• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2563

    31 สิงหาคม 2563 | Gold News
 

ทองคำพุ่งกว่า 2% จากดอลลาร์อ่อนค่า, การดำเนินนโยบายของเฟด

· ราคาทองคำรีบาวน์กว่า 2% หลังจากที่เผชิญแรงเทขาย รวมทั้งการที่เฟดส่งสัญญาณว่าจะตรึงการใช้นโยบายดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน


· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้น 1.8% ที่ระดับ 1,964.47 เหรียญ ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นได้ประมาณ 1.3% แม้ว่าราคาในวันพฤหัสบดีจะปรับตัวลงไปกว่า 2.2% หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลงตามแนวทางกลยุทธ์ของประธานเฟด


· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +2.2% ที่ 1,974.9 เหรียญ

· กองทุนทองคำ SPDR ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม ปัจจุบันถือครองทองคำที่ 1,251.5 ตัน โดยภาพรวมเดือนส.ค. มีการเข้าซื้อสุทธิ 9.55 ตัน ถือเป็นการเข้าซื้อต่อเนื่อง 8 เดือนติด ขณะที่ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึง 28 ส.ค. มีการเข้าซื้อสุทธิ 358.25 ตัน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี ทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้ในปี 2009 ที่มีการซื้อสุทธิที่ระดับ 353.39 ตัน


· นักวิเคราะห์จาก CMC Markets กล่าวว่า แรงขายในดอลลาร์ได้ช่วยหนุนราคาทองคำ และการที่เฟดจะปล่อยให้เงินเฟ้อสูงกว่าระดับเป้าหมาย 2% และดูจะมีการใช้แนวทางการใช้นโยบายทางการเงิน ทั้งหมดนี้ช่วยหนุนทองคำ


· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์อ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือนก.ค.


· ราคาซิลเวอร์ปิด +1.6% ที่ระดับ 27.48 เหรียญ และทำให้ภาพรวมรายสัปดาห์ขยับขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ด้านแพลทินัมปิด -0.1% ที่ 927.83 เหรียญ ขณะที่พลาเดียมปิด +2.4% ที่ระดับ 2,211.96 เหรียญ

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา: ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทะลุ 25 ล้านราย

  

ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดทะลุ 25.37 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 850,149 ราย ในส่วนของสหรัฐฯยังครองอันดับ 1 โดยผู้ติดทะลุ 6 ล้านรายมาอยู่ที่ 6.17 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตสะสมปรับขึ้นมาที่ 187,224 ราย

บราซิลที่เป็นประเทศลำดับที่ 2 ล่าสุดยอดติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3.86 ล้านราย ทางด้านยอดเสียชีวิตแตะ 120,896 ราย ขณะที่อินเดียที่อยู่ลำดับที่ 3 ของโลกก็ยังคงเลวร้ายโดยพบผู้ติดเชื้อทะลุ 3.61 ล้านราย ล่าสุดเสียชีวิตสะสมที่ 64,617 ราย

รายงานจาก Johns Hopkins เผยว่า สหรัฐฯ, เม็กซิโก และบราซิล คิดเป็นค่าเฉลี่ย 40% ของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก และจะเห็นถึงการเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ที่ยอดติดเชื้อทะลุ 10 ล้านรายไปเมื่อช่วงปลายเดือนมิ.ย. และมียอดทะลุ 20 ล้านรายตามมาในช่วงเวลาเพียง 6 สัปดาห์ ประมาณ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา


· องค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ ตั้งใจใช้ Fast Track เพื่ออนุมัติวัคซีน Covid-19 ก่อนเสร็จสิ้นการทดลองในเฟสที่ 3

สำนักข่าว Financial Times รายงานว่า หัวหน้าองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เตรียมที่จะทำการอนุมัติการทดสอบวัคซีน Covid-19 ด้วยกระบวนการ Fast-Track เพื่อให้เกิดการผลิตวัคซีนได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขณะเดียวกัน FDA ก็มีการยืนยันว่าการตัดสินใจดังกล่าวไม่ได้ถูกกดดันจากทีมบริหารของนายทรัมป์แต่อย่างใด แต่การอนุมัติฉุกเฉินอาจเป็นเรื่องเหมาะสมก่อนที่การทดสอบเฟส 3 จะสิ้นสุดลง ซึ่งอาจให้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง


· ทำเนียบขาวเผยร่างงบประมาณช่วยเหลือ Covid -19 ที่ 1.3 ล้านล้านเหรียญ ด้านเดโมแครตบอกไม่พอ!

รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความตั้งใจจะลงนามงบประมาณช่วยเหลือวิกฤตไวรัสโคโรนาในวงเงิน 1.3 ล้านล้านเหรียญ แต่นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต กล่าวสรุปว่างบระมาณดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอต่อความจำเป็นของชาวอเมริกา และทั้งหมดนี้ ก่อให้เกิดคำถามตามมาถึงความเป็นไปได้ของการจะเริ่มต้นเจรจารอบใหม่ของทั้งสองพรรค

อย่างไรก็ดี การเปิดเผยร่างฉบับดังกล่าวดูจะมีการเพิ่มงบประมาณอีก 3 แสนล้านเหรียญ จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 1 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่นางเพโลซี เรียกร้องงบสำหรับชาวอเมริกา 2.2 ล้านล้านเหรียญ มิเช่นนั้นจะไม่เพียงพอต่อความจำเป็นของชาวอเมริกาและภาคครัวเรือน


· บราซิลจะขยายมาตรการช่วยเหลือ Covid-19 ในวันอังคารนี้

รายงานจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล เผยว่า บราซิลจะทำการประกาศการขยายมาตรการช่วยเหลือ Covid-19 อย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยที่มาตรการช่วยเหลือฉบับเก่าจะหมดอายุลงในวันนี้ ขณะที่ฉบับใหม่จะขยายเวลาวันหมดอายุออกไปในช่วงสิ้นปีนี้แทน


· กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนก.ค.

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้มีการเติบโตติดต่อกันสองเดือนติดในเดือนก.ค. หลังจากที่เดือนก่อนมีการขยายตัวได้เร็วที่สุด ตั้งแต่มิ.ย. 2009 ขณะที่การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาถูกคาดว่าจะกดดันเศรษฐกิจต่อเนื่อง

สำนักสถิติเกาหลีใต้ เผย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ประจำเดือนก.ค.ออกมาแย่กว่าคาดแต่ยังอยู่ในแดนขยายตัวที่ 1.6% และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 7.2% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ภาพรวมรายปีออกมาแย่กว่าคาดอย่างมาก โดยยังหดตัวอยู่ที่ระดับ -2.5%


· NHK เผย นายโคอิซูมิไม่ต้องการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

นายชินจิโร โคอิซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายชินโซ อาเบะ ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งด้วยปัญหาสุขภาพ


· เจ้าหน้าที่ทางการทูตอาวุโสของจีน กล่าวถึงความเป็นไปได้ของข้อตกลงการลงทุนอียู-จีน ภายในสิ้นปีนี้ โดยอาจเห็นข้อตกลงก่อนการลงทุนได้ก่อนสิ้นปีนี้ด้วยซ้ำ


· กฎการส่งออกเทคโนโลยีฉบับใหม่ของจีนอาจส่งผลต่อการขาย TikTok

จีนเตรียมที่จะออกกฎจำกัดการส่งออกเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรารู้จักกันว่า AI ซึ่งรัฐบาลจีนได้ให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติ ขณะที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีการขึ้นบัญชีเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องแจ้งกับรัฐบาลจีนถ้าหากจะส่งออก ดังนั้น บริษัท ByteDance ที่จะทำการขาย TikTok ให้แก่สหรัฐฯจึงจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากทางการจีนก่อน


· ผลสำรวจ CNBV ระบุว่า 75% ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ชี้ “ไบเดน” จะคว้าชัยศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020

อ้างอิงจากผลสำรวจ CNBC/Change Research Poll สะท้อนว่าความกังวลของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่อ 6 รัฐสำคัญให้ยังคงมีความไม่แน่นอน แม้ว่าจะมีคะแนนนิยมให้ตัวของนายทรัมป์ เพิ่มขึ้นมาก็ตาม โดยรัฐแอริโซนา, ฟลอริดา, มิชิแกน, นอร์ท แคโรไลนา, เพนซิลเวเนีย และวิสคอน จะเห็นคะแนนโดยเฉลี่ยของทรัมป์เพิ่มมาที่ 48% จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าของผลสำรวจที่ 46%

แม้ว่าจะมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น แต่นายทรัมป์ก็ยังคงตามหลัง นายโจ ไบเดน ผู้ท้าชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ที่ดูมีโอกาส 70 จาก 100 แต้มในการคว้าชัย

ขณะที่ผลกระทบของ Covid-19 ดูจะเป็นปัจจัยหลักในการทำให้บริษัทต่างๆต้องตัดสินใจปลดพนักงานออก และมีแนวโน้มจะเห็นคนการปรับลดคนงานลงอีกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า


· นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 30.75-31.50 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.ค. ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถานการณ์ทางการเมือง

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP เดือนส.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ค. และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนส.ค. ของจีน ยูโรโซน และญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินเอเชียและเงินหยวน (หลังการหารือของสหรัฐฯ-จีนในเรื่องดีลการค้าเฟสแรกมีความคืบหน้า) ประกอบกับมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังค่าเงินบาทแข็งค่าผ่านหลายแนวสำคัญระหว่างสัปดาห์ ทั้งนี้เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์ และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 31.16 บาท/ดอลลาร์ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลง (จากที่ฟื้นตัวช่วงสั้นๆ หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาด) เนื่องจากตลาดมองว่า การเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟด จะทำให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นเวลานาน และจะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยล่วงหน้าเพื่อสกัดความเสี่ยงเงินเฟ้อ

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย (GDP)ปี 2563 หดตัว -8.5% หลังคาด GDP ครึ่งปีแรก -6.9% โดยทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังชะลอตัวแต่ในอัตราที่ลดลง เพราะมีหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ติดลบน้อยลง สะท้อนว่ามีการปรับตัวที่ดีขึ้น โดยต้องพิจารณารายละเอียดเทียบเดือนต่อเดือน

- ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.63 แม้ว่าจะยังคงชะลอตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการผ่อนคลายให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 63 ลงมาอยู่ที่ -10% จากเดิมที่ -6% พร้อมมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง จากทั้งสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 การแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงประเด็นทางการเมือง ความไม่แน่นอนดังกล่าว จะทำให้เห็นการฟื้นตัวในรูปแบบยูเชฟ (U-Shaped)


อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่: www.mtsgold.co.th

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com