· ดอลลาร์อ่อนค่าจากนักลงทุนที่ขานรับข้อมูลจ้างงานไม่สดใส
ดอลลาร์อ่อนค่าลงท่ามกลางนักลงทุนที่วิตกกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ดูจะฟื้นตัวกลับได้อย่างช้าๆ
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% ที่ 92.719 จุด โดยอ่อนค่าลงจากวันก่อนประมาณ 0.5% และมีการเคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดรอบ 2 ปีที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่แล้วบริเวณ 92.539 จุด
ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ระดับ 1.1874 ดอลลาร์/ยูโณ หลังจากที่ศุกร์ที่แล้วไปทำสูงสุดที่ 1.1908 ดอลาร์/ยูโร
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.52 เยน/ดอลาร์
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน ระบุถึงความยากลำบากในการหาข้อตกลงฉบับใหม่ร่วมกัน และในช่วงปลายสัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าจะเกิดข้อตกลงร่วมกันได้
ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นใกล้สูงสุดรอบ 4 เดือนที่ทำไว้เมื่อวันศุกร์บริเวณ 1.3170 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยล่าสุดอยู่แถว 1.3137 ดอลลาร์/ปอนด์
บีโออีมีแนวโน้มจะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิต่อไป
ค่าเงินหยวนทรงตัวที่ 6.9423 หยวน/ดอลลาร์ หลังไปทำแข็งค่ารอบ 5 เดือนที่ 6.9324 หยวน/ดอลลาร์
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับลดลง ก่อนการประกาศข้อมูลการว่างงานสหรัฐฯ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาบริเวณ 0.5428% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลงมาที่ 1.2161%
· ธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงดอกเบี้ยที่ 0.1%, คงวงเงิน QE จำนวน 7.45 แสนล้านปอนด์
ธนาคารกลางอังกฤษ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.10% ในการประชุมวันนี้ และคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 7.45 แสนล้านปอนด์
พร้อมทั้ง ยังส่งสัญญาณว่าจะไม่คุมเข้มนโยบายการเงินจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวสู่ระดับเป้าหมายอย่างยั่งยืน
· ยอดบ้านใหม่ที่รอก่อสร้างของอักฤษในปีนี้อาจลดลง 40% จากไวรัสโคโรนา
นายโรเบิร์ต เจนเกน รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะของอังกฤษ กล่าวว่า จำนวนบ้านใหม่ที่รอการก่อสร้างในอังกฤษอาจลดลงมากถึง 40% ในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยระบุว่า จากการระบาดของไวรัสดังกล่าวส่งผลให้จำนวนบ้านใหม่ที่รอการก่อสร้างในปีนี้จะลดลง 240,000 ซึ่งอาจจะน้อยกว่านั้น 30 หรือ 40%
ทั้งนี้ จะต้องดูว่าเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็วเพียงใด เป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับอุตสาหกรรมนี้
· คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีปรับขึ้นจากสัญญาณการฟื้นตัวครั้งใหม่
ยอดคำสั่งซื้อในเยอรมนีปรับตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. จากสัญญาณทางเศรษฐกิจ่าสุดที่เริ่มฟื้นตัวหลังได้รับผลกระทบจากการ Lockdown แต่ปริมาณการเติบโตก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาด
คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. ปรับตัวสูงขึ้น 27.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือปรับขึ้นได้กว่าเท่าตัวจากระดับ 10.4% ที่ทำไว้ในเดือนพ.ค. แต่ภาพรวมก็็ยังอยู่ต่ำกว่าระดับช่วงก่อนเกิดการระบาดของไวรัสในเดือนก.พ. บริเวณ11.3%
ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อภายในประเทศเติบโตได้ถึง 35.3% มากกว่าคำสั่งซื้อจากประเทศที่ขยายตัวได้เพียง 22%
· อินโดนีเซียเริ่มต้นทดลองวัคซีน Covid-19 ในมนุษย์สัปดาห์หน้า
โดยเป็นการร่วมมือกันของบริษัท Bio Farma ของอินโดนีเซีย และบริษัท Sinovac Biotech Ltd, ของจีน ทั้งนี้ กระบวนการทดลองในฟสที่ 3 จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 11 ส.ค. โดยจะมีผู้ร่วมทำการทดลอง 1,620 ราย ในช่วงอายุระหว่าง 18 - 59 ปี
· ไทยเลื่อนแผนเปิดประเทศ (Travel Bubble) จากยอดติดเชื้อในเอเชียปรับขึ้น
ประเทศไทยเลื่อนแผนเปิดประเทศจากยอดติดเชื้อโคโรนาจากประเทศอื่นๆในเอเชีที่เพิ่มขึ้น และดูจะยิ่งกดดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งไทยถือเป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มไอเดียจะให้มีบางประเทศเดินทางเข้าไทยได้ในเดือนมิ.ย. โดยจะเลือกจากประเทศที่มีการติดเชื้อระดับต่ำ
· น้ำมันดิบเคลื่อนไหวผสมผสาน ท่ามกลางไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการเชื้อเพลิง
ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากการปรับอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ จึงช่วยชดเชยความกังวลบางส่วนเกี่ยวกับความต้องการเชื้อเพลิงที่อาจหยุดชะงักเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 8 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.19% ที่ระดับ 42.11 เหรียญ/บาร์เรล ขระที่ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.44% ที่ระดับ 45.37 เหรียญ/บาร์เรล