· ดอลลาร์ร่วงจากแรงขายกำไรเข้ากดดัน
ดอลลาร์อ่อนค่าต่อหลังไปทำต่ำสุดใหม่ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ่อนตัว และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ท่ามกลางอุปสงค์ในสินทรัพย์ปลอดภับเพิ่มขึ้น หนุนแรงกดดันดอลลาร์
ค่าเงินหวนแข็งค่าแตะุ 6.9246 หยวน/ดอลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 9 มี.ค. แม้ว่าทีมบริหารของนายทรัมป์จะมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดกับบริษัทหัวเวยของจีนเพิ่ม
ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1891 ดอลลาร์/ยูโร หลังร่วงหลุดต่ำกว่าสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 1.1916 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินเยนแขํ็งค่าหลุด 106 เยน/ดอลลาร์ มาที่ 105.63 เยน/ดอลลาร์ โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับอ่อนค่าลง 2.6 จุด
ค่าเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.314 ดอลลาร์/ปอนด์ จับตาเจรจา Brexit ล่าสุด
ด้านดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 8 วันที่ 92.634 จุด
ค่าเงินในกลุ่ม G10 อาทิ ค่าเงินกีวีของนิวซีแลนด์อ่อนค่าต่อหลังเมืองใหญ่ยังอยู่ในภาวะ Lockdown
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนรอคอยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาบริเวณ 0.6704% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลงมาที่ 1.4147%
ทั้งนี้ ตลาดให้ความสนใจไปยังประเด็นความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมทั้งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
· ทรัมป์ปฏิเสธที่จะลดค่ารักษาพยาบาลของกองทัพ 2.2 พันล้านเหรียญ
ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าได้ปฏิเสธข้อเสนอของกระทรวงกลาโหมที่จะลดค่ารักษาพยาบาลของกองทัพ
จากรายงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเลขาธิการของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ นาย มาร์ค เอสเปอร์ ได้เสนอข้อทบทวนเกี่ยวกับการลดค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพของกองทัพสหรัฐฯเป็นจำนวนเงิน 2.2 พันล้าน
ข้อเสนอที่จะปรับลดค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพของกองทัพในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้เริ่มเมื่อต้นปีเพื่อที่จะกำจัดความไร้ประสิทธิภาพของกองทัพ
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงกลาโหมได้โต้แย้งว่าการลดเงินทุนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่ทหารและครอบครัวของพวกเขาหลายล้านคนท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนา
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ทรัมป์ ได้หารือกับที่ปรึกษาส่วนตัวในความเป็นไปได้ในการปลด นาย เอสแปอร์ออกจากตำแหน่ง หลังจากการเลือกตั้งเดือน พ.ย.
· ผลกำไร BHP ร่วงลงกว่า 4% เตือนการชะลอตัวนอกจีน
BHP Group คาดว่าประเทศเศรษฐกิจอื่นๆยกเว้นจีนกำลังประสบปัญหาขาลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยรายงานล่าสุดชี้ว่าผลประกอบการประจำปีปรับตัวลง 4%
ขณะที่ประทศเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มเหมืองก็ดูจะดีขึ้นคู่กับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางโครงสร้างพื้นฐาน ท่ามกลางความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดรอบใหม่
การกล่าวเตือนของ BHP มีขึ้นหลังผลประกอบการของ BHP ดิ่งลง 9.06 พันล้านเหรียญ ต่ำกว่าที่คาดไว้ 9.42 พันล้านเหรียญ
· ผู้นำฮ่องกงไม่ยอมรับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ
นางแครี แลม ผู้นำเขตปกครองพิเศษฮ่องกง กล่าวว่าเธอไม่ได้กังวลต่อมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯมากนัก แต่ฮ่องกงจะร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เกี่ยวกับข้อกำหนดของสหรัฐฯเรื่องสินค้าที่ผลิตในฮ่องกง
สหรัฐฯได้กำหนดบทลงโทษต่อ นางแลม เจ้าหน้าที่ปัจจุบันและอดีตของฮ่องกง รวมถึงจีน ซึ่งสหรัฐฯกล่าวหาว่าเป็นการตัดทอนเสรีภาพทางการเมืองในศูนย์กลางทางการเงิน
· สิงคโปร์วางแผนใช้เงิน 5.8 พันล้าน เพื่อบรรเทาพิษเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด
รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ นาย เฮง สวี เกียต ประกาศจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ด้วยวงเงิน 8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 5.8 พันล้านเหรียญ
นายเฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีผู้ประสานงานด้านนโยบายเศรษฐกิจ กล่าวว่า ในระหว่างมาตรการได้ประกาศขยายโครงการเพื่อการเยียวยามากกว่า 7 เดือน โดยแต่ละบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนนั้นขึ้นอยู่กับการประเมินด้านการฟื้นตัว
รองรัฐมนตรียังเผยอีกว่า การสนับสนุนนี้รวมไปถึงด้านสายการบิน และ ความน่าเชื่อถือด้านการท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในประเทศของชาวสิงคโปร์
สำนักงานเศรษฐกิจยังรายงานอีกว่าสิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เศรษฐกิจหดตัวมากที่สุดในเอเชียในไตรมาสที่ 2
โดยหดตัวลง-13.2% เมื่อเทียบกับทุกปี ซึ่งแย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์
· Reuters ชี้ เศรษฐกิจไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่อาจไม่ช่วยหนุนเศรษฐกิจมากนัก
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูแล้วจะไม่ได้ช่วยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวมากนัก หลังจากที่ปีนี้แถบเอเชียดูจะประสบภาวะย่ำแย่อย่างหนักจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่กระทบหนัก
นอกจากนี้ ไทยยังมีความกังวลต่อการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์บางส่วน กล่าวว่า อาจยิ่งสร้างแรงกดดันให้แก่ผู้กำหนดนโยบายต่างๆที่พยายามรักษาทิศทางเศรษฐกิจ
เมื่อวานนี้ ประเทศไทยมีรายงานจีดีพีที่หดตัวลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เอเชียเผชิญกับยุควิกฤตทางการเงินปี 1998 ซึ่งล่าสุดหดตัว -12.2% ในไตรมาสที่ 2/2020 แต่ภาพรวมก็ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ -13.3%
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง แม้ว่าส่วนใหญ่จะปรับขึ้นในชั่วข้ามคืนหลังจากกลุ่มโอเปกพลัส ทำการตกลงกันที่จะปรับลดกำลังการผลิต เพื่อพยุงราคา ท่ามกลางความต้องการเชื้อเพลิงที่ลดลงเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 22 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.5% ที่ระดับ 45.15 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 23 เซนต์ หรือคิดเป็น 42.66 เหรียญ/บาร์เรล
ด้านสำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า กลุ่มโอเปกพลัสได้ปฏิบัติตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตมากถึง 97% ในเดือนก.ค. ซึ่งข่าวดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้
ทั้งนี้ กลุ่มโอเปกพลัสมีมติปรับลดการผลิตเพียง 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่ปรับลด 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งมติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนส.ค. ไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยโอเปกพลัสระบุว่า ความต้องการใช้น้ำมันเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังประกาศมาตรการล็อกดาวน์ก่อนหน้านี้เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา