• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2563

    5 สิงหาคม 2563 | Economic News
 

· ดอลลาร์ร่วงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและความกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของยูโรและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวลง หลังล่าสุดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยยังไม่ลงรอยกัน และนักลงทุนกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 93.065 จุด หลังต้นตลาดขึ้นทำ High แถว 93.245 จุด

ค่าเงินยูโรล่าสุดอยู่ที่ 1.1808 ดอลลาร์/ยูโรหลังจากที่ช่วงเช้าลงไปทดสอบแนวรับ 1.17 ดอลลาร์/ยูโร และตลาดให้ความสนใจกับข้อมูลจ้างงานภาคเอกชน

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้น 105.66 เยน/ดอลลาร์

อย่างไรก็ดี หลังจากที่ทำเนียบขาวมีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ถึงกรณีที่อาจบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ระหว่างพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันในช่วงปลายสัปดาห์นี้

ล่าสุด บรรดาส.ส. ระบุว่า ประเด็นการให้เงินช่วยเหลือคนตกงานท่ี่ 600 เหรียญ/สัปดาห์นั้นยังคงไม่สามารถผ่านไปได้ และนายมนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เตือนว่า ยังไม่เข้าใกล้ข้อตกลงที่จะนำไปสู่วงเงิน 3.4 ล้านล้านเหรียญ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทผันแปรตามเงินเฟ้ออายุ 10 ปี ปรับลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -1.05% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปียังคงทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดภาวะ Panic ในตลาดเมื่อเดือนมี.ค. ที่ระดับ0.5118%

กลุ่มนักลงทุนคาดว่าการจ้างงานในภาคเอกชนมีแนวโน้มจะชะลอตัวง และข้อมูลที่หน้าผิดหวังอาจสะท้อนถึงการจ้างงานภาครัฐในวันศุกร์นี้ด้วย และจะยิ่งสร้างความแตกต่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างยุโรปและสหรัฐฯ


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางตลาดที่ให้ความสนใจไปยังการเจรจาเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาบริเวณ 0.5216% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 1.2055%


· ยอดเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาทั่วโลกทะลุ 700,000 ราย และทุกๆ 15 วินาที จะมีค่าเฉลี่ยผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย

จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาปรับขึ้นทะลุ 700,000 รายเป็นที่เรียบร้อย โดยมาจากประเทศสหรัฐฯ, บราซิล, อินเดีย และเม็กซิโกเป็นหลัก

และค่าเฉลี่ย Covid-19 พบว่า ทุกๆ 24 ชั่วโมง จะพบอัตราการเสียชีวิตที่ระดับ 5,900 ราย ซึ่งเป็นข้อมูลที่อ้างอิงค่าเฉลี่ยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ดังนั้น ในทกๆชั่วโมงจะมีการเสียชีวิตที่ประมาณ 247 ราย หรือ 1 รายต่อทุก 15 วินาที


· รายงานจาก Bloomberg ชี้ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกหนุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

นางแมรี่ ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า การระบาดของไวรัสดูจะอยู่กับเราเป็นเวลานานขึ้นรวมทั้งตัวเชื้อน่าจะแข็งแกร่งกว่าที่เราได้ทำการประเมินไว้ในขั้นต้น ดังนั้น การสนับสนุทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจึงมีความจำเป็น


· ออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิตจากไวรัสเป็นประวัติการณ์ กระตุ้นการใช้มาตรการคุมเข้ม

ประเทศออสเตรเลียพบรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากสุดเป็นประวัติการณ์จำนวน 15 รายในวันนี้ โดยส่วนใหญ่พบในรัฐวิคตอเรีย และมีการเตรียมการที่เข้าใกล้การควบคุมเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 2 อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสที่กำลังคุกคามประเทศ

ภาพรวมมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อในออสเตรเลียปรับตัวขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 725 ราย แม้ว่าจะมีการประกาศ Lockdown ในรัฐเมลเบิร์น ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากที่สุด 5 ล้านรายในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

รัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐควีนส์แลนด์ มีการประกาศใช้มาตรการจำกัดการระบาดรอบใหม่ ขณะที่รัฐวิคตอเรีย ประกาศเคอร์ฟิวส์เมื่อคืนนี้ พร้อมกลับมาคุมเข้มการเคลื่อนไหวของประชากรที่ข้ามมาจากเมลเบิร์น และคำสั่งดังกล่าว ได้ส่งผลให้ภาคธุรกิจโดยส่วนใหญ่กลับมาปิดบริการซื้อขาย

ผู้ว่าการรัฐวิคตอเรีย กล่าวว่า การควบคุมในครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยการปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และอาจขยายถึงการระงับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน (Elective Surgery)


· โพลล์สำรวจ Reuters คาดว่ายอดส่งออกจีนประจำเดือนก.ค.อาจจะร่วงลง จากความกังวลไวรัสโคโรนา ขณะที่ยอดนำเข้าชะลอตัว

โพลล์สำรวจจากสำนักข่าว Reuters คาดว่า ยอดส่งออกของจีนประจำเดือนก.ค.จะร่วงลง เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ความต้องการลดลง ขณะที่ยอดการนำเข้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง

โดยคาดว่ายอดส่งออกจะอยู่ที่ 0.2% เมื่อเทียบรายปี ขณะที่นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.0% เมื่อเทียบรายปีลดลงจากที่เพิ่มขึ้น 2.7% ในเดือนก่อน

ทั้งนี้ ความอ่อนแอทางการค้าอาจจะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศจะปรับตัวดีขึ้นจากแรงกระตุ้นของรัฐบาลก็ตาม


· เศรษฐกิจอินโดนีเซียหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงไตรมาสที่ 2/2020

เศรษฐกิจอินโดนีเซียหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แม้ว่าจะมีความพยายามในการจำกัดการระบาดครั้งใหม่ของไวรัสโคโรนา ที่กระทบต่ออุปสงค์ของกลุ่มผู้บริโภคและกิจกรรมทางภาคธุรกิจ

โดยข้อมูลจีดีพีอินโดนีเซียหดตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้สู่ระดับ -5.32% ในไตรมาสที่ 2/2020 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากคาดการณ์ที่ว่าจะเห็นการปรับลงมาที่ -4.61% ขณะที่ข้อมูลในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวได้ที่ 2.97%

ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่จำกัดการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและทำให้เกิดการเลื่อนการลงทุนภาคธุรกิจ ขณะที่ยอดส่งออกได้รับผลกระทบทั่วจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวลงคู่กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์


· น้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น จากการร่วงลงอย่างหนักของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯร่วงลงอย่างหนัก แต่การเพิ่มขึ้นเป็นไปได้อย่างจำกัดจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลก

โดยสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผย สต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลดกว่า 8.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 520 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 3 ล้านบาร์เรล

สำหรับวันนี้สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะมีการเปิดเผยข้อมูล

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 31 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.7% ที่ระดับ 44.74 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.6% ที่ระดับ 41.96 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com