• โพเวลล์มีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลง คาดอาจเปลี่ยนแปลงมุมมองเงินเฟ้อ

    25 สิงหาคม 2563 | Economic News
 

เปรียบเทียบการดำเนินนโยบายของประธานเฟดในช่วงเกิดวิกฤต โดยนายพอล วอล์คเกอร์ อดีตประธานเฟด และ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดคนปัจจุบัน มีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ

นายพอล วอล์คเกอร์ อดีตประธานเฟด ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อปี 1979-87 มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เงินเฟ้ออ่อนตัว เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งเขาก็เอาชนะแรงกดดันเงินเฟ้อและกระตุ้นการฟื้นตัวได้

ในขณะที่นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดคนปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2018 มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการหนุนเงินเฟ้อให้สูงขึ้นท่ามกลางวิกฤติไวรัสโคโรนา ที่ฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ถดถอย

ภาพรวมค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคเห็นว่าอาจจะไม่มีความจำเป็นที่เพิ่มอัตราค่าครองชีพ แต่สมาชิกเฟดและนักเศรษฐศาสตร์มองว่าการที่อัตราเงินเฟ้อขยับเพียงเล็กน้อยก็เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะจะสะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจชะลอตัวและมาตรฐานค่าครองชีพที่ต่ำ ที่ทำให้เฟดต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยระดับต่ำ โดยจะเห็นว่าทุกครั้งที่เกิดวิกฤตจะต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

และทั้งหมดนี้จะเป็นสิ่งที่นายโพเวลล์ ประธานเฟด จะนำกล่าวในที่ประชุมธนาคารกลางประจำปีที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง ในวันพฤหัสบดีนี้ ภายใต้หัวข้อ "การทบทวนกรอบการดำเนินนโยบายทางการเงิน" และอาจมีการกล่าวถึงความพยายามของเฟดในการกระตุ้นให้เงินเฟ้อกลับสู่ระดับปกติ ที่อาจมีการกล่าวถึงสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งนโยบายที่อาจจะนำไปใช้ในอนาคต

นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวของเงินเฟ้อแล้วเฟดยังระบุไว้ในรายงานการประชุมในเดือน ก.ค. ยังตอกย้ำถึงภาวะการจ้างงานอย่างเต็มที่ โดย ณ ปัจจุบันอัตราการว่างงานอยู่ที่ 10.2% ลดลงจากเดิมที่ 14.7% ในเดือนเม.ย. แต่ข้อมูลล่าสุดก็ยังอยู่สูงกว่าระดับก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อยู่ที่ 3.5% ในเดือนก.พ.

ทั้งนี้ นายโพเวลล์ อาจมีการกถล่าวถ้อยแถลงในเชิงให้คำมั่นที่จะคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินไว้จนกว่าเงินเฟ้อและการจ้างงานจะมีเสถียรภาพทั้งคู่

หนึ่งในสิ่งที่ประธานเฟดจะใช้คือ เป้าหมาย "ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ" ซึ่งอาจหมายถึงระดับเงินเฟ้อที่เฟดกำหนดไว้ที่ 2% และเฟดจะปล่อยให้เงินเฟ้อนั้นสูงกว่าที่ตั้งไว้มากกว่าที่จะปล่อยให้อยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายในช่วง 2 ปีนี้ นับตั้งแต่ที่ยุค Great Recession สิ้นสุดลงไปตั้งแต่กลางปี 2009

หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการดำเนินนโยบายธนาคารกลางทั่วโลกจาก Evercore ISI กล่าวว่า ค่อนข้างมั่นใจว่าในการประชุมที่แจ็กสัน โฮล นั้นประธานเฟดจะกล่าวเกี่ยวกับภาวะสืบเนื่อง และท่าทีที่เป็นมิตรต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ในเรื่องค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อที่จะเกิดในที่ประชุมเฟดเดือนก.ย. พร้อมคาดว่า โพเวลล์ จะกล่าวถึงการปล่อยให้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายในช่วงที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐณกิจในลักษณะของวัฏจักร เพื่อหลีกเลี่ยงการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแบบญี่ปุ่นหรือแบบ "Japanification" หรือการปล่อยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ระดับต่ำอันเนื่องจากเงินเฟ้อต่ำ

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าในรายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. ที่เปิดเผยเมื่อพุธที่แล้ว ทำให้ตลาดต่างๆอ่อนตัวลง เนื่องจากพวกเขายังไม่มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการเงินเฟ้อ รวมถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการควบคุมเส้นผลตอบแทน (Yield Curve)

ขณะที่เฟดมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการเสริมสภาพคล่องและการกู้ยืมแก้สถาบันต่างๆในช่วงเกิดวิกฤต ณ ปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการใช้เครื่องมือเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพของเขา ในการช่วยให้ตลาดมีเสถียรภาพและการเพิ่มความมั่นใจว่าเฟดจะช่วยให้เศรษฐกิจต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ได้

นักกลยุทธ์หุ้นจาก Morgan Stanley กล่าวว่า ในรายงานของเฟดไม่ได้ให้รายละเอียดดังที่นักลงทุนคาดหวังที่จะเห็นทิศทางการดำเนินนโยบายของเฟดในอนาคตและความผิดหวังดังกล่าวก็ดูจะส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องการเติบโต และทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีการปรับฐาน

ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com