· ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าท่ามกลางนักลงทุนกังวลวิกฤตไวรัสกระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นจากกระแสความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐิกจสหรัฐฯอันเนื่องจากไวรัสโคโรนา ขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1768 ดอลลาร์/ยูโณ หลังจากที่อ่อนค่าไปแตะ 1.1741 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงต้นตลาด
หัวหน้านักวิเคราะห์ค่าเงินจาก MUFG Bank กล่าวว่า ค่าเงินยูโรในทางเทคนิคมีสัญญาณ Over-bought ในระยะสั้น จากกลุ่มนักลงทุนที่ขานรับกับการถือ Long และราคามีการทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนค่าลง โดยผลตอบแทนอายุ 10 ปี ปรับลงใกล้ระดับ 0.58% เมื่อเทียบดอลลาร์
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.9 เยน/ดอลลาร์ หลังอ่อนค่าไปท่ี่ 106.44 เยน/ดอลลาร์ช่วงต้นตลาด
กลุ่มนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการอัดฉีดเงินเพิ่มแก่คนว่างงานมูลค่าประมาณ 7.5 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน หรือคิดเป็นเกือบ 5% ของรายได้ส่วนบุคคลที่ได้หมดอายุไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
นอกจากนี้ เหล่าเทรดเดอร์ก็จับตาไปยังความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน ประกอบไปด้วย เรื่องการค้า,เทคโนโลยี และภาวะทางการเมือง ท่ามกลางข่าวล่าสุดที่นายทรัมป์จะทำการแบนบริษัท TikTok ที่เป็นแอพลิเคชันที่กำลังได้รับความนิยมของจีน
เมื่อวานนี้ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า ทรัมป์จะมีการดำเนินการต่อบริษัทซอร์ฟแวร์ของจีน เกี่ยวกับเรื่องการส่งข้อมูลโดยตรงแก่รัฐบาลจีน
· ดัชนีการผลิตรัสเซียหดตัวเร็วที่สุดเดือนก.ค.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของรัสเซียปรับขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนก.ค. ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และความอ่อนแอทางด้านอุปสงค์ โดยดัชนีล่าสุดร่วงลงแตะ 48.4 จุด จาก 49.4 จุดในเดือนก่อนหน้า ซึ่งดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 จุด ถือเป็นสัญญาณหดตัวติดต่อกันเดือนที่ 15
ทั้งนี้ ในเดือนเม.ย. ดัชนี PMI มีการปรับตัวทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -31.3 จุด อันเนื่องจากการ Lockdown
· ADB หั่นทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 จากการระบาดของไวรัส คาดมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญ
รายงานจา ADB ชี้ว่า การหมุนเวียนเงินในระบทั่วโลกอาจปรับตัวลงไปมากถึง 1.086 แสนล้านเหรียญปีนี้ ท่ามกลางคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น และมีการลดค่าจ้างในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ เม็ดเงินในแถบเอเชียอาจปรับลงไปมากถึง 5.43 หมื่นล้านเหรียญ หรือคิดเป็นการปรับลงกว่า 5 ส่วน ขณะที่ยอดเดิมในปี 2019 มูลค่าเงินหมุนเวียนในเอเชียมีสูงถึง 3.15 แสนล้านเหรียญ จึงช่วยกระตุ้นการอุปโภคบริโภคให้แก่ประเทศเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา อย่างฟิลลิปปินส์ เป็นต้น
· การสำรวจโดยเอกชน แสดง การขยายตัวของกิจกรรมการผลิตของจีนสูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
Caixin/Markit manufacturing Purchasing Managers’ Index (PMI) ของจีน หรือดัชนีสำรวจการจัดซื้อภาคการผลิตของจีนเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 52.8 จุด
ก่อนหน้านี้ สำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยสำนักรอยเตอร์ คาดว่า Caixin/Markit PMI เดือนกรกฎาคมจะอยู่ที่ระดับ 51.3 จุด เทียบกับเดือนมิถุนายนที่ระดับ 51.2 จุด
นักเศรษฐศาสตร์ด้านจีน ของบริษัทที่ปรึกษา Capital Economics กล่าวว่า ผลการสำรวจแสดงถึง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลดีต่อจีน ช่วยให้ฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาด
· ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า จีนและสหรัฐต้องดำเนินการขึ้นมานำพาเศรษฐกิจโลกในช่วงวิกฤตโคโรนาไวรัส มิฉะนั้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่อาจจะล่มสลายได้
นายรากุราม ราจัน ศาสตราจารย์ด้านการเงินแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการวิกฤตโรคระบาด น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว พร้อมทั้งแนะนำให้ประทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหม่อย่างสหรัฐและจีน ขึ้นมานำมาเศรษฐกิจโลก ในระหว่างที่ประเทศที่ยากจนกำลังลำบาก
นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสิงคโปร์ ชี้ว่าการเติบโตของโลกทุกวันนี้ กว่า 2 ใน 3 ของการเติบโตมาจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่
· นักกลยุทธ์การลงทุนจาก OCBC ระบุว่า ปัจจัยต่างๆ ทั้งความตึงเครียดของสหรัฐฯและจีนประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่จะประกาศในเร็วๆนี้ ถูกคาดว่าจะเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้าย โดยนักลงทุนอาจมีการระวังและส่งผลให้มีการซื้อขายปานกลางได้ในตลาดหุ้น
· ฮ่องกงออกหมายจับกับชาวสหรัฐ ภายใต้กฎหมายใหม่
สำนักข่าวทางการของจีนรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจฮ่องกง ออกหมายจับชาวสหรัฐ 6 รายด้วยข้อหาฝ่าฝืนตามกฎความแห่งชาติมั่นคงฉบับใหม่
· การระบาดของไวรัสในเวียดนามเริ่มกระทบพนักงานโรงงานหลักพันคนในเมืองดานังที่เป็นจุดศูนย์กลางการระบาด
รัฐบาลรายงาน การระบาดในเมืองจุดศูนย์กลางของดานังในสัปดาห์ก่อน เริ่มแพร่กระขายไปยังอย่างน้อย 4 โรงงานในเมืองและระบาดไปยังแรงงานกว่า 3,700 คน
ทั้งนี้ การตรวจพบผู้ติดเชื้อแรกเริ่ม 4 ราย พบใน 4 นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่คนละที่กัน มีจำนวนพนักงานรวมกว่า 77,000 คน
· น้ำมันดิ่งจากกังวลอุปทานล้นตลาด ขณะที่ OPEC+ จะเพิ่มการผลิต
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมัน ขณะที่ OPEC และชาติพันธมิตรอาจมีการหนุนการผลิตน้ำมันในเดือนส.ค. ขณะเดียวกันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ดูจะเป็นปัจจัยที่เข้ากดดันอุปสงค์พลังงาน
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 26 เซนต์ หรือ -0.6% ที่ระดับ 43.26 เหรียญ/บาร์เรล ด้าน WTI ปรับง 29 เซนต์ หรือ -0.7% ที่ 39.98 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ Brent มีทิศทางการปรบขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนก.ค. ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 3 เดือนต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์จาก Nissan Securities กล่าวว่า กลุ่มนักลงทุนยังมีความวิตกกังวลต่อภาวะอุปทานล้นตลาด และกลุ่ม OPEC+ ที่มีแนวโน้มจะชะลอการปรับลดกำลังการผลิตในเดือนนี้ จึงมีแนวโน้มจะเห็นสหรัฐฯเพิ่มกำลังการผลิตตามด้วย ขณะที่การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาก็ยังคงอยู่ในระดับสูงและเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดน้ำมันด้วย