· หุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน
ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นหลังไร้สัญญาณตึงเครียดเพิ่มเติมระหว่างสหรัฐฯและจีนในเรื่องประเด็นการค้า ประกอบกับตลาดคาดหวังจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มาเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันและค่าเงินในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
โดยเหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่การค้าระดับสูงของสหรัฐฯและจีนในวันเสาร์เพื่อทบทวนข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ในช่วง 6 เดือนแรก
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งขึ้นเกือบ 1%
· หุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์ จากความหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมของสหรัฐเพื่อหนุนเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศสำคัญ ๆ พยายามที่จะหลุดพ้นจากผลกระทบของวิกฤตไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี Nikkei ปิดพุ่งขึ้น 1.88% ที่ระดับ 22,750.24 จุด ซึ่งเป็นรายวันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Tipix พุ่งขึ้น 2.54%
· หุ้นจีนปิดลดลง ถูกกดดันจากความตึงเครียดสหรัฐฯ-จีน
ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากบริษัทเทคโนโลยี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดสหรัฐฯ-จีนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน
โดยดัชนี Shanghai Composite ร่วงลง 1.15% ที่ระดับ 3,340.29 จุด ขณะที่ดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI300 ลดลง 0.91%
· หุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าจะเกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนก็ตาม
โดยดัชนี Stoxx600 พุ่งขึ้น 1% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์พุ่ง 1.9% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
· สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ให้สอดคล้องและครอบคลุมของแผนแม่บทฯ ในการรองรับชีวิตวิถีใหม่ หรือนิวนอร์มัล รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือแจ้งให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมปรับปรุงแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
· "กูรู" ฟันธง "บิทคอยน์" ส่งสัญญาณขาขึ้น จากหลายปัจจัย "จิรายุส" ยก 3 เหตุผลดันราคาพุ่ง ทั้ง "เฟด" อัดฉีดคิวอีไม่อั้น ปรากฏการณ์ฮาร์ฟวิ่ง สหรัฐไฟเขียว แบงก์รับฝากเงินดิจิทัลได้ เผยปีนี้ราคา พุ่งแล้ว 66% ด้าน "ปรมินทร์" ชี้พุ่งตามแรงซื้อทองคำ จับตามีลุ้นแตะ 1.5-1.6 หมื่นดอลลาร์ แนะลงทุนสั้น ไม่เหมาะถือยาว
· "กรุงศรี ฟินโนเวต" จ่อเพิ่มทุน 50 ล้านดอลลาร์ รองรับสตาร์ทอัพ คาดปีนี้ลุยลงทุน 10 บริษัท พร้อมปรับกลยุทธ์เน้นสตาร์ทอัพที่สร้างผลตอบแทน หวังมีรายได้ลดพึ่งพาบริษัทแม่
· ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) เปิดเผยว่า แผนการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาตได้ดำเนินอย่างไม่ติดขัด โดยกระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคารจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือน ก.ค. 64 ซึ่งช่วง 6 เดือนที่ผ่าน
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/63 มีกำไรสุทธิ 2,480.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.82% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,198.24 ล้านบาท และพลิกกลับมามีกำไรเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/63 ที่ขาดทุน 13,754 ล้านบาท จากการขาดทุนสต็อกน้ำมันและค่าเงิน
โดย TOP ชี้แจงว่า ในไตรมาส 2/63 กลุ่มไทยออยล์มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน (Accounting GIM) อยู่ที่ 1.1 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 11.2 ดอลลาร์/บาร์เรล และด้วยปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตของกลุ่มอยู่ที่ 271 พันบาร์เรลต่อวัน ทำให้กลุ่มไทยออยล์มีรายได้จากการขายและ EBITDA จำนวน 49,372 ล้านบาท และ 2,881 ล้านบาท ตามลำดับ
เมื่อหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ และ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ ทำให้ไตรมาส 2/63 กลุ่มไทยออยล์มีกำไรสุทธิ 2,480 ล้านบาท ซึ่งรวมผลกระทบจากการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันก่อนภาษี 1,404 ล้านบาท และการกลับรายการมูลค่าสินค้าคงเหลือน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปก่อนภาษี 2,469 ล้านบาท
ส่วนงวด 6 เดือน ปี 63 ผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 11,274.12 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 4,975 ล้านบาท