· ดอลลาร์ทรงตัว ท่ามกลางนักลงทุนที่รอเจรจากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ค่าเงินดอลลาร์ยังทรงตัวในทิศทางแข็งค่าต่อจากวานนี้ หลังจากที่ค่าเงินมีการปรับอ่อนค่าไปอย่างต่อเนื่อง 7 สัปดาห์ ท่ามกลางนักลงทุนที่รอคอยการทำข้อตกลงของบรรดาสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯรีบาวนจ์จากต่ำสุดในรอบหลายเดือน
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 93.568 จุด จากต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ทำไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 92.495 จุด ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์มองค่าเงินดอลลาร์ระยะสั้นน่าจะมีการปรับฐานในกรอบ
ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1745 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่เมื่อวานปิด -0.5% ด้านเงินเยนทรงตัวที่ 106.07 เยน/ดอลลาร์
ผู้นำสภาคองเกรสของสหรัฐฯ และทีมบริหารของนายทรัมป์ กล่าวว่า พร้อมที่จะกลับมาเจรจาแพ็คเกจข้อตกลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะสามารถหาทางจัดการกับข้อแตกต่างระหว่างกันได้
นักลงทุนยังคงจับตาไปยังความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน หลังจากที่ล่าสุดจีนประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อันรวมถึงสมาชิกจากพรรครีพับลิกัน หลังสหรัฐฯคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ฮ่องกงและจีนก่อน
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า บริษัทต่างๆในจีนและประเทศอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดจะทำการถูกถอดออกจากลิสต์รายการในตลาดหุ้นสหรัฐฯ U.S. Stock Exchanges ภายในสิ้นปี 2021 แต่ตลาดก็ยังตอบรับข่าวดังกล่าวอย่างจำกัด
· ธนาคารกลางอังกฤษ จะใช้ QE หากเศรษฐกิจชะลอตัวอีกครั้ง
นายเดฟ แรมส์เดน รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ หรือบีโออี กล่าวว่า บีโออีอาจจะใช้มาตรการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินในเชิงปริมาณ หรือ (QE) เพิ่มเติม หากเศรษฐกิจของอังกฤษชะลอตัวอีกครั้ง
นายแรมเดนส์ กล่าวเสริมอย่างมั่นใจว่า QE จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ธนาคารกลางเตรียมที่จะดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณมากกว่า 7.45 แสนล้านปอนด์ (9.7558 แสนล้านดอลลาร์)
และมั่นใจว่าจะไม่มีการติดลบในไตรมาสที่ 4/2020 ของเศรษฐกิจในอังกฤษอีกครั้ง หากใช้มาตรการนี้
· ยอดขายรถยนต์ในจีนในเดือนก.ค. ปรับขึ้นต่อเนื่อง 4 เดือน
รายงานจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า ยอดขายรถยนต์ของจีนในเดือนก.ค. ปรับขึ้นกว่า 16.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน (CAAM) เผยว่า ยอดขายรถยนต์ปรับขึ้นแตะ 2.11 ล้านคันในเดือนก.ค. แต่ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีอยู่ในทิศทางที่ปรับลง โดยปรับลงมาแล้ว 12.7% ที่ระดับ 12.37 ล้านคัน และคาดว่าปีนี้ยอดขายจะตกลงประมาณ 10% และหากเกิด Second Wave ก็อาจทำให้ยอดขายยิ่งดิ่งลงกว่า 20%
· จีนกำหนดมาตรการคว่ำบาตรวุฒิสมาชิกสหรัฐฯกรณีฮ่องกง
รัฐบาลจีนประกาศคว่ำบาตรชาวอเมริกัน 11 คนรวมถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ เช่น มาร์โก รูบิโอ และเท็ด ครูซ โดยมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการตัดสินใจของสหรัฐฯในการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 11 คนและพันธมิตรในฮ่องกงสำหรับการลดทอนเสรีภาพทางการเมือง
· OECD คาด ปีนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะดีขึ้นกว่าประเทศอื่นๆ
รายงานจาก OECD กล่าวว่า เกาหลีใต้จะได้รับผลกระทบทางด้านการเติบโตค่อนข้างน้อยในปีนี้ หลังจากที่สามารถจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ โดยจีดีพีเกาหลีใต้คาดปีนี้จะอยู่แถว -0.8% ดีขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่คาดจะ -1.2%
· เงินเฟ้ออินเดียมีแนวโน้มปรับขึ้นในเดือนก.ค. จากราคาอาหารที่ปรับขึ้น
ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า เงินเฟ้ออินเดียมีแนวโน้มจะปรับขึ้นในเดือนก.ค. จากราคาอาหารที่สูงขึ้น โดยธนาคารกลางอินเดียมองว่าระยะกลางจะมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 4% ขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์สมองว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะ 6.15% จาก 6.09%ในเดือนมิ.ย.
· สิงคโปร์เตือนการฟื้นตัวช้าเนื่องจากไวรัสจะทำให้ผู้ส่งออกของเอเชียย่ำแย่ลง
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสท่ี่ 2/2020 และแย่กว่าไตรมาสแรก และสะท้อนถึงสัญญาณที่ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะใช้เวลานาน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อประเทศเศรษฐกิจหลักของเอเชีย รวมทั้งสิงคโปร์ ที่ได้รับผลจากการใช้มาตรการ Lockdown เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่า จีดีพี ทั้งปีจะหดตัวอยู่ระหว่าง -5% ถึง -7% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่จะลดลง -4% ถึง -7%
อย่างไรก็ดี การประกาศจีดีพีไตรมาสที่ 2/2020 เมื่อเทียบรายปีพบว่าปรับตัวลงไป -13.2% เป็นการปรับทบทวนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในประมาณการณ์ก่อนหน้าที่ -12.6
· น้ำมันดิบปรับสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้น
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการฟื้นตัวของปริมาณอุปสงค์ในเอเชียหลังเศรษฐกิจกลัยมาเปิดทำการอีกครั้ง
ทัง้นี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 22 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.5% ที่ระดับ 45.21 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.8% ที่ระดับ 42.26 เหรียญ/บาร์เรล