· ทองคำดิ่งหนักจากข่าวขึ้นทะเบียนวัคซีน-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้น
หลังจากที่คืนวันอังคารราคาทองคำหลุด 2,000 เหรียญ และเช้าวันพุธวานนี้ในตลาดเอเชียทองคำก็ร่วงลงรายวันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยร่วงหลุด 1,900 เหรียญ ทำ Low แถว 1,862 เหรียญ ก่อนจะมีรีบาวน์กลับมาซื้อขายบริเวณ 1,920 เหรียญอีกครั้ง
รายงานจาก CNBC เผยถึงมุมมองบรรดานักวิเคราะห์ ที่มองการร่วงลงของทองคำครั้งว่ามาจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริงของรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนต้าน Covid-19 ขณะที่ดอลลาร์ยังคงแข็งค่า
เมื่อคืนนี้ทองดีดกลับหลังทรุดตัวต่ำกว่า 1,900 เหรียญ
· ราคาทองคำเมื่อคืนนี้มีการฟื้นตัวกลับหลังจากที่ไปทำต่ำสุดหลุดระดับสำคัญ 1,900 เหรียญ เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวลดลงที่มากที่สุดในรอบ 7 ปี แม้ว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบันจะสร้างความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +1.4% ที่ 1,937.42 เหรียญ ด้านสัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค.ปิด +0.1% ที่ 1,949 เหรียญ
· ในวันอังคารที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวลดลงไปมากถึง 6.2% ถือเป็นระดับการร่วงลงรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่เม.ย. ปี 2013 ขณะที่ราคาซิลเวอร์ปรับลงไปกว่า 15% ถือเป็นการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2008 โดยเมื่อคืนนี้ซิลเวอร์ปิด +4.3% มาที่ 25.85 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR มีการเทขายทองคำออกมาอย่างต่อเนื่อง 2 วันทำการ โดยวันอังคารขายออก 4.19 ตัน และเมื่อวานนี้ขายออก 7.3 ตัน รวม 2 วันทำการขายทองออก 11.49 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำลดลงมาที่ระดับ 1,250.63 ตัน
· หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Blue Line Futures กล่าวว่า การปรับลงของทองคำในตอนแรกมาจากการปรับฐานของทองคำ และจากนั้นก็มาจากการที่ตลาดรับข่าว ดังนั้น ภาพรวมเชื่อว่าน่าจะเห็นทองคำปรับขึ้นได้อีกครั้งในช่วงสิ้นปี และมีโอกาสเห็นAll-Time Highs แตะ 2,500 เหรียญ ขณะที่ซิลเวอร์น่าจะทำ All-Time High ได้บริเวณ 35 เหรียญ ท่ามกลางปัจจัยต่างๆที่ยังคงสนับสนุนราคา โดยเฉพาะการที่เฟดจะยังมีทิศทางคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป รวมทั้งการหาวิธีหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้นสู่เป้าหมายที่พวกเขากำหนด
· นักวิเคราะห์เชื่อว่า การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนนทอง เนื่องจากนักลงทุนจะเข้าซื้อทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
· ความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่จากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยล่าสุดเศรษฐกิจอังกฤษหดตัวลงไปมากสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ 2/2020 ที่ระดับ -20.4%
· หัวหน้านักวิเคราะห์จาก HSBC กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆที่เอื้อต่อการปรับขึ้นของทองคำ ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเสี่ยงทางการเมือง, การเดินหน้าใช้นโยบายการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ตลาดให้ความสำคัญกับมาตรการช่วยเหลือวิกฤตไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ หลังจากที่การเจรจาระหว่างเดโมแครตและรีพับลิกันนั้นยังคงคว้าน้ำเหลวในสัปดาห์ที่แล้ว
· ทองคำไทยผันผวนปรับตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ 42 ครั้งในวันเดียว!
หลังจากที่ราคาทองคำในวันที่ 6 ส.ค. ปรับขึ้นไปทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์เหนือ 30,000 บาท/บาททองคำ ก็มีการค่อยๆปรับตัวลงมา ขณะที่ล่าสุดวานนี้เปิดตลาด -1,400 บาท และมีบางช่วงที่มีการปรับลดลงรวมกันแล้วมากถึง 1,550 บาท และตลอดวันจะเห็นได้ว่าราคาทองคำมีความผันผวนมากถึง 42 ครั้ง
โดยสาเหตุหลักมาจากการที่รัสเซียเปิดเผยถึงการลงทะเบียนวัคซีนต้าน Covid-19 เจ้าแรกของโลกเมื่อช่วงเย็นวันอังคาร, การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์, แรงขายทำกำไรในตลาด รวมทั้งข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับขึ้นทำสูงสุดตั้งแต่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมาบริเวณ 0.661% ก่อนจะทรงตัวที่ 0.655% โดยเป็นการปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดของวันพฤหัสบดีที่แล้วบริเวณ 0.5%
· ราคาแพลทินัมปิด +0.5% ที่ 934.56 เหรียญ ขณะที่พลาเดียมปิด +1.1% ที่ 2,113.5 เหรียญ
· แรงขายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี เผชิญแรงขายครั้งประวัติการณ์ที่ 3.8 หมื่นล้านเหรียญ ท่ามกลางอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และทำให้อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวแตะระดับต่ำสุดเป็นครั้งประวัติการณ์ หลังจากที่สถานการณ์ไวรัสโคโรนาได้ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีทำ All-Time Lows อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปีมีการทรงตัวขึ้นมาที่ 0.661%
· มาตรการ 300 เหรียญของนายทรัมป์อาจช่วยหนุนได้เพียง 1 เดือน
การลงนามคำสั่งฉุกเฉินของนายทรัมป์ ต่อการช่วยเหลือคนว่างงานในการมอบสวัสดิการว่างงานที่ 300 เหรียญ/สัปดาห์ อาจช่วยเหลือยืดเวลาออกไปได้ 1 เดือน ขณะที่ในบางรัฐฯ สวัสดิการดังกล่าวอาจไม่รองรับ
อย่างไรก็ดี ทางทำเนียบขาวเชื่อว่าข้อตกลงจะสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าทีมบริหารของนายทรัมป์ และบรรดาสมาชิกสภาคองเกรสจะมีแรงท้าทายครั้งใหญ่ในการให้ความช่วยเหลือที่ยาวนานมากขึ้น
· CNBC ระบุ ยังไร้สัญญาณข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเจรจาทางโทรศัพท์ระหว่างมนูชินและเพโลซี ไม่คืบหน้า
แนวโน้มการเจรจาข้อตกลงไวรัสโคโรนารอบใหม่ยังไม่สดใส หลังจากที่นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่มีการหารือร่วมกันทางโทรศัพท์และยังไร้ความคืบหน้าใดๆ และยังไม่มีวี่แววการจะกลับมาเริ่มต้นหารืออีกครั้ง หลังจากที่นายมนูชินปฏิเสธข้อเสนอแพ็คเกจของเดโมแครตวงเงินกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่รีพับลิกันยื่นข้อเสนอที่ 1 ล้านล้านเหรียญ
· มนูชิน ระบุ เดโมแครตไม่แสดงความสนใจต่อการเจรจาข้อตกลงช่วยเหลือ
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯได้สร้างความชัดเจนให้แก่เขาในการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ว่า เธอไม่ตั้งใจที่จะกลับมาเจรจาความช่วยเหลือวิกฤตไวรัสโคโรนา ยกเว้นแต่ทางทำเนียบขาวจะเห็นพ้องต่อข้อเสนอของพรรคเดโมแครตวงเงินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ
· สมาชิกเฟดชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจชจะยังชะลอตัวจนกว่าจะมีวัคซีนควบคุมการระบาด
สมาชิกเฟดจำนวน 3 ราย มองไปในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ จนกว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ ซึ่งชาวอเมริกาจำเป็นต้องบริหารจัดการชีวิตในช่วงวิกฤตไวรัสนี้ออกไปอย่างน้อยเป็นเวลาหลายเดือน
แม้จะมีการรีบาวน์ของข้อมูลในเดือนพ.ค. และมิ.ย. ที่ออกมาอย่างแข็งแกร่ง แต่กิจกรรมทางเศรษบกิจก็ดูจะเริ่มผันผวนอีกครั้งในเดือนก.ค. จากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่มาตรการคุมเข้มครั้งใหม่ ทำให้หลายๆรัฐในสรหัฐฯมีภาคการใช้จ่ายที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และจะเห็นได้ถึงการจ้างงานที่เริ่มชะลอตัวอีกครั้งในเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับแพ็คเกจคนว่างงานที่หมดอายุลงไปในช่วงสิ้นเดือนที่แล้ว จึงเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการรับมือของชาวอเมริกาต่อค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องเผชิญ
นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวว่า การใช้จ่ายในกลุ่มผู้บริโภคยังอยู่ในทิศทางที่อ่อนแอ ท่ามกลางประชาชนที่หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ และภาพรวมจะพบว่าสหรัฐฯเผชิญกับสถานการณ์ของไวรัสโคโรนามากกว่าทางยุโรป จึงจะได้รับผลกระทบต่อการฟื้นตัวที่น่าจะมากกว่า โดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หลังจากที่มีการผ่อนคลาย Lockdown เร็วเกินไป
นางแมรี ดาร์ลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวเตือนเกี่ยวกับผลกระทบของการหมดอายุแพ็คเกจช่วยเหลือคนตกงานที่มีโอกาสจะเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากขึ้นต่ออุปสงค์ของกลุ่มผู้บริโภคและการใช้จ่าย โดยจะเห็นได้จากหลักฐานบ่งชี้ในเรื่องการจ่ายค่าเช่า, การซื้ออาหาร และหารซื้อสินค้าต่างๆ พร้อมคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของไวรัสโคโรนา และไม่คิดว่าจะเห็นเศรษฐกิจโตได้ตามลักษณะ V-Shape
นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวเห็นพ้องกับ 2 ประธานเฟดข้างต้น โดยระบุว่า ชาวอเมริกาจำเป็นต้องหาวิธีปรับตัวให้เข้ากับความเสี่ยงจากไวรัสจนกว่าที่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพ โดยเขาคาดว่าอัตราว่างงานจะยังอยู่ที่ระดับ 9%ในช่วงสิ้นปีนี้ และอาจปรับตัวลดลงได้หากภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคมีแนวโน้มที่สดใสขึ้นจากการควบคุมสถานการณ์ไวรัสโคโณนาได้ ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจจะเติบโตได้อย่างช้าๆ
· รัสเซียขึ้นทะเบียนว่าเป็นเจ้าแรกของโลกที่ผลิตวัคซีนต้านโคโรนาสำเร็จรายแรกของโลก
ในช่วงเย็นวันอังคารที่ผ่านมา มีรายงานระบุว่า นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียกล่าวว่ารัสเซียได้ทำการพัฒนาวัคซีนต้านโคโรนาสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยได้นำไปใช้กับลูกสาวของเขา
พร้อมคาดว่าอาจเพิ่มการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครได้เร็วสุด ต.ค. นี้
· รัฐบาลบราซิลเห็นพ้องต่อการผลิตวัคซีน Covid-19 ของรัสเซีย
สถาบันเทคโนโลยีของบราซิล คาดหวังเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนต้านโคโรนาของรัสเซียที่ภายในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 หลังจากที่รัฐบาลบราซิลมีการลงนามร่วมกับทางรัสเซีย
ทั้งนี้ รัสเซีย ประกาศถึงการเป็นประเทศแรกของโลกที่มีการขึ้นทะเบียนวัคซีน Covid-19 ได้เป็นรายแรกของโลก ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยชาญจะกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการออกสู่ตลาด ในขณะที่บริษัทยาอื่นๆยังคงทำการทดลองอยู่
· CORONAVIRUS UPDATES:
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกมียอดสะสมที่ 20.7 ล้านราย ขณะที่การเสียชีวิตทั่วโลกอยู่ที่ 751,560 ราย สำหรับสหรัฐฯมียอดผู้เสียชีวิตทะลุ 5.3 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมใกล้ 170,000 ราย
Testing crisis in key states skews drop in new cases
· นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทในวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.95 - 31.15 บาท/ดอลลาร์
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค.63 อยู่ที่ระดับ 35.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 36.0 ในเดือนมิ.ย.63 จากความกังวลของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่าย รวมถึงระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของครัวเรือนต่อประเด็นภาระหนี้สิน แม้ทางการจะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง