· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่คำสั่ง Stop Order ฝั่ง Short ทำงาน จึงช่วยลดการขาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.17% ที่ระดับ 23,289.36 จุด แตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ติดต่อกัน 2 วันทำการ ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.05% ที่ระดับ 1,623.28 จุด สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น 8.5% ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังในการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยง เช่น ความไม่แน่นอนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการทวีความรุนแรงจากความสัมพันธ์ระหว่างจีน - สหรัฐฯ ส่งผลให้เหล่านักลงทุนทำการเทขายทำกำไรจากท่าทีทีระมัดระวังมากขึ้นต่อการปรับขึ้นของราคาเมื่อไม่นานมานี้
· หุ้นจีนปิดเพิ่มขึ้น ได้รับแรงหนุนจากหุ้นอุปโภคบริโภค
ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากผลกำไรของบริษัท ผู้บริโภคเนื่องจากข้อมูลการบริโภคที่อ่อนแอตอกย้ำความคาดหวังว่าจีนจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
โดยยอดค้าปลีกของจีนในเดือนก.ค.ที่ออกมาลดลง 1.1% ส่งผลให้รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้น
ภาคอุปโภคบริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 4.8% จากปีก่อนหน้าซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของเดือนมิ.ย. แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 5.1%
ทั้งนี้ ดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI ปิดพุ่งขึ้น 1.5% ที่ระดับ 4,704.63 จุด ขณะที่ดัชนี Shanghai Composite ปิดเพิ่มขึ้น 1.2% ที่ระดับ 3,360.10 จุด
· หุ้นยุโรปชะลอตัวเนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจไปยังความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบสอง และ
รอการประมาณการการเติบโตของจีดีพีในไตรมาสที่สองของยูโรโซน
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.6% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนร่วงลง 2.4% ท่ามกลางหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
· นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การส่งออกอาหารของไทย ภาพรวมครึ่งปีแรกหดตัวลงเล็กน้อย 2.0% มีมูลค่า 505,584 ล้านบาท พบว่ากลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น (+0.1%) มีมูลค่า 238,869ล้านบาท ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบการส่งออกหดตัวลง (-3.7%) มีมูลค่า 266,715 ล้านบาท โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 การส่งออกหดตัวลง 9.1% และสามารถพลิกกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.9% ได้ในไตรมาสที่ 2 เพราะประเทศผู้นำเข้าเริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าอาหาร เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น
· ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันที่ 17 ส.ค.นี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน นายปรีดี ดาวฉาย รมว.คลังจะมอบนโยบายต่อผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังจะรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และมาตรการที่จะนำมาใช้ดูแลเศรษฐกิจระยะต่อไปช่วงปลายปี63 ต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเนื่องจากนโยบายเดิม
· ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มั่นใจนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ว่าที่ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนตนในเดือน ต.ค.นี้ จะสานต่อนโยบายได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานหลักเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ธปท. อยู่แล้ว และเป็นบุคคลที่คุ้นเคยบทบาทหน้าที่การทำงานของ ธปท. เพราะเคยเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ธปท. มา 3 ปี และปัจจุบันเป็นกรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มา 6 ปี รวมทั้งมีเรื่องใหม่ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน
· อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยกรณีการชุมนุมประท้วงทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา ว่า หากเกิดเหตุการณ์ชุมนุมที่ยืดเยื้อและบานปลายออกไป 3 เดือน อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 63ให้ติดลบไม่ต่ำกว่า 11% จากเดิมที่ทางศูนย์ฯ ได้ประเมินไว้ติดลบ 9.4% โดยเป็นการประเมินจากการชุมนุมประท้วงของม็อบในอดีตแต่ละครั้งที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค การใช้จ่าย การลงทุนที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนักศึกษาที่มีการประท้วงขอย้ำว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการชุมนุมจะยาวนานขึ้นและนำไปสู่ความรุนแรงจนเกิดมีการปะทะกันอย่างรุนแรง
อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
· วันที่ 12 สิงหาคม 2563 คณะประชาชนปลดแอก (Free People) ออกแถลงการณ์ประกาศนัดหมายการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เวลา 15.00 – 21.00 น.
ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคณะประชาชนปลดแอก รวมถึงสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน คณะประชาชนปลดแอกจึงแถลงหลักการเคลื่อนไหวผ่าน 3 ข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย
1. รัฐบาลต้องหยุดคุกคามประชาชน ที่ออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตย
2. รัฐบาลต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มาจากเจตจำนงของประชาชน เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนอย่างแท้จริง
3. รัฐบาลต้องยุบสภา เพื่อเป็นการเปิดทางให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงในการเลือกผู้แทนของตนได้อีกครั้ง
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
· เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 17 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,376 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 58 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 3,173 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 145 ราย