· ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นหลังอ่อนค่าไปทำต่ำสุดรอบ 27 เดือน แต่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่ดำเนินไปยังกดดันตลาดอยู่
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.15% ที่ 92.340 จุด ด้านยูโรทรงตัวที่ 1.9305 ดอลลาร์/ยูโร หลังวานนี้ทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2018
เงินปอนด์อ่อนค่าลงมาจาก 1.3241 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยล่าสุดอยู่ที่ 1.3236 ดอลลาร์/ปอนด์
แม้ว่าดอลลาร์บ่อยครั้งจะถูกถือครองในฐานะ Safe-Haven ช่วงที่เกิดวิกฤต แต่การที่เฟดมีการแทรกแซงตลาดการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องเพื่อช่วยลดผลกระทบจากไวรัสโคโรนาก็ดูจะกดดันดอลลาร์อีกครั้ง
ทั้งนี้ เครื่องมือเฟดต่างๆได้ช่วยหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงและทำให้เกิดการทำระดับ All-Time Highs และเกิดความต้องการในสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯก็ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.55 เยน/ดอลลาร์
กลุ่มนักลงทุนกำลังรอคอยการเปิดเผยรายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. (28-29 ก.ค.) โดยมีการคาดการณ์ว่าเฟดจะทำการปรับเป้าหมายค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อที่อาจนำมาซึ่งการผลักดันให้เงินเฟ้อมีการปรับขึ้นเหนือ 2% บ้างในบางครั้ง
ค่าเงินหยวนแข็งค่าลงมา 0.12% ที่ 6.9165 หยวน/ดอลาร์ หลังไปทำอ่อนค่าสูงสุดรอบ 5 เดือนวานนี้ที่ 6.9246 หยวน/ดอลลาร์
· Morgan Stanley คาดปีนี้เป็นปีที่ดีที่สุดของค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย
โดยเฉพาะค่าเงินเยนและสวิสฟรังก์ ในขณะเดียวกันการลงทุนของภาคธนาคารก็มีการเพิ่มการถือครองดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven
แม้ดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในรอบ 27 เดือนวานนี้ แต่ก็สามารถกลับมายืนแถว 92.477 จุดได้ ด้าน S&P500 ปรับขึ้นทำสูงสุดหลังจากที่ช่วงแรกอ่อนตัวจากไวรัสโคโรนา และภาพรวมฟื้นตัวได้มากถึง 54% จากต่ำสุดเดือนมี.ค.
· หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ระบุ ไม่มีกำหนดการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ-จีน
หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว เผยว่ายังไม่มีกำหนดการเจราการค้าของเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่างสหรัฐฯและจีนครั้งใหม่ แต่ทั้งสองประเทศจะยังเดินหน้าข้อตกลงเฟสแรกต่อไป
ขณะที่นายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางไปยังรัฐยูมา, แอริโซนา ถึงกรณีการเลื่อนการทบทวนข้อตกลงเฟสแรกในวันที่ 15 ส.ค. ออกไป โดยให้เหตุผลว่า เพราะพวกเราไม่ต้องการทำข้อตกลงกับพวกเขาในเวลานี้
· Nomura คาด ชัยชนะของ "ไบเดน" ในการเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อเอเชีย
นายร็อบ ซับบารามันจากธนาคาร Nomura กล่าวว่า หากนายโจ ไบเดน ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะมาถึงในเดือนพ.ย.นี้ นั่นจะเป็นประโยชน์ต่อทวีปเอเชีย
ในขณะที่นักวิชาการคาดการณ์ว่า นายไบเดนจะมีท่าทีแข็งกร้าวกับประเทศจีนในปัญหาต่างๆมากกว่าด้านการค้า แต่ภาพรวมประเทศอื่นๆทั่วโลกจะได้รับประโยชน์จากการที่เขาได้รับตำแหน่ง
· บริษัทขนส่งระดับโลก ชี้ อุปสงค์จะมีการปรับตัวลดลงต่อในปีนี้
Maersk บริษัทขนส่งขนาดใหญ่ที่สุดของโลก เผยผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2020 พร้อมคาดว่าอุปสงค์จะปรับขึ้นได้ในช่วงไตรมาสที่ 3/2020 แต่ก็มีการกล่าวถึงสัญญาณการปรับลงในปีนี้
แม้ว่าจะมีผลกระทบเชิงลบที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายนั้นปรับลงในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 และทำให้ผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ปรับลง -6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าซื้อ
EBITDA รายงานผลประกอบการก่อนรวมเรื่องของผลกำไร, ภาษี,ค่าเงิน และการผ่อนชำระ จะพบว่าบริษัทดังกล่าวมีผลกำไรโดยรวมเพิ่มขึ้น 25% ที่ 1.7 พันล้านเหรียญ สูงกว่าที่บรรดานักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.575 พันล้านเหรียญ ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการปีนี้จะอยู่ระหว่าง 6 - 7 พันล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้า 5.5 พันล้านเหรียญ
· ส่งออกญี่ปุ่นร่วง capex มองแนวโน้มอุปสงค์ชะลอตัว
ยอดส่งออกญี่ปุ่นร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนก.ค. ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระทบต่อภาคการขนส่งยานยนต์ไปยังสหรัฐฯ จึงบั่นทอนความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นจากภาวะถดถอยด้วยภาคการค้า
โดยยอดรวมการส่งออกญี่ปุ่นหดตัวลง -19.2% ในเดือนก.ค. แต่ก็ออกมาดีกว่าที่คาดว่าจะทรุดไปที่ -21% ขณะที่ภาพรวมออกมาติดลบน้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -26.2%
ขณะเดียวกันข้อมูล Core Machinery Orders ที่บ่งชี้ถึงภาวะการใช้จ่ายในภาคธุรกิจปรับตัวลดลงเกินคาดทำต่ำสุดในรอบ 7 ปีในเดือนมิ.ย. ยิ่งลดความคาดหวังที่จะเห็นอุปสงค์ภายในประเทศและทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ขณะที่ข้อมูลที่ไม่สดใสได้ส่งผลให้จีดีพีไตรมาสที่ 2/2020 ยังไม่มีสัญญาณถึงการฟื้นตัวใดๆได้ ณ ปัจจุบัน และสร้างความท้าทายเพิ่มแก่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆในการหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
· สถาบันเยอรมนี ชี้ วัคซีนโคโรนาไวรัสจะใช้ได้ต้นปีหน้า
หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัฒนาวัคซีนของเยอรมนี กล่าวว่า คนบางกลุ่มอาจได้รับวัคซีนไวรัสโคโรนาในช่วงประมาณต้นปีหน้า ท่ามกลางประชาชนทั่วโลกที่เสียชีวิตจากไวรัสดังกล่าวไปแล้วประมาณ 800,000 ราย และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลกด้วย
บริษัทผลิตยากว่า 6 แห่งทั่วโลกได้เข้าสู่กระทวนการทดลองกับอาสาสมัครนับหมื่นราย ซึ่งหากวัคซีนของพวกเขามีประสิทธิภาพที่ดีกับปลอดภัยก็น่าจะรู้ผลได้ภายในสิ้นปีนี้
หัวหน้าสถาบัน Paul Ehrlich Institut กล่าวว่า ข้อมูลการทดลองจากเฟส 1 และเฟส 2 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนได้ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในการต้านไวรัสโคโรนาได้ดี และหากข้อมูลในเฟสที่ 3 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ดีและมีความปลอดภัย วัคซีนตัวแรกก็อาจได้รับการอนุมัติในการเริ่มใช้ได้ในปีนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
· ออสเตรเลียลงนามข้อตกลงวัคซีนไวรคัสโคโรนาท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อใหม่ที่เริ่มลดลง
การระบาดรอบใหม่ของไวรัสโคโรนาในรัฐวิคทอเรียของออสเตรเลียมีการลดจำนวนลง ขณะที่ออสเตรเลียก็มีการลงนามข้อตกลงการพัฒนาวัคซีน Covid-19 โดยตั้งใจที่จะให้ประชาชนของประเทศได้ใช้ฟรี
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เผยว่า ออสเตรเลียได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัทยาของอังกฤษ ได้แก่ AstraZeneca เพื่อผลิตและพัฒนาให้ได้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่ 25 ล้านราย
· เกาหลีใต้พบยอดติดเชื้อรายวันพุ่งเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.
เกาหลีใต้รายงานพบยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่พุ่งขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อ 297 ราย ซึ่งยังคงปรับขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 6 วันทำการทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อล่าสุดอยู่ที่ 16,058 ราย และเสียชีวิตรวม 306 ราย
อย่างไรก็ดี ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ถูกพบในกรุงโซล และพื้นที่ที่มีชื่อเสียง ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องของการระบาดในพื้นที่เมืองหลวงของเกาหลีใต้ที่มีประชากรกว่า 25 ล้านราย
· ราคาน้ำมันดิบร่วง ท่ามกลางกังวลอุปสงค์กดดันความแข็งแกร่งของตลาดหุ้น
ราคาน้ำมันปรับตัวลงในวันนี้จากความกังวลเรื่องอุปสงค์พลังงานที่อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วท่ามกลางภาวะชะงักงันในเรื่องการเจรจาแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ขณะที่นักลงทุนรอการประกาศข้อมูลจาก IEA สหรัฐฯคืนนี้ โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 33 เซนต์ หรือ -0.7% ที่ 45.13 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน WTI ขยับขึ้น 0.5% หรือ 21 เซนต์ ที่ระดับ 42.68 เหรียญ/บาร์เรล