โดยที่ไตรมาสที่ 2 นี้มีความต้องการลดลงมากถึง 50% แตะระดับ 114.7 ตัน แม้ว่าภาพรวมธนาคารกลางต่างๆจะมีสถานะซื้อทองคำสุทธิก็ตามแต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ การเข้าซื้อชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทาง WGC คาดว่าธนาคารกลางจะยังคงมีสถานะเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องในปีนี้ แต่จะมีปริมาณการซื้อที่ต่ำกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ทองคำในภาคเทคโนโลยีก็ปรับลงไป 18% และทำให้ล่าสุดยอดรวมอยุ่ที่ 66.6 ตัน
WGC ยังกล่าวถึงภาพรวมอุปทานในเหมืองทองที่ปรับตัวลดลงไป 15% ในไตรมาสที่ 2 นี้ที่ระดับ 1,034.4 ตัน อันได้รับผลกระทบจากการ Lockdown เหมืองทองหลักๆของประเทศต่างๆตลอดช่วงครึ่งปีแรก
ที่มา: Kitco